เกมนี้จำลองการที่เราเลือกหรือไม่เลือกทิ้งร่องรอยในอินเทอร์เน็ต (Digital Footprint)
ซึ่งออกแบบมาโดยไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเล่น
ไม่ใช้อุปกรณ์อื่นใด ใช้แค่ตัวเปล่า ๆ
เกมนี้ ถ้าชวนนักเรียนหลาย ๆ ห้องที่ไม่รู้จักกันมาเล่นร่วมกันจะยิ่งเพิ่มประสบการณ์เหมือนจริงมากขึ้น
ให้นักเรียนแต่ละคนยืนขึ้น
แล้วชูมือข้างใดข้างหนึ่ง ชู 5 นิ้ว เหมือนมี 5 ชีวิต
จากนั้นเดินไปจับคู่กับเพื่อน 1 คน
บอกนักเรียนว่า ครูจะขึ้นคำถามบนจอ ให้เราถามคู่ของเรา
เมื่อถูกถาม ก็ให้นักเรียนเลือกว่าจะตอบหรือไม่ตอบ
ถ้าตอบ ไม่ต้องหักนิ้วตัวเองลง ไม่ต้องหักชีวิต
ถ้าเลือกไม่ตอบ ให้หักนิ้วลง 1 นิ้วต่อ 1 รอบ
ใครที่เล่นไปเรื่อย ๆ แล้วชีวิตเหลือ 0 ให้มานั่งรอข้างหน้า
คนที่ไม่มีคู่ก็ให้หาคู่ใหม่ หรือจับกลุ่ม 3 คนก็ได้
เมื่อนักเรียนเข้าใจกติกา ก็ให้เริ่มโชว์คำถามทีละข้อ เช่น
ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว สามารถโหลดจากไฟล์ได้เลย
ระหว่างเล่น คุณครูอาจจะบอกให้เปลี่ยนคู่ เพื่อความสนุกก็ได้
เมื่อเล่นครบ 10 ข้อแล้ว
ก็แจกรางวัลให้
การแจกรางวัลมี 2 กรณี
กรณีที่ 1
แจกให้คนที่เหลือ 5 ชีวิต ซึ่งคือคนที่ยอมบอกข้อมูลส่วนตัวทุกข้อ
เป็นการจำลองภาพว่า เหมือนเรายอมบอกข้อมูลให้เว็บไซต์ต่าง ๆ หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อรับของรางวัล หรือใช้บริการจากเขา เช่น บาง Social Media ซึ่งเขาอาจนำข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ต่อ
กรณีที่ 2
แจกให้คนที่เหลือ 0 ชีวิต
เป็นการทำให้นักเรียนรู้ว่าการปกป้องข้อมูลส่วนตัวคือเรื่องที่ควรทำ
คุณครูสามารถเลือกแจกรางวัลได้ตามเจตนาและงบประมาณได้เลย 555
เมื่อเล่นเสร็จก็สอนเรื่อง Privacy and Security ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกอินเทอร์เน็ต
ความปลอดภัย เหมือนเราล็อคประตูบ้าน ป้องกันไม่ให้คนเข้ามาทำมิดีมิร้ายเรา
ความเป็นส่วนตัว เหมือนผ้าม่าน ที่เราเลือกได้ว่าจะเปิดให้คนเห็นห้องเรา ข้อมูลของเราแค่ไหน
การที่เราเลือกบอกข้อมูล ทิ้งร่องรอย หรือ Digital Footprint นั้นมี 2 แบบ
1. Active Digital Footprint เราเป็นคนทำเอง ไม่ว่าจะโพสต์, Check in, หรือกด Like อะไร
2. Passive Digital Footprint คือร่องรอยที่เราไม่ได้ตั้งใจบันทึกไว้ เช่น เปิด GPS ไว้, ประวัติการค้นหาข้อมูล, IP Address ของเรา
แล้วเกม Five Fingers Up เมื่อกี้ บางคนเลือกเองที่จะบอกเพื่อน
หากเราคิดว่าเขารู้ข้อมูลแค่นั้นแล้วเอาไปทำอะไรไม่ได้หรอก
แท้จริงแล้วบางอย่างสามารถเอาไป Hack ได้ เช่น
เพื่อนรู้รหัสเฟซบุ๊ก แต่เราคิดว่าเพื่อนไม่รู้อีเมล ไม่เป็นไรหรอก
จริง ๆ หากเพื่อนรู้ชื่อจริงของเรา อาจหา Facebook เราเจอ
แล้วนำ url ของเราไปใช้แทนอีเมลได้
เช่น
เราบอกรหัสผ่านว่า a89y44
เพื่อนรู้ชื่อ Facebook เรา และรู้ว่าเราใช้ www.facebook.com/aayyyy
เพื่อนก็เอา url หลังเครื่องหมาย / คือ aayyyy ไปใช้แทนอีเมลเพื่อ log in ได้
หรือบางคนบอกเบอร์โทร แล้วรหัสผ่านก็ตั้งเป็นเบอร์โทรไว้
เพื่อนก็สามารถใช้เบอร์โทรนั้นใส่ทั้งช่อง อีเมลและหรัสผ่านได้เลย
ดังนั้นนักเรียนคนไหนที่บอกรหัสเพื่อนไปตอนเล่นเกม ก็ควรไปเปลี่ยนรหัสผ่าน
การตั้งรหัสผ่านที่ดีมีสอดแทรกอยู่ในไฟล์ คุณครูสามารถโหลดไปสอนเด็ก ๆ ได้
คุณครูสามารถหาข้อมูลไปสอนเด็ก ๆ ได้จากสื่อการสอน
www.safeinternetforkid.com
ซึ่งเป็นโครงการที่ dtac ร่วมกับ insKru ส่งเสริม Digital Literacy ทักษะในศตวรรษที่ 21 แก่นักเรียนไทย
#dtacSafeInternet #SafeInternetForKid
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย