icon
giftClose
profile

รวมไอเดียกิจกรรม ประชุมผู้ปกครอง

322192
ภาพประกอบไอเดีย รวมไอเดียกิจกรรม ประชุมผู้ปกครอง

มาดูกันเลยค่า...


ประชุมผู้ปกครองอย่างไรให้เราไม่เบื่อ 555

1. จัดเก้าอี้เป็นวงกลม (เปิดเพลงรอ)

2. รอจนครบ กล่าวสวัสดี

3. บอกผู้ปกครองว่าขอทำความรู้จักสัก 20-30 นาที

4. Think (ข้อดี/สิ่งที่ชอบ/ของลูกตนเอง) ให้ผู้ปกครองเขียนลง Post it

5. Pair จับคู่คนนึงเป็น A คนนึงเป็น B จากนั้น A แนะนำตัว อาชีพที่ทำและเริ่มเล่าก่อนโดย B เป็นผู้ฟัง ตามสไตล์ #ก่อการครู ซึ่ง A เล่าข้อดีของลูกตนเองให้ B ฟัง ในเวลา 1-2 นาที 

6. ทำเช่นเดิมแต่ B เล่า

7. Share เอา 2 คู่ มาจับกันเป็น 4 คน โดย A จะเล่าเรื่องของ B และ B เล่าเรื่องของ A ให้อีกคู่ฟัง

8. Share++ ให้แต่ละกลุ่มเล่าเรื่องของกลุ่มตัวเองให้กลุ่มอื่นฟัง 

9. ครูสรุปประเด็นที่ได้ของทั้งวงเพื่อนำเข้าสู่คำถามที่ 2 นั่นคือ “ถ้าบอกอะไรลูกได้หนึ่งอย่างจะบอกอะไร ?“

10. แจก Post it ใหม่อีกใบ ให้เขียนคำตอบที่ได้ใหม่ลงใน post it 

11. ให้ Share ในกลุ่มเดิม 4 คน ในเวลา 2-4 นาที 

12. Share++ ให้แต่ละกลุ่มเล่าเรื่องของกลุ่มตัวเองให้กลุ่มอื่นฟัง 

13. ครูสรุปประเด็นที่ได้ของทั้งวง กล่าวขอบคุณและแจ้งเรื่องอื่น ๆ เล็กน้อยก่อนให้เลือกเครือข่าย ซึ่งครูต้องบอกถึงความสำคัญในการเป็นเครือข่าย 


by Fb: Romklao Changnoi



ประชุมผู้ปกครอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๕

ผู้ปกครอง ๑๖ จากทั้งหมด ๑๘ ท่าน

เริ่มจากการพูดคุยจุดมุ่งหมายในการประชุมผู้ปกครอง

ผมเริ่มถามผู้ปกครองว่า “ทำไมต้องมาประชุมผู้ปกครอง?”

แทบจะคำตอบเดียวเลยคือ “มาจ่ายค่าเทอม”

บ้างก็ว่า “ไม่มาลูกก็โดนตัดคะแนน” “มาฟังข่างสารจากโรงเรียนบ้าง”

ผมชวนคุยต่อว่าถ้าเช่นนั้นแล้วจำเป็นที่ผู้คงจะต้องมาพร้อมหน้าพร้อมตากันไหม?

จ่ายเงินจ่ายตอนไหนก็ได้ หลายโรงเรียนก็ใช้ระบบโอนเงินแล้วนำสลิปมาขึ้นใบเสร็จ

ฟังเรื่องชี้แจงจากโรงเรียน โรงเรียนก็ทำเป็นหนังสือให้ก็ได้ ผู้ปกครองก็ศึกษาเอา

จุดที่สำคัญคือทำให้ระหว่างผู้ปกครองด้วยกันและผู้ปกครองกับครูมีปฏิสัมพันธ์ได้พูดคุยได้รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนและส่งเสริมบุตรหลานของผู้ปกครองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ค้นพบว่าจวบจนจะสามปี ผู้ปกครองห้องนี้แต่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ใดใดกันเลย

ด้วยเวลาที่จำกัด และระบบที่ออกแบบมาให้เอกสารการเงินการดำเนินงานด้านธุรการเยอะเยอะมากมายต้องใช้เวลา ทำให้ผมดำเนินกิจกรรมได้ไม่มาก

ผมใช้เกม Feelink หยิบยกประเด็นมาให้ผู้ปกครองได้บอกอารมณ์ของตัวเองว่าคิดเห็นอย่างไร และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน

เช่น ถ้าหาผู้ปกครองได้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเปลี่ยนอะไรก็ได้ในหนึ่งวัน

บ้างบอกว่ารู้สึก “เท่” “สนุก” “ตื่นเต้น” จนกระทั่งถึงกับ “เครียด”

และบอกต่อด้วยว่าจะลดค่าเทอมลง

และ ถ้าบุตรหลานของท่านสอบติดมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่ง ในขณะที่เค้าอยากเรียนและการันตีได้ว่าจบมาจะได้เงินเดือนสูง แต่ค่าเทอมก็สูงเช่นกัน

ผู้ปกครองบอก รู้สึก “เท่” แบบว่า เจ๋งมากลูก และ “สงสัย” ว่าสอบได้ยังไง

เล็กๆในน้อยให้ผู้ครองพอได้พูดคุยแสดงความคิดเห็นกัน

จากนั้นผมให้ผู้ปกครองเขียนข้อความลงในโพสต์อิท ความในใจ ถึง...

“ลูกรัก” และ “คุณครู”

และให้นักเรียนเขียนถึง “พ่อแม่ผู้ปกครอง”

ส่วนใหญ่ผู้ปกครองก็อยากจะบอกก็ “ให้เชื่อฟัง” “ให้ตั้งใจเรียน” “ฝากคุณครูสั่งสอนลูกด้วย” อยากให้ครูช่วยดูแลลูก

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือสิ่งที่นักเรียนอยากบอกกับผู้ปกครอง

“อยากให้ปล่อยบ้าง”

“ให้ไปทำสิ่งที่ตัวเองชอบ”

“อยากให้ฟังเหตุผล”

“อยากให้สนใจกันบ้าง”

“รักแม่นะ”

ผมชวนให้ผู้ปกครองคิด ว่าเราคาดหวังอะไรกับบุตรหลานเราบ้าง?

และผมถามว่ามีอะไรบ้างไหมที่เรามองย้อนกลับไปแล้วหลังผิดพลาด ในการเลี้ยงดูเขา อยากจะกลับไปแก้ไข?

ดังนั้นเช่นเดียวกันผมอยากให้ผู้ปกครองมองว่าความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ

ลูกลูกเองก็ผิดพลาดได้เหมือนกันกับเรา

แต่เราต่างหากเมื่อเขาผิดพลาดแล้วเราได้ให้โอกาสเขาอยู่เคียงข้างเขาจับมือเขาก้าวข้ามความผิดพลาดนั้นทำให้เขาได้เรียนรู้และเติบโตหรือไม่

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ผู้ปกครองมักจะต่อว่าซ้ำเติม

หรือไม่ค่อยปล่อยให้ลูกลูกได้ไปเผชิญปัญหา

ไม่ยอมรับความผิดพลาดนั้น

ซึ่งลูกลูกเองต้องการแค่คนที่เป็นกำลังใจให้เขา เข้าใจเขา ฟังเขาและที่สำคัญคือ ‘เชื่อมั่น’ ในตัวเขา

เสียดายที่ไม่สามารถจัดกระบวนการให้ผู้ปกครองได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากกว่านี้

ทั้งเอกสารมากมาย และเกรงใจคณะกรรมการท่านอื่น

คงอาจจะไม่ใช่ทุกคนที่อินกับผมด้วย

แต่ได้เห็นเพื่อนครูหลายหลายคนได้นำแนวคิดของผมในการประชุมผู้ปกครองไปปรับใช้

Romklao Changnoi Matthew Favour HoneyHoneymoon Peung

เห็นแล้วมันหัวใจพองโตเสียเหลือเกิน

และแล้วก็ยังประสบปัญหาในการเลือกตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองของห้อง

ด้วยความที่ผู้ปกครองยังไม่รู้จักกันดี และต่างคนต่างกลัวภาระที่ต้องรับผิดชอบ

ถึงแม้ว่าผมจะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นผู้แทนห้องในการไปดูแลผลประโยชน์ ไปร่วมตัดสินใจเพื่อเพื่อนผู้ปกครองและบุตรหลานของทุกท่าน ผมถามว่าท่านรู้หรือไม่ว่าค่าบำรุงสมาคมผู้ปกครองที่จ่ายทุกปีนั้นนำไปทำอะไรบ้าง?

แทบจะไม่เคยมีใครตั้งคำถามและอยากจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการบริหารของโรงเรียน 

ทั้งที่เบื้องต้นตอนแรกก็ยังมีข้อคิดเห็นให้หลายอย่าง

บ้างก็บอกว่าเป็นภาระที่หนักจนเกินไป ไม่อยากจะแบกรับ ไม่มีเวลา กลัวทำได้ไม่เต็มที่

สุดท้ายหรือผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็อยากที่จะก้มหน้าก้มตาทำงานหาเงินมาจ่ายค่าเทอมและส่งลูกจนเรียนจบก็เพียงเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการเป็นพลเมืองทั้งสามระดับ

ทำอย่างไรที่จะสร้างพลเมืองที่ตื่นตัว 

มองในอีกแง่หนึ่งผู้ปกครองคงยังไม่เชื่อมั่นในโครงสร้างบางอย่าง และไม่เชื่อมั่นว่าตนเองจะมีอำนาจในการต่อรองหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้

ผมจะต่อสู้ไปเรื่อยเรื่อย

จะต่อสู้ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงพลังของตนเอง

เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสิ่งที่ดีกว่าเดิม

สร้างการศึกษาเพื่อทุกคน สร้างการศึกษาที่เท่าเทียม

ว่าแล้วก็ก้มหน้าก้มตาเก็บเงินนับส่งการเงินโรงเรียนต่อไป


by Fb: ธนวรรธน์ สุวรรณปาล


ไอเดียอื่นๆ

>>>https://inskru.com/idea/-Lfim_MjoSn0OxpjSQgB



แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(36)
เก็บไว้อ่าน
(14)