icon
giftClose
profile

สอนกันเอง

9530
ภาพประกอบไอเดีย สอนกันเอง

ใช้ในกรณีที่ครูต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองการจากการเรียนรู้ผ่านการช่วยกันสอนระหว่างกลุ่มเพื่อน หรือรับผิดชอบหน้าที่บางอย่างร่วมกัน

Description:

ใช้ในกรณีที่ครูต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองการจากการเรียนรู้ผ่านการช่วยกันสอนระหว่างกลุ่มเพื่อน หรือรับผิดชอบหน้าที่บางอย่างร่วมกัน คุณครูสามารถกำหนดเงื่อนได้หลายข้อ ตัวอย่างเช่น

1. ถ้าเพื่อนหรือสมาชิกในกลุ่มตอบคำถามได้ คู่หรือกลุ่มจะได้คะแนนเพิ่ม

คุณครูสามารถกำหนดคะแนนได้ ตามระดับความยากง่ายของคำถาม

2. นักเรียนทุกคนในกลุ่มต้องได้ตอบ

เทคนิคนี้จะได้ผลมากขึ้น เมื่อมีความเชื่อมโยงกับการเก็บคะแนนทั้งรายห้องและรายบุคคล

จะมีประสิทธิภาพมากสุดถ้าใช้ร่วมกับการเก็บคะแนนและกฎหรือบรรทัดฐาน(Norm) ของห้องเรียน เช่นเมื่อนักเรียนทำได้ตามกติกาจะเพิ่มคะแนน และหากไม่เป็นไปตามกติกาจะเป็นการเสริมแรงเชิงลบ(ให้การบ้านเพิ่ม/ลุกนั่ง)


How to use:

1. ในการจะจัดกลุ่มแบบนี้ก็ต้องอาศัยการทำแบบทดสอบย่อย 2-3 ครั้ง

เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพนักเรียนแต่ละคนคร่าวๆ ก่อน จะได้จัดกลุ่มได้ง่ายขึ้น

และเห็นภาพในหลายมิติมากขึ้น นักเรียนบางคนอาจมีความถนัดในทักษะที่ต่างกันไป

2. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนโดยที่นักเรียนแต่ละคนจะมีความสามารถในระดับต่าง ๆ กันไป เป็นการคละให้ในแต่ละกลุ่มมีนักเรียนโดยมีความสามารถเฉลี่ยกันไป ไม่รวมกลุ่มกันแต่เด็กเก่งและเด็กที่อ่อนไปเลย ทั้งยังช่วยให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ผ่านการเพื่อนช่วยสอนเพื่อน

3. สร้างบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียดมาก เพราะในห้องเรียนปกติเด็กที่เรียนไม่ทันต้องอึดอัดเวลาคิดไม่ทันเพื่อนหรือรู้สึกถูกลืม (Left Out) เลยตอบครูไม่ได้

หรือไม่อยากตอบ


Appropriate:

เพื่อให้การเรียนเป็นกลุ่มแบบแบ่งปันกันและกัน เกิดความน่าสนใจและน่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ครูประจำวิชาอาจจะตั้งรูปแบบ (Theme) ของแต่ละกลุ่มหรือในห้องนั้นขึ้นมาใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 เทอมการศึกษา เป็นต้น


 จำนวนนักเรียน: นักเรียนทุกคนในชั้นเรียน

 กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียนที่มีระดับการเรียนรู้ที่ช้าและคุณครูต้องการให้นักเรียนที่เก่งกว่าช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้นเรียน

 ระยะเวลา: เหมาะสมกับระยะยาว (เทอมการศึกษา)


Expected Result:

1. ระยะยาว (Long Term Effect)

 นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ สร้างความรู้สึกเป็นทีม

และฝึกการทำงานร่วมกันผ่านการช่วยกันหาคำตอบ

 นักเรียนรู้จักการแบ่งปัน มีน้ำใจช่วยสอนคนเพื่อนที่อ่อนกว่า

 นักเรียนมีความพยายามในการเรียนรู้เพื่อแข่งขันกันตอบคำถามให้ได้


Limitation:

นักเรียนที่หัวไวและเรียนทันบางคน จะมีท่าทีที่เยาะเย้ยและต่อว่าเพื่อนในครั้งแรก ๆ ทำให้เด็กที่เรียนค่อนข้างช้าหมดกำลังใจหนักไปอีก จึงต้องอาศัยคุณครูในการเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิดและสอนให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน เสริมสร้างบรรยากาศแห่งการแบ่งปัน คุณครูเองก็ต้องไม่ใช้คำรุนแรงกับเด็กที่เรียนเร็วกว่าเพื่อนเช่นเดียวกัน


Reference:

https://www.facinghistory.org/resource-library/teaching-strategies/assigning-roles-group-work

https://uwaterloo.ca/centre-for-teaching-excellence/teaching-resources/teaching-

tips/alternatives-lecturing/group-work/implementing-group-work-classroom

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(2)