icon
giftClose
profile
frame

สายธารกระแสไฟฟ้า

18481
ภาพประกอบไอเดีย สายธารกระแสไฟฟ้า

กระแส(ทางความคิด)เกี่ยวกับไฟฟ้า นักเรียนคิดว่าเราจะเรียนรู้มันอย่างไร? ร่วมค้นหาคำตอบได้ในกิจกรรมที่บูรณาการฟิสิกส์ ประวัติศาสตร์ และศิลปะ

ฟิสิกส์ ม.6 วันนี้

ไอเดียได้มาจาก วงล้อชีวิต แบบทดสอบก่อนเรียน และ Educa 2017 เซชชั่นของสถาบันสิทธิฯ มหิดล ในหัวข้อสายธารความรุนแรง

ตกผลึกความคิดจากที่ผ่านมาว่า..

1) เด็กตั้งคำถาม เรียนฟิสิกส์ไปทำไม?

2) เด็กไม่ชอบไฟฟ้า ไม่ได้จะเป็นช่าง และไม่ชอบคำนวณ

3) ถ้างั้น เด็กควรจะต้องรู้และเข้าใจก่อน ใช่หรือไม่? ว่าไฟฟ้ามีมาทำไม???

4) เพื่อตอบคำถามข้อ 3 กิจกรรมการเรียนรู้น่าจะต้องใช้ Co-op + อภิปรายกลุ่มย่อย + บูรณาการประวัติศาสตร์ + ศิลปะบำบัด

เริ่มกิจกรรม...


นำเข้าสู่บทเรียน : ชวนคิด ชวนคุย ชวนหลักภัย เอ้ย !

คือมันเริ่มมาจากวงล้อชีวิต

เราทราบความต้องการเด็กละ

เลยตั้งโจทย์ว่า เราจะเข้าใจความสำคัญของไฟฟ้า เราจำเป็นจะต้องมีแนวคำถามว่าอย่างไร จึงจะนำไปสู่ การเรียนรู้เหล่านั้น

Think pair share จึงมา

ประเด็นที่จะใช้เป็นหัวข้อการเรียนรู้จึงมา

และเกณฑ์การประเมิน อย่างง่าย

ที่เด็กๆเขาคิดกันขึ้นมาเอง (มีการถามก่อนด้วยว่าคาบนี้ควรมีคะแนนมั้ย เท่าไร แล้วคิดอย่างไร วันหลังจะเล่ารายละเอียดเรื่องนี้ ถึงแนวคิดที่ให้เด็กเป็นเจ้าของการประเมิน)

ลืมถ่ายตอนถกเถียง เพราะเด็กค่อนข้างสับสนกับคำถาม และเราต้องเดินไปกระตุ้นความคิด ไม่ให้เขาหลงประเด็น

คิดว่าจะใช้แค่ 10 นาที ปรากฏว่า ใช้ไปเกือบ 25 นาที เหลือเวลาประมาณ 75 นาที


เริ่มลงมือทำกิจกรรม ตั้งเวลาไว้ 60 นาที แต่ก็ยังคงใช้เกินไป 5 นาที เป็น 65 นาที

ตรงนี้ส่วนตัวครูโปเต้ คิดมาแล้วว่า

นี่คือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในวันนี้

แบ่งกลุ่มนักเรียน คละเพศชาย/หญิง รวมกลุ่มเก่งกลางอ่อน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน แต่ละกลุ่มจะได้รับกระดาษ 1 แผ่น และทุกกลุ่มต้องนำกระดาษมาต่อกัน ช่วยกันจับด้วยเนาะ กระดาษมันจะปลิว เมื่อต่อกันเสร็จ แม่น้ำทั้งห้าจะมาบรรจบกัน

ครูขอเรียกสิ่งนี้ว่า....”สายธารกระแสไฟฟ้า”

เมื่อนักเรียนโยนสิ่งใดลงไปแล้วนักเรียนจะไม่สามาถนำกลับมาได้อีก (ห้ามแก้ไข ห้ามลบ ห้ามมีรอยลิควิด) อิอิ

แต่มีอยู่สายนึง ที่ได้สิทธิพิเศษ....


แม่น้ำทั้ง 5 สาย ไล่เรียงกันแบบไทม์ไลน์

นักเรียนได้ใช้ความรู้และทักษะ จากวิชาประวัติศาสตร์ ที่เคยเรียนมา สร้างชิ้นงานที่อยู่ตรงหน้า....

ครูไม่ได้กำหนดว่า สายไหน จะต้องมีช่วงเวลาขนาดไหน แต่ให้เป็นการตกลง ต่อรองกับกลุ่มที่อยู่ติดๆกัน ว่าจะสามารถแผ่ขยายอณาบริเวณ ดูจากเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกอยู่ในประวัติศาสตร์เป็นหลัก

ซึ่งจะขอสรุปสั้นๆว่า เด็กมองเห็นความเป็นฟิสิกส์จากโบราณสู่ปัจจุบันได้อย่างไร

สายธารกระแส 1) ยุคหิน เอาหินมากระทบกัน เกิดประกาย

สายธารกระแส 2) ยุคสำริด ใช้ไฟประดิษฐ์เครื่องประดับ และมีการนำแท่งอำพันมาถู เกิดประจุ ดึงดูดเศษใบไม้

สายธารกระแส 3) ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ข้ามช็อตมาไกลมาก) ไฟฟ้าถูกพัฒนาเป็นเครื่องจักร วิทยาศาสตร์วิวัฒนาการสู่วิทยาการคอมพิวเตอร์

สายธารกระแส 4) ยุคปัจจุบัน ไฟฟ้าถูกนำมาใช้ จนเหนือการควบคุม สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย

และ สายธารกระแส 5) อนาคต เป็นเขตพิเศษที่ครูกำหนดว่า สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ได้เสมอ (จะสื่อว่า ให้เราเป็นคนเลือกอนาคตของเราได้เอง)


ช่วงเวลาสำคัญก็ได้มาถึง

คือการขมวดสายธารกระแสทั้ง 5

ผ่านการบอกเล่าเรื่องราว

เน้นใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ

เพื่อลดช่องว่างระหว่างบุคคล

เพื่อให้เกิดการถามตอบ

นักเรียนสามารถทำออกมาได้ดี

จบกิจกรรม นักเรียนทั้งห้องได้คะแนน 2.5

ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน

สิ่งที่ไม่ได้อยู่ในแบบประเมิน

คือความสุขของครูและผู้เรียน

วันนี้เรายิ้มให้กัน เราหัวเราะกัน

ห้องเรียนเต็มไปด้วยสีสัน

นักเรียนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า

อยากให้เป็นแบบนี้ทุกๆคาบ หนูลูก ครูนี่ปาดเหงื่อรัวๆเลย

สำหรับกิจกรรมนี้ ครูจะขอซ่อมกับอีกห้อง

โดยการเชิญครูสังคมฯ มาให้ความเห็นทางประวัติศาสตร์ เพื่อเติมเต็มความคิด จุดประกายการเรียนรู้ ที่ลึกซึ้ง และจริงจัง

รัก การศึกษา

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 17

ชื่อไฟล์​: -LIVrZWFJ2ry35CYxahW_1.webp

ดาวน์โหลดแล้ว 1 ครั้ง


แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(1)