สิ่งที่นักเรียนจะได้เรียนรู้
1. ครูผู้สอนจะสามารถเข้าใจ พฤติกรรม/ความรู้สึกของนักเรียน และเข้าใจที่มาของสิ่งต่างๆ ของนักเรียนมากขึ้น
2. สามารถ ตั้งโจทย์เพื่อหาเทคนิควิธี ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม กับ พื้นฐานความคิดของนักเรียน
อุปกรณ์
1. กระดาน/บอร์ด
2. โพสต์อิท
ขั้นตอนการสอน
1. เขียนแผนภาพ ตามรูปที่แนบไว้ด้านบน (doing/saying) (thinking/Feeling) (hearing/seeing)
2. ครู/ผู้ดูเเลชั้นเรียน ช่วยกัน เขียนสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งที่พบเห็น ที่เป็นทั้งข้อดี/ข้อเสียของนักเรียน ในช่อง (doing/saying) เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง ทั้งหมด
3. วิเคราะห์และสันนิษฐาน ความคิด/ความรู้สึก จากพฤติกรรม ที่นักเรียนแสดงออก
ในช่อง (thinking/Feeling)
4. วิเคราะห์และสันนิษฐาน สิ่งที่นักเรียนพบเจอ, ประสบการณ์ที่นักเรียนเคยได้รับ,สื่อที่นักเรียนนิยมเสพ,สถานที่ที่นักเรียนนิยมไป ,สังคม+ครอบครัว+คนรอบข้าง ในช่อง (hearing/seeing)
5. เก็บข้อมูล ค้นหาข้อเท็จจริง (ถ้ามีเวลา)
6. วิเคราะห์หา ประสบการณ์ที่เป็นต้นตอ ของปัญหาของนักเรียน และหาแนวทางสร้างประสบการณ์ใหม่ เพื่อลบล้างความเชื่อเดิม
หมายเหตุ: 1.เทคนิคดังกล่าวนี้ ยังอยู่ในช่วงการทดลองใช้งาน ยังไม่มีการรับรองผลอย่างแพร่หลาย
2.แผนภาพ และวิธีการดังกล่ว เป็นเพียงข้อเสนอแนะเบื้องต้น ผู้ใช้สามรถนำไปเพิ่มเติมได้ โดย แก่นสำคัญของเทคนิคนี้ คือการทำความเข้าใจ (emphatize)นักเรียน เพื่อให้เข้าใจลักษณะ ธรรมชาติของ นักเรียนก่อน ทำความเข้าใจที่มา และ ไม่ด่วนสร้างกระบวนเปลี่ยนแปลงนักเรียนโดยใช้ประสบการณ์เดิมที่ตนเองคุ้นเคยเป็นที่ตั้งอย่างเดียว
3.เครื่องมือนี้ ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า
พฤติกรรม(behavier) เกิดจาก ชุดความคิด(mindset)
ชุดความคิด(mindset) เกิดจาก ชุดความเชื่อ( belief)
ชุดความเชื่อ( belief) สั่งสมมาจาก ประสบการณ์ (experience)
ดังนั้น การค้นหาไปถึงประสบการณ์อันเป้นต้นตอ ของพฤติกรรม น่าจะเป็น สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อ การทำความเข้าใจ ผู้อื่น
ที่มา: ดัดแปลงจาก EMPATHY MAP
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!