icon
giftClose
profile

น้ำตา ไม่จำเป็นต้องทุกข์ เสมอไป (EP.1)

36861
ภาพประกอบไอเดีย น้ำตา ไม่จำเป็นต้องทุกข์ เสมอไป (EP.1)

ครูเคยรู้ไหมว่านักเรียนในห้องต้องพบเจอเรื่องอะไรบ้าง เป็นคำถามก่อนสร้างกิจกรรม ที่ต้องผสมกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา



คาบที่ 1 การสำรวจสุข คาบที่ 2 สำรวจทุกข์ แล้วแก้ไขด้วยหลักอริยสัจ 4
คาบแรก วิชาประพุทธศาสนา ผมเปิดฉากด้วยการตั้งถามว่า นักเรียนสัมผัสความสุขครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่(ไม่ต้องใส่ละเอียด เขียนแค่ช่วงเวลา) ให้เวลากับนักเรียนคิดย้อน หลังจากนั้นสำรวจความสุขของนักเรียนด้วยวงล้อแห่งธรรม โดยให้นักเรียนนั่งสมาธิ คิดย้อน ผ่านดนตรีบรรเลง
https://www.youtube.com/watch?v=lCOF9LN_Zxs&t=709s&list=PLdAKF6lcCRll6qhPc7O3C9vKZQPj_XGHM&index=4 โดยตั้งโจย์ว่า ลองคิดย้อนถึงช่วงเวลาของความสุข ที่สุด ห่วงเวลาของเราที่คิดว่ามีรอยยิ้มที่สุด (เวลาขึ้นกับครูจะบริหาร)
ค่อยๆ ลืมตา (ครูจะสัมผัสได้ถึงช่วงเวลาของความเงียบ มีแค่เสียงดนตรีที่บรรเลิง) หลังจากนั้น ให้นักเรียนสำรวจความสุขของนักเรียนด้วยการวัดเลเวล แบ่งออกเป็นด้านๆ ผมกำหนดออกเป็น หกด้าน 1 ด้านการเรียน 2 ด้าน เพื่อน 3 ครอบครัว 4 ด้านเงิน 5 ด้านสุขภาพ อีก 1 ด้านให้นักเรียนได้คิดที่อยากจะสำรวจความสุขของตนเอง

ให้ศูนย์กลางของวงเป็นระดับ 0 รอบวงคือ 10 และปล่อยให้นักเรียนได้ครุ่นคิด โดยบอกกับนักเรียนว่า ทุกอย่างต้องมีเหตุผลมารองรับ ที่เธอเลือกให้ด้านนี้อยู่ในระดับนี้เพราะ (แต่ไม่ต้องเขียนลงไป) กำหนดเวลาในการทำ ให้เหลือท้ายคาบ 10 นาที เพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เปิดวงสนทนา (มโนตัวเองเป็นที่อ้อยที่ฉอด) ขออาสานักเรียนที่อยากพูดคุย ถ้าไม่มี ก็ลองแตะบ่าเบาๆ กับนักเรียนว่า เริ่มเปิดวงที่นักเรียน ครูถามนักเรียนว่า สัมผัสความสุขครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ (นักเรียนบางคนไม่ได้ผัสผัสกับความสุขมานานมาก ถึง ปีที่แล้วก็มี ) ครูไม่ต้องถามรายละเอียด ปล่อยให้นักเรียนอยู่ในมโนภาพ หลังจากนั้น ครูเริ่มถามต่อว่า นักเรียนได้เพิ่มด้านอะไรมา ถามต่อ นักเรียนเลือกด้านใด ในระดับ สูงสุด และเพราะอะไร และอีกคำถามคือ นักเรียนให้ด้านใดต่ำสุด เพราะอะไร (จะมีจังหวะที่นักเรียนหยุดนิ่ง น้ำตาคลอ พร้อมกับน้ำตา ครูอาจจะใช้วิธีการ ให้เพื่อนตบมือให้กำลังใจ พูดปรับความคิดหากนักเรียนพูดเชิงลบ ) ตั้งคำถาม แบบนี้ อีก สาม สี่คน จนรู้สึกว่าภาพเห็นภาพของความสุขแต่ละคนแล้ว ครูตั้งคำถามต่อ โดยเลือกนักเรียนอาสาที่อยากจจะพูดคุย ว่า “นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากกิจกรรมสำรวจความสุขนี้บ้าง”

สิ่งที่ได้ ครูจะได้รู้จักนักเรียนมากขึ้น ได้เห็นการแลกเปลี่ยนที่มีพลัง สมาชิกในห้อง ได้เปิดใจกัน นักเรียนได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น คาบต่อไปจะเห็นการกล้าอาสาที่จะตอบมากขึ้น และคาบต่อไปคือการสำรวจความทุกข์ เพื่อที่จะแก้ไขทุกข์ตามหลักอริยสัจ 4
รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(28)
เก็บไว้อ่าน
(11)