icon
giftClose
profile

ครูพร้อม เทคนิคการจัดการชั้นเรียน ไม่ต้องพูดเงียบ

15142616
ภาพประกอบไอเดีย ครูพร้อม เทคนิคการจัดการชั้นเรียน ไม่ต้องพูดเงียบ

ทำยังไงให้เด็กเงียบและฟังอย่างสันติ


The classic ที่คุณครูทุกสำนักใช้บ่อยๆ สำหรับการทำให้นักเรียนในห้องที่คุยกันจอเเจเงียบลง คงจะหนีไม่พ้น “ตบมือ 1 ครั้ง ตบมือ 2 ครั้ง” เเละถ้ายังไม่เงียบอีกก็ต้องตามด้วย “ตบมือ 3 ครั้ง”


เเต่วันนี้เราจะมานำเสนอเทคนิคเพิ่มเติมต่อยอดจากของเดิมกัน !


นอกจากเราจะสั่งการให้เด็กๆ ตบมือตามจำนวนที่ต้องการได้เเล้ว การออกคำสั่งอื่นๆ ในจังหวะที่เร็วขึ้น ก็สนุกเเละทำให้เด็กๆมีสมาธิเพิ่มขึ้นไม่เเพ้กัน เช่น

- ชี้ไปที่คนที่พูดคุยอยู่

- จับไหล่คนข้างๆ

- ชี้ไปที่หน้าต่าง

- จับจมูก

- เอามือปิดปาก


เเละด้วยจังหวะที่เร็วขึ้นนี้

ผู้ทำตามจะมีความรู้สึกเหมือนว่ากำลังเล่นเกมอยู่

เพราะต้องเงียบ เเละมีสมาธิตั้งใจฟังผู้ให้คำสั่งเพื่อมีส่วนร่วมกับการเล่น เเถมเด็กๆยังได้รับความสนุกสนานจากการสังเกตผู้เล่นคนอื่นว่าทำตามทันไหมอีกด้วย


เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้เด็กๆ ปรับมาอยู่ในโหมดของการโฟกัสเเละมีสมาธิได้เเล้วค่ะ

เทคนิคต่อมาคือการใช้ "ภาษามือ"


ทุกท่านสามารถคิดท่าเเปลกๆ ใหม่ๆ เพื่อสื่อสารกับเด็กๆ ให้เงียบเเละตั้งใจฟังทุกท่านตามเเต่ใจต้องการเลยค่ะ


เเต่สำหรับตัวอย่างที่ง่ายที่สุด คือ การกำมือเเล้วชูขึ้นสูงๆ ให้ทุกคนเห็น เพื่อส่งสัญญาณว่าถึงเวลาต้องเงียบเเล้วล่ะ!


เราสามารถทำให้ effect เกิดเร็วขึ้นได้จากการทำให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการเตือนสติเพื่อนที่เม้าท์อยู่ให้เงียบลงเเละหันมาหน้าห้องได้ โดยให้เด็กๆ ชูกำปั้นขึ้นตามคุณครูที่อยู่หน้าห้องด้วย เพราะเด็กๆ บางคนอาจไม่ทันเห็นคุณครูที่กำลังชูกำปั้นส่งสัญญาณอยู่หน้าห้อง เเต่การที่เพื่อนๆ รอบๆ ตัวเริ่มชูกำปั้นขึ้น พวกเขาจะต้องสังเกตเห็นอย่างเเน่นอน!

เครื่องมือที่น่าสนใจสำหรับคุณครูหลายๆ ท่านที่อยากนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้ห้องเรียนเงียบขึ้นมีเยอะเเยะมากมาย


เเต่วันนี้พวกเราขอนำเสนอ 3 เครื่องมือคุณครูสามารถเข้าใช้ได้ฟรี!


เเอพพลิเคชั่นเหล่านี้ หลักๆ จะช่วยฟังระดับของเสียงในห้อง เเละส่งสัญญานให้เด็กๆ รับรู้ว่าต้องเงียบ หรือลดระดับเสียงลงได้เเล้วในรูปเเบบต่างๆกันไป


1. TooNoisy ช่วยให้เด็กๆเห็นภาพว่าเสียงของตัวเองดังเเค่ไหนเเละต้องควบคุมระดับเสียงให้อยู่ในระดับเท่าไหร่ จากการดูมิเตอร์ควบคุมเสียง ซึ่งถ้าเสียงดังไปท้องฟ้าเป็นสีเเดงเเทนที่จะเป็นสีฟ้าสดใส


2. Bouncy balls เป็น Browser app ที่หากเด็กเสียงๆ ดังเกินไป ลูกบอลจะกระโดดขึ้นสูง หากเกินลิมิตจะมีตัวอักษรขึ้นที่จอว่าเสียงดังเกินไปเเล้ว ซึ่งฟังก์ชั่นเหล่านี้สามารถเลือกปรับเปลี่ยนรูปเเบบได้


3. Classcraft Volume Meter

คุณครูสามารถตั้งค่า MAX ของเสียงได้ ซึ่งจะปรากฎอยู่บนเเถบของเสียงด้วย เด็กๆจะเห็นเเบบ real-time เลยว่า เสียงที่ก่อใกล้ถึงจุด MAX เเค่ไหนเเล้ว หากสามารถคุมเสียงให้อยู่ลิมิตที่กำหนดได้ เเอพจะขึ้นว่าเด็กๆได้ ‘Treasure’ ตามธีมของเเอพ


คุณครูทุกท่านลองนำเครื่องมือเหล่านี้ไปปรับใช้กันนะคะ

การให้รางวัลเเละลงโทษเป็นกลุ่ม เป็นอีกวิธีที่ทำให้ทุกคนอยากให้ความร่วมมือมากขึ้น เพราะทุกคนรู้สึกว่าตนเองมีส่วนรับผิดชอบกับความสำเร็จของส่วนรวม เเละหากตัวเองเป็นคนทำเสียงดัง เพื่อนๆ ก็จะต้องถูกหักคะเเนนหรือถูกลงโทษไปด้วย


ถ้าเด็กๆ สามารถเงียบเเละตั้งใจฟังได้ คุณครูอาจจะให้รางวัลหรือเเต้มสะสมกลุ่มเเก่นักเรียนทั้งห้อง (หรือเเบ่งเป็นกลุ่มเพื่อเเข่งกันก็ได้) ในขณะเดียวกันหากห้องยังไม่เงียบหรือมีบางคนยังไม่หยุดพูด เด็กๆ ก็จะโดนลงโทษโดยการถูกตัดคะเเนนเเต้มสะสมกลุ่มนั้น


ตัวอย่าง

- ด.ช. ก พูดคุยเสียงดังเเละไม่ยอมหยุด เเม้ว่าเพื่อนๆ จะหยุดพูดหมดเเล้ว เเต้มที่กลุ่มสะสมไว้เพื่อได้ของรางวัลก็จะหายไป 1 คะเเนน

- ถ้าทุกคนเงียบเเละตั้งใจฟัง เด็กๆก็จะได้คะเเนนเพิ่มเพื่อสะสมให้ถึงเป้า คุณครูสามารถเพิ่มลูกเล่นให้กับเกมส์นี้ให้สนุกมากยิ่งขึ้นได้อีก

- ผสมผสานกับการนับถอยหลัง เช่น หากเงียบได้ภายใน 10 วินาที ได้รับ 1 คะเเนน เเต่หากเงียบได้ภายใน 5 วิ ได้รับ 2 คะเเนน

Call and response คือการพูดอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำถาม คำผวน หรือประโยคอะไรก็ได้ เพื่อให้เด็กๆ ตอบหรือสื่อสารกลับมา ซึ่งคุณครูจะต้องตกลงกับเด็กๆ ก่อนว่าถ้าพูดสิ่งนี้เเล้วเด็กๆจะต้องกลับมาว่าอะไร โดยคุณครูอาจเพิ่มลูกเล่นการใช้ท่าทางไปพร้อมกับการพูดด้วยก็ได้


ตัวอย่าง

การใช้คำสั้นๆ ต่อกัน เช่น

คุณครู “ หนึ่ง สอง”

นักเรียน “ สาม สี่”

คุณครู “ตา”

นักเรียน “ดู”

คุณครู “หู”

นักเรียน “ฟัง”

คุณครู “ปาก”

นักเรียน “ปิด”


การใช้คำผวน

เช่น คุณครู “สวีดัด”

นักเรียน “สวัสดี”


การใช้คำถามเเละคำตอบ

คุณครู “คนเงียบคือคนอะไร?”

นักเรียน “คนเงียบคือคนน่ารัก”


คุณครูอาจเพิ่มลูกเล่น กฏกติกาเพิ่มเติม โดยการพูดเบาลงเรื่อยๆ ในเเต่ละครั้งที่ถาม เพื่อให้เด็กๆ ตอบเบาลงเท่ากับระดับเสียงของคุณครู เเละตั้งใจฟังมากขึ้นเพื่อจะได้รู้ว่าคุณครูพูดในความดังระดับไหนอยู่


การใช้คำเเละความหมายของคำนั้นๆ เช่น

คุณครู “สยาม” นักเรียน “เมืองยิ้ม”


ซึ่งคุณครูอาจให้เด็กๆ เป็นผู้คิดคำที่อยากให้ใช้ขึ้นมาเเล้วเวียนกันใช้ไปเเต่สัปดาห์ หรือหยิบมาจากเนื้อหาที่เรียนอยู่ เช่นคุณครู “อริสโตเติ้ล”

นักเรียน “นักปราชญ์ชาวกรีก” หรือ

คุณครู “พื้นที่วงกลม”

นักเรียน “พายอาร์กำลังสองงงง”


เป็นต้น

คำพูดเชิงบวก

“ขอบคุณกลุ่มนี้มากเลยที่เงียบให้ครูแล้ว

ครูจะรออีกกลุ่มนึงนะ”

“ครูดีใจมากเลยที่กลุ่มนี้ตั้งใจฟังครูแล้ว”

“ขอบคุณทุกคนที่พร้อมจะเรียนรู้ด้วยกัน”


คำพูดบอกสถานการณ์และความต้องการของเราอย่างชัดเจน

“ตอนนี้เงียบลง 50% แล้วครูจะรอให้เหลือซัก 10% แล้วครูจะเริ่มสอนน้า”

“ตอนนี้ระดับเสียงในห้องอยู่ที่ระดับ 5 ครูจะรอจนกว่าเสียงในห้องจะอยู่ในระดับ 1 น้า”


สิ่งที่สำคัญคือ ใจเย็นๆ อดทนรอซักครู่ นักเรียนจะค่อยๆ รู้ตัวเอง


...

แต่สิ่งสำคัญ ครูต้องกล้าที่จะลอง

และเชื่อว่าถ้ามันไม่เวิร์ค ลองทำอันอื่นดู

หรือปรับให้มันคล้องกับห้องเรียนเราให้ได้

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(335)
เก็บไว้อ่าน
(134)