inskru
gift-close

ปฐมนิเทศ

6
2
ภาพประกอบไอเดีย ปฐมนิเทศ

Workshop เตรียมงานปฐมนิเทศนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4

ของคณะกรรมการนักเรียน และทีมงาน

เริ่มต้นด้วยการ Check in บอกความรู้สึกเช้านี้ว่าเป็นอย่างไร (ส่วนใหญ่ไม่ง่วง ก็ตื่นเต้น)

หลังจากนั้นให้จับคู่ เล่นเกม Feelink ที่ได้ไอเดียจากน้องแดนไท มาให้ทุกคนเล่นทายความรู้สึกเพื่อน 

โดยมีอารมณ์ 

😎 เท่

🤣 ตลก

😆 สนุก

😜 ตื่นเต้น

😥 เครียด

😖 รังเกียจ 

😡ไม่พอใจ

🤨 สงสัย

จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ เช่น สอบตกกลางภาค ผอ.ให้เรียนพละทุกวัน ทั้งช่วงบ่าย เพราะอยากให้แข็งแรง

ที่พีคสุดน่าจะเป็น ให้เป็นผอ.หนึ่งวันแล้วเปลี่ยนอะไรในโรงเรียนก็ได้ หนึ่งอย่าง 

ทายอารมณ์เพื่อนถูกทั้งคู่ รับไปสามคะแนน 

ทายถูกแต่คู่ทายไม่ถูก หนึ่งคะแนน

ไม่มีใครถูกเลย ศูนย์คะแนน

ก็ทำให้เด็กๆได้คุยกันมากขึ้นครับ ว่าทำไมรู้สึกอย่างนั้น มองปัญหา หรือเรื่องนั้นอย่างไร

จากนั้นจับกลุ่มสามคน เล่นเกม “สองความจริง หนึ่งสิ่งโกหก”

โดยให้ผลัดกันเล่าเรื่องสามเรื่อง โดยจะต้องเป็นเรื่องจริงสองเรื่อง และเรื่องโกหกหนึ่งเรื่อง แล้วให้เพื่อนทายว่าเรื่องไหนไม่จริง 

กิจกรรมนี้ทำให้เราตั้งใจฟังเพื่อนมากขึ้น ใจจดใจจ่อว่าเรื่องไหนนะที่โกหก

คราวนี้เริ่มให้แต่ละคนเขียน “ปัญหาของนักเรียน” ที่พบเจอให้มากที่สุด แล้วคุยกับเพื่อน แลกเปลี่ยนกันว่ามีอะไรบ้าง

หลังจากนั้น ให้เลือกสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหามากที่สุด เพียงหนึ่งปัญหา เขียนในกระดาษ

เสร็จแล้ว เริ่มทีละคน ยืนขึ้น พูดถึงปัญหาที่ตนเองเลือก แล้วไปวางกระดาษไว้กลางวง

ทำทีละคน ทีละคน

“ทำงานไม่ทัน” “มาสาย” “แต่งกายไม่เรียบร้อย” “เรียนไม่รู้เรื่อง” “ปัญหากับเพื่อน” “การรังแกกัน” ฯลฯ

ของใครที่เรื่องเดียวกับเพื่อน ก็วางไว้กองเดียวกัน

จากนั้นก็ชวนคุยครับ ว่าการเข้ามาเรียนชั้นมัธยม เราคาดหวังอะไรบ้าง ทำไมถึงมาเรียน ทำไมเลือกมาเรียนโรงเรียนนี้ 

“กฎหมายบังคับค่ะ” “เป็นความคาดหวังของพ่อแม่” “เป็นหน้าที่” “เพื่ออนาคตของตัวเอง และครอบครัว” “ได้มาเจอเพื่อน รู้จักสังคม” “เพื่อเป็นบันไดสู่มหาวิทยาลัย” “เขาปลูกฝังมาให้เรียนสูงๆเป็นเจ้าคนนายคน” ฯลฯ

แล้วก็ชวนคุยขยายจากประเด็นตรงนี้แหละครับ

ว่าควรเป็นอย่างไรบ้าง

สุดท้ายปลายทางทุกคนก็ต้องวาดหวังว่าจะจบการศึกษา เพื่อนไปเรียนต่อ ไปทำงาน ไปใช้ชีวิต

แต่อีกสิ่งที่สำคัญคือ “ระหว่างทาง”

ขณะที่เราเรียนอยู่นั้น เรามีความสุขไหม?

เราต้องทุกข์ใจอะไรบ้าง

ไม่ใช่แค่เรื่องการเรียน แต่เรื่องส่วนตัว เรื่องกิจกรรม เรื่องครอบครัว

เพราะเราไม่ได้เป็นแค่นักเรียน 

เราเป็นลูก เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นพนักงานพาร์ทไทม์ เป็นเพื่อน เป็นแฟน

เป็นวัยรุ่นมันเหนื่อยครับ

ดังนั้นกิจกรรมตรงนี้เราจะทำอย่างไรที่จะเตรียมความพร้อมให้กับน้องใหม่ ผมให้เด็กๆสะท้อนว่าเราควรจะได้อะไร จากการปฐมนิเทศบ้าง

และกิจกรรมรับน้องบางอย่างที่ทำ

ทำแล้วได้อะไรบ้าง

อย่างไรถึงเรียกว่าสร้างสรรค์

ที่บอกว่าทำให้รักสามัคคีกัน มันจริงหรือเปล่า?

สุดท้าย

ผมได้แบ่งฐานกิจกรรมไว้คร่าวๆ ๗ ฐาน

แล้วให้นักเรียนเขียนเลือกกิจกรรมไว้

แล้วจับกลุ่มคนที่สนใจกิจกรรมเดียวกัน

จนตกผลึกเป็น

๑. อัตลักษณ์โรงเรียน

๒. สถานที่และผู้คนที่ควรรู้

๓. ระเบียบวินัยและการปฏิบัติตน

๔. การเตรียมความพร้อมในการเรียน

๕. กิจกรรมต่างๆในโรงเรียน

๖. สภานักเรียน

๗. รู้จักตนเอง

และให้นักเรียนระดมสมอง วางวัตถุประสงค์ คิดกิจกรรมในฐาน และชื่อกิจกรรมที่กิ๊บเก๋

ให้นักเรียนเลือกครูที่คิดว่าเหมาะกับกิจกรรมฐานของตัวเอง มาอยู่เป็นที่ปรึกษาประจำฐานเอง

ให้ล้อมวง พูดนำเสนอทีละกลุ่ม

และมีกระดาษให้ทุกคนในวงเขียนฟีดแบ็คเมื่อเพื่อนนำเสนอเสร็จ

ว่าชอบอะไร

มีข้อเสนอแนะอย่างไร

หรือสงสัยตรงไหน 

แล้วเดินไปให้กลุ่มที่นำเสนอ ทีละกลุ่มๆ

ค้นพบว่า 

เด็กๆทำได้

ไอเดียเจ๋งด้วย

กล้าเสนอความคิดเห็นกันมากขึ้น

รู้จักตั้งคำถามจากสิ่งที่ฟัง สิ่งที่เห็น

กิจกรรมที่สนุก ที่ทำให้รู้จักกัน

ไม่จำเป็นต้องเต้นแร้งเต้นกาเสมอไป

ไม่จำเป็นต้องเลอะเทอะ ไม่จำเป็นต้องต้องกล้าบ้าบิ่น

แต่กล้าที่จะเปิดใจ

ใครบอกว่าเด็กคิดเองไม่ได้

ใครบอกว่าไม่สั่งเด็กทำไม่ได้หรอก

เราสอนเขา

เรามีกระบวนการให้เขาอย่างไรต่างหาก


FB:ธนวรรธน์ สุวรรณปาล 


ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

6
ได้แรงบันดาลใจ
2
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insนะโมโต๋เต๋
สวัสดีค่า นะโม เป็นทีมพัฒนาเว็บนี้นะคะ :) ไปเจออะไรดีๆก็จะคอยมาลงไว้เรื่อยๆ หากมีอะไรอยากให้เว็บไซต์พัฒนาตรงจุดไหน Feedback มาที่เพจได้เลยนะคะ

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ