icon
giftClose
profile

ขอโอกาส 3 ครั้ง ผมไม่ได้ตั้งใจดื้อครับครู

9930
ภาพประกอบไอเดีย ขอโอกาส 3 ครั้ง ผมไม่ได้ตั้งใจดื้อครับครู

ครูก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ชวนครูสื่อสารความรู้สึก และร้องขอความต้องการ ของครู เวลาเด็กๆดื้อ

วันนี้ขอเสนอเกม "โอกาสที่ 3" ให้โอกาสเด็กๆ ได้พยายามเอาชนะ

ใจตัวเอง ก่อนมีการลงโทษเวลาเด็กๆดื้อค่ะ เป็นการสร้างขอตกลง

ร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ค่ะ

....

หัวใจสำคัญของเกมนี้คือ "การสื่อสาร" เพื่อส่งสัญญาณให้เด็กๆ 

ได้รู้ตัวว่า #ทำเกินขอบเขตที่ตกลงกันไว้ ซึ่งขอบเขต ข้อตกลง กฎ

กติกา ควรพูดคุยกับเด็กๆก่อนค่ะ ให้เด็กๆได้รับรู้ขอบเขตที่แต่ละบ้าน

แต่ละห้องเรียนได้กำหนดไว้ ยิ่งถ้าให้เด็กๆร่วมกันตั้งกฎ กติกา 

และบทลงโทษร่วมกันได้ จะดีมากเลยค่ะ มีทางเลือกให้เด็กๆ 

ได้สื่อสารความต้องการ (Need) ของตัวเอง

ลองจินตนาการถึงบ้าน และห้องเรียนที่เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมสร้าง

ข้อตกลงร่วมกันดูซิค่ะ กลิ่นอายของความเคารพกันและกันของ

ทุกคนในบ้าน คงกระจายไปทั่วบ้านเลยนะคะ

...

หลังจากสื่อสาร กฎ กติกา ข้อตกลง และบทลงโทษร่วมแล้ว 

ก็ถึงเวลาของการส่งสัญญาณบอกเด็กๆค่ะ เราจะให้ #โอกาสสามครั้ง 

ช่วงเวลาที่เด็กๆ ซน เสียงดัง หรือทำอะไรที่เกินขอบเขต 

เราจะส่งสัญญาณเตือนเด็กๆ

.....

วิธีส่งสัญญาณเตือนเด็กๆ ท้งสามครั้ง #พกเหตุผลและความเมตตา 

ใส่ลงไปในน้ำเสียงและท่าทางของเราด้วยนะคะ 

(แม้ว่าในใจอยากะกรีดร้องมากแค่ไหนก็ตาม) 

ลักษณะการเตือน 3 ครั้ง มีดังนี้ค่ะ

.

#ครั้งที่1 "น้องเอ เล่นแก้ว ระวังแก้วแตกนะลูก 

ถ้าแตกมา แก้วอาจจะบาดมือหนูได้นะลูก เตือนครั้งที่ 1 จ๊ะ" 

เตือนด้วยน้ำเสียงราบเรียบปกติ ระวังความกลัวต่างๆนานา 

ของเราจะทำให้เราโกรธมากเกินกว่าปกติ

****ระหว่างนี้ สังเกตเด็กค่ะ เค้าพยายามปรับพฤติกรรม

การเล่นแก้วน้ำดื่ม อยู่รึเปล่า เค้าอาจจะเล่นอยู่แต่ลดการหมุน 

หรือจับแก้วให้เบาๆ วิธีการไหนก็ได้ค่ะ ที่เค้ากำลังพยายาม

เล่นแก้วน้ำ อย่างระมัดระวังมากขึ้น ถ้าเราประเมินแล้วว่า 

เล่นแบบนี้โอเค ก็ไม่ต้องเตือนครั้งที่สองค่ะ แต่ถ้ายังไม่หยุด

ยังคงเล่นอย่างเมามัน ก็เข้าสู่ การเตือนครั้งต่อไป

.

#ครั้งที่2 "น้องเอ เล่นแก้ว ระวังแก้วแตกนะลูก 

ถ้าแตกมา แก้วอาจจะบาดมือหนูได้นะลูก เตือนครั้งที่ 2 แล้วนะ 

แม่กลัวแก้วแตก" ครั้งนี้ เพิ่มเติมความรู้สึกของเราลงไป เพื่อให้

เด็กๆรับรู้ความรู้สึกของเรามากขึ้น อันที่จริงเป็นการสื่อสาร

ความกลัวของเรา ให้เราได้เท่าทันความรู้สึกตัวเองเองด้วยค่ะ 

หลายครั้งที่เราไม่รู้ตัวเอง ก็อาจจะปรี๊ดแตกใส่เด็กๆได้ง่ายค่ะ

***เมื่อสื่อสารออกไปแล้ว ให้เวลาเด็กๆได้จัดการตัวเองหน่อยค่ะ 

บางคนอาจจะเล่นแรงขึ้น เพื่อเช็คท่าทีของเรา นิ่งไว้ก่อนนะคะ 

เป็นช่วงเวลาที่เด็กๆกำลังฝึกยับยั้งชั่งใจตัวเองอยู่ค่ะ ในขณะที่

เด็กบางคนอาจจะค่อยๆเล่น เบาๆแล้วหยุดได้เลย ให้เวลาเด็กๆค่ะ 

สำคัญมาก ให้เค้ามีทางเลือกเพื่อจัดการตัวเองค่ะ ถ้าเตือนแล้ว

ไม่สำเร็จ เชิญครั้งต่อไปค่ะ

.

#ครั้งที่3 "น้องเอ เล่นแก้ว ระวังแก้วแตกนะลูก 

ถ้าแตกมา แก้วอาจจะบาดมือหนูได้นะลูก เตือนครั้งที่ 3 แล้วนะ 

แม่กลัวแก้วแตก แม่ขอให้ลูกวางแก้วน้ำไว้ แล้วเล่นอย่างอื่นได้ไหมคะ"

ครั้งนี้ เพิ่มความต้องการ (Need) และการขอร้อง ร้องขอ (Request)

ไปด้วยค่ะ ครั้งนี้เป็นกระบวนการที่เด็กๆจะได้รับรู้ ความรู้สึก (Feeling) 

ความต้องการ (Need) และการร้องขอ (Request) ในครั้งเดียวค่ะ 

ขอให้สื่อสารด้วยความจริงใจและร้องขอจริงๆค่ะ เด็กๆส่วนใหญ่จะ

ค่อยๆลดพฤติกรรมการเล่นลง ตามจังหวะของเค้าเองค่ะ

#ให้เวลาเด็กๆได้CoolDownตัวเอง

.

#ถ้าไม่เด็กๆไม่หยุดหลังเตอนไปแล้ว3ครั้ง ก็เข้าสู่การพูดคุย ข้อตกลง

เรื่องการทำโทษได้เลยค่ะ ห้องเรียนครูเก๋จะ time out (นั่งอยู่คนเดียวเงียบๆ ไม่พูดคุย ไม่นั่งเล่นกับใคร) เป็นเวลา 5 นาที เพื่อนั่งนิ่งๆ ทบทวนในสิ่งที่ตัวเองได้ทำลงไปค่ะ ระหว่างนั้นครู หรือผู้ปกครองสังเกตเด็ก ดูว่าเค้าไหวไหม ที่บ้านจะทำง่ายกว่าที่โรงเรียนค่ะ

ที่โรงเรียนคุณครู ลองหาทางสื่อสารและลงโทษแบบเมตตาเด็กๆหน่อยนะคะ ระวังอย่าทำเหมือนประจานเด็กค่ะ ลองเรียกมาคุยส่วนตัวและให้ time out

คนเดียวระหว่างพักเที่ยงหรือหลังเลิกเรียนกับคุณครูได้ค่ะ

....

สิ่งที่สำคัญของ "โอกาส ครั้งที่ 3 " คือ การสื่อสารความรู้สึก 

ความต้องการ และการร้องขอ อย่างเมตตาและจริงใจค่ะ หลายครั้งที่

ไม่มีการส่งสัญญาณเตือนเด็กๆ เพราะผู้ใหญ่ไม่เท่าทันความรู้สึกความต้องการของตัวเอง ทำให้ดุ ทำโทษเด็กๆ แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ทำให้เด็กๆไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่โดนตี ไม่รู้ว่าตัวเองทำผิดอะไร


ภาวะ "การไม่รู้ตัว" นี่ น่าสงสารมากค่ะ ลองให้

โอกาสเด็กๆแก้ตัว จากความไม่รู้ของเค้าด้วยค่ะ

...

สุดท้ายแล้ว ถ้าเลือกได้ ระหว่างเมตตากับความยุติธรรม ขอให้

 #เลือกเมตตา โดยการสื่อสารความรู้สึก และร้องขอสิ่งที่ตัวเองต้องการ

กับทุกๆ ความสัมพันธ์ในชีวิต

....

🐇🌞เขียนจากใจครูเก๋ ศศรส โกวิทพานิชกุล

ติดตามได้ที่เพจ FB: Inn Play School - จิตวิทยาการเล่น

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(1)