icon
giftClose
profile

การ์ดข้ามวัฒนธรรม

157546
ภาพประกอบไอเดีย การ์ดข้ามวัฒนธรรม

การ์ดแคงข้ามวัฒนธรรม (The Cross-Culture Card) เป็นเกมการ์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อสอนผู้เรียนในเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ศาสนา เเละวัฒนธรรม ช้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในเนื้อหา เรื่อง อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติต่อสังคมไทย ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์การเข้ามาของวัฒนธรรม



การ์ดแคงข้ามวัฒนธรรม (The Cross-Culture Card) เป็นเกมการ์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อสอนผู้เรียนในเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ศาสนา เเละวัฒนธรรม ช้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในเนื้อหา เรื่อง อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติต่อสังคมไทย ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์การเข้ามาของวัฒนธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับต่างประเทศ เพราะสังคมไทยนั้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้รับวัฒนธรรมมาจากหลายกลุ่มชน เช่น จีน อินเดีย กัมพูชา เมียนมาร์ มอญ และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งวัฒนธรรมในเเต่ละกลุ่มชนบางอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมกระเเสหลักในสังคม บางอย่างเป็นวัฒนธรรมกระแสรอง ดังนั้นเเล้วความเข้าใจความหลากหลายดังกล่าวจึงความสำคัญต่อการเข้าใจความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆของเเต่ละชนชาติอีกด้วย ซึ่งทักษะนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เรียกว่า ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural Understanding)

กติกาการเล่น

๑) อธิบายชุดการ์ดจะมีอยู่ ๒ ชุด ได้แก่ การ์ดธงชาติเเต่ละประเทศ เเละการ์ดวัฒนธรรม ชุดการ์ดธงชาติ คือ โจทย์ในเเต่ละรอบ เเละชุดการ์ดวัฒนธรรม คือ คำตอบของเเต่ละรอบ 

๒) กระบวนกรจะสับการ์ดวัฒนธรรม เเล้วแจกคนละ ๖ แผ่น (เเล้วแต่ความเหมาะสม) จากนั้นจะสับการ์ดธงชาติ เพื่อการทำสุ่มประเทศขึ้นมาเพื่อเล่นเกมในเเต่ละรอบ 

๓) กระบวนการจะทำการสุ่มเลือกการ์ดธงชาติขึ้นมารอบละ ๑ แผ่น เเล้วให้สมาชิกในวงวางการ์ดที่อยู่หมวดหมู่เดียวกัน เช่น กระบวนกรเลือกได้การ์ดประเทศญี่ปุ่น เเต่ละคนก็จะต้องวางการ์ดวัฒนธรรมญี่ปุ่น เช่น การ์ดซูซิ การ์ดชาเขียว เเละการ์ดวง J-Pop เป็นต้น พร้อมอธิบายว่า "เคยเห็นที่ไหน หรือ เคยกินที่ไหน" ไปทีละคน จากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้ เเต่ควรจะสลับกัน เพื่อความยุติธรรมในการเวียน การ์ดใครทีหมดก่อนคนนั้นชนะ

๔) กระบวนกรจะชวนเล่นแบบนี้ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผู้ชนะ คือ คนที่หมดการ์ดในมือ ถือเป็นผู้ชนะในเกมนั้นๆ

สะท้อนผลหลังจัดกิจกรรม

เกมการ์ดนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเกมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา เเละเป็นการสร้างความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานปี ๒๕๕๑ โดยสะท้อนผล ดังนี้ 

๑) สอนผ่านจอเด็กไม่สนใจเท่าสอนผ่านเกม เเม้ครูจะมีกิจกรรมสันทนาการคั่นระหว่างการสอน เเต่เมื่อติดจอ เด็กก็พร้อมจะออกจากบทเรียนทุกครั้ง แต่เมื่อเขาได้เล่นเกม เขาจะได้เล่นไปด้วย เรียนไปด้วยซึ่งมันจะไม่แยกขาดออกจากกัน อาจเรียกได้ว่า "เป็นเกมเพื่อการเรียนรู้" ซึ่งตัวของผมเองคุ้นชินแต่กับเกมเพื่อความสนุก พอมาทดลองสอนจริงๆจึงรู้ว่า "เกมเพื่อความสนุกพลังมันไม่เพียงพอ ต่อการเอาเด็กให้อยู่" เพราะการเล่นมันแยกขาดออกจากการเรียนรู้ เเต่เมื่อเรามาออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ จึงรู้ว่า "เด็กไปเรียนแบบไม่รู้ตัว" เล่นไปด้วย จดจำข้อมูลไปด้วย จากการสอบถามเด็กจะสะท้อนว่าไม่รู้สึกเบื่อเลย ยิ่งทำให้กระบวนกรอย่างผมมั่นใจเเล้วว่ามาถูกทาง 

๒) เกมจำเป็นต้องมีเงื่อนไขเยอะ การสอนในครั้งนี้เปลี่ยนทัศนคติของผมไปเยอะมาก แต่ก่อนมองว่าเกมมันต้องมีเงื่อนไขเยอะถึงจะสนุก จริงๆเเล้วไม่น่าจะใช่ เพราะเกมนี้เงื่อนไขน้อยมากแต่ทำให้เด็กสนุกได้ เเสดงว่าเกมเพื่อการเรียนรู้ที่สนุกไม่เป็นจำต้องมีเงื่อนไขเยอะหรือยาก เเต่เป็นเกมง่ายๆที่สามารถเข้าใจได้ง่ายเเละทำให้นักเรียนได้แข่งขันกัน ไม่ว่าจะเป็นทีมหรือเดี่ยว ก็สามารถทำได้หมด ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกประสบการณ์ยังน้อย ต้องทดลองทำบอร์ดเกมอีกเรื่อยๆ ครับ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: เกมการ์ดแคงข้ามวัฒนธรรม.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 931 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(88)
เก็บไว้อ่าน
(22)