สิ่งที่นักเรียนจะได้เรียนรู้
1. ปฎิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการอนุรักษ์ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์
1. กระดาษ์โพสต์อิท
2. การดาษสีแผ่นใหญ่
3. ปากกาเคมี
ขั้นตอนการสอน
ขั้นนำ
1. ครูและนักเรียนร่วมกันพูดคุยถึงวิชาภูมิศาตร์ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง
2. ครูแจกกระดาษโพสต์อิทให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น แล้วให้นักเรียนเขียนสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติที่นักเรียนชื่นชอบหรือมีความสนใจมา 1 อย่าง และเขียนเลขที่ของตนเองใส่วงเล็บไว้ท้ายคำตอบ (ครูอาจจะยกตัวอย่างให้กับนักเรียนก็ได้ค่ะ)
3. ครูนำกระดาษสีมาเขียนหัวข้อปฎิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ได้แก่ ธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศ และชีวภาค นำไปติดไว้หน้าชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนนำคำตอบของตนเองไปติดไว้ที่กระดาษสีหน้าชั้นเรียน
4. นักเรียนพิจารณาคำตอบของตนเอง ว่าเกี่ยวข้องกับปฎิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ในข้อใดแล้วนำคำตอบของตนเองไปติดไว้ที่กระดาษสีหน้าชั้นเรียน
5. ครูและนักเรียนร่วมกันพิจารณาคำตอบในแต่ละหัวข้อ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับปฎิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ อย่างไรบ้าง (อาจมีภาพประกอบเพื่อความชัดเจนค่ะ)
ขั้นสอน
1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนตามคำตอบที่นักเรียนมาติดไว้ ใน 4 หัวข้อ กลุ่มธรณีภาค กลุ่มอุทกภาค กลุ่มบรรยากาศ และกลุ่มชีวภาค (หากกลุ่มใดมีคนตอบมากเกินไปให้แบ่งสมาชิกเป็นหัวข้อนั้น 2 กลุ่ม )
2. ครูให้นักเรียนนำกระดาษสีมาเขียนเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่เราจะให้ศึกษาเรื่องต่างๆ ตามหัวข้อที่กลุ่มได้รับ
3. ครูให้นักเรียนเล่นเกมเปิดเลขทายภาพ ให้ทายว่าภายใต้หมายเลขนั้นคือภาพใด (ภาพปัญหาขยะในทะเล) แล้วร่วมกันอภิปรายคำตอบว่าปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อใดบ้าง (ครูอธิบายถึงผลกระทบที่มีผลต่อปฎิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์)
4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อหรือปัญหาตามหัวข้อที่กลุ่มได้รับ แล้วหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อหรือปัญหาที่เลือก เช่น ข้อมูลในอดีต/สถานการณ์ในปัจจุบัน/การคาดการณ์ในอนาคต หรือ สาเหตุของปัญหา/ผลกระทบที่ได้รับ/แนวทางการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่นักเรียนเขียนไว้ค้นหาหรืออ้างอิงให้ได้มากที่สุด
ขั้นสรุป
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอข้อมูลของกลุ่มตน ว่าหัวข้อที่ได้รับเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง เลือกหัวข้อหรือปัญหาใด เหตุใดจึงเลือกหัวข้อนั้น ข้อมูลที่ได้เป็นอย่างไร ใช้เครื่องมือใดสืบค้นหรืออ้างอิงข้อมูลบ้าง มีหลักการในการป้องกัน อนุรักษ์ ดูแล ทรัพยากรด้านนั้นอย่างไร
2. ครูเปิดโอกาสให้เพื่อนกลุ่มอื่นสอบถามกลุ่มที่นำเสนอกลุ่มละ 1 คำถาม
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายคำถาม และสรุปความรู้ที่ได้รับ (อาจจะเชื่อมโยงไปถึงหน่วยงาน องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!