icon
giftClose
profile

นับถอยหลัง Count Down

24310
ภาพประกอบไอเดีย นับถอยหลัง Count Down

ใช้เมื่อต้องการกำหนดเวลาของกิจกรรมตามเงื่อนไข หรือควบคุมสถานการณ์ในชั้นเรียน

How to use:



1. นับถอยหลัง (ใช้สัญญาณมือ / เพลง / กริ่ง / นักเรียนตัวแสบ)

1.1. เสียงเพลงนับถอยหลัง (ก่อนเริ่มชั้นเรียน)

1.1.1. อธิบายเหตุผล (ทำไมต้องเก็บขยะ) และบทลงโทษหากไม่เป็นไปตามกฎ (ลุกนั่ง10ที/ขยะ1ชิ้น)

 เมื่อเพลงหยุดนั่งเรียนต้องวางสมุดไว้บนโต๊ะและรอบตัวนักเรียนต้องไม่มีขยะเลยสักชิ้น

1.1.2. เปิดเพลงทิ้งไว้ นักเรียนทุกคนจะต้องเก็บขยะ

1.1.3. เมื่อหมดเวลารอบโต๊ะต้องสะอาดเรียบร้อยและเด็กทุกคนต้องนั่งประจำที่

คุณครูตรวจความเรียบร้อย และชื่นชมคนทำดี และทำโทษตามความเหมาะสม


*ต้องเข้มงวดและทำโทษอย่างจริงจัง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ว่าห้องเรียนต้องสะอาด เมื่อใช้บ่อยพอ อาจไม่ต้องเปิดเพลงแล้ว


1.2. เสียงเพลงนับถอยหลัง (ใช้เพื่อจับเวลาทำกิจกรรมในห้อง)

คุณครูบอกกติกาว่าจะเปิดเพลงระหว่างทำกิจกรรม ถ้าเพลงหยุดนักเรียนทุกคนจะต้องวางมือแล้วมองมาที่ครู

1.2.1. ในกรณีที่เด็กทำตามกติกา100% สามารถเสริมแรงโดยการให้คะแนนห้องได้

1.2.2. ถ้าเด็กไม่ทำตาม สามารถยืนรอ(ยิ้มด้วยนะ) จนกว่าเด็กทุกคนจะหันมา


1.3. การจับเวลา แล้วใช้ เสียงกริ่ง / โค้ดปรบมือเป็นสัญญาเมื่อหมดเวลา

สามารถใช้ควบคู่ได้กับการเปิดเพลง เสียงกริ่งเป็นสัญญาณบอกว่านักเรียนต้องหยุดกิจกรรมหนึ่งๆ แล้วมองมาที่ครู

1.3.1. ชื่นชม เสริมแรง ให้คะแนนห้อง ให้แสตมป์

1.3.2. สามารถตั้งเงื่อนไข เช่น ถ้าทำไม่ได้ 100% จะถูก ขีดบนกระดาน 1 ขีด

หากคาบนั้นครบ 3 ขีด ทุกกิจกรรมจะหยุดลง แล้วนั่งเรียนแบบโต๊ะ lecture

ตามเดิม

1.4. การจับเวลาบนมือถือ

เพื่อแจกสมุดเด็ก คุณครูตั้งเกณฑ์ การมารับสมุดหน้าห้องจากมือครู แข่งกับห้องอื่น หากห้องไหนทำเวลาต่อคนได้ดีที่สุดจะได้คะแนนห้อง ตามลำดับ เช่น

ลำดับที่1 = 10 คะแนน

ลำดับที่2 = 8 คะแนน


2. การนับไปเรื่อย ๆ 1-2-3-4-5 (ใช้มือนับ/อุปกรณ์)

ครูเลือกตัวเลขที่นักเรียนควรจะทำตามกติกา เช่น เมื่อถึงเลข 5 ทุกคนต้องนิ่ง

และนั่งประจำที่ หากครูนับเลข 6 สามารถเสริมแรงเชิงลบ ดังนี้

 จะถูกตัดคะแนนห้อง 1คะแนน

 เพิ่มการบ้าน 1 ข้อ

 ท่องศัพท์เพิ่ม 1 คำ

ถ้านับเลข 7-8-9 จะเท่ากับ 2-3-4 คะแนน ตามลำดับ


*คุณครูควรให้โอกาสเด็ก เช่นถ้าเด็กปรับปรุงตัวขึ้น จากที่ถูกหักคะแนนต้นคาบ

ก็บอกว่า ถ้าท้ายคาบสามารถตอบคำถามครูได้หรือทำแบบฝึกหัดเสร็จ ก็จะไม่ถูกหักคะแนน


Appropriate:

เหมาะสมกับการควบคุมเวลาของการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

การนับถอยหลังจะทำให้คุณครูเห็นปฏิกิริยาของนักเรียนในทันที เช่น อยากเห็นนักเรียนมองมาที่ครู อยากเห็นนักเรียนวางสมุดบนโต๊ะทุกคน ควรใช้ควบคู่กับเทคนิคอื่น โดยเฉพาะเทคนิคที่ส่งผลต่อกลุ่ม เช่น คะแนนห้อง คะแนนกลุ่ม


 จำนวนนักเรียน: นักเรียนทุกคนในชั้นเรียน

 กลุ่มเป้าหมาย: นักเรียนที่ต้องการสมาธิ ก่อกวนชั้นเรียนหรือพฤติกรรมอื่น ๆ

ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้

 ระยะเวลา: เหมาะสมกับระยะยาว (ในคาบเรียน)


Expected Result:

เป็นการหวังผลของปฏิกิริยาของนักเรียนในทันที โดยเฉพาะการ เตรียมความพร้อม และการหยุดแล้วมองมาที่กระดาน


1. ระยะสั้น (Short Term Effect)

 เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนรู้

 การดึงความสนใจของนักเรียน

 การควบคุมสถานการณ์ในชั้นเรียน ในกรณีที่เกิดความวุ่นวาย


Limitation:

ไม่มีข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ แต่จะเป็นอุปสรรคที่อาจควบคุมชั้นเรียน เทคนิคนี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์อื่นมาเชื่อมโยงด้วย เพราะการนับถอยหลังเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะทำให้กิจกรรมเดินไปตามเวลาที่กำหนดไว้

ควรมีการเสริมแรงเชิงบวกถ้านักเรียนทำได้ดี และเสริมแรงเชิงลบหากนักเรียนไม่เป็นไปตามกติกา

ทั้งนี้ครูควรให้โอกาสนักเรียนปรับปรุงตัวภายในคาบหรือกรณีที่นักเรียนดื้อ ควรใช้เทคนิคอื่น ๆ เข้ามาจัดการเพิ่มเติมเช่น Scoreboard หรือ Peer Pressure

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(5)