icon
giftClose
profile
frame

ไม้เรียว สร้างคนได้จริงมั้ย

35890
ภาพประกอบไอเดีย ไม้เรียว สร้างคนได้จริงมั้ย

มาไขคำตอบกัน


กลไกการทำงานของเจ้า ‘ไม้เรียว’ นั้น

คือการสร้างความกลัวขึ้น เพื่อให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

.

ทำให้ครูหลายท่านเข้าใจว่า การตีสามารถสร้างเด็กให้เป็นคนดีได้

.

แต่จริงๆแล้ววิธีนี้เป็นการ

“สร้างคนดีในระยะสั้น”

เพราะในวันที่ไม่มีไม้เรียว หรือครูอยู่ตรงนั้นแล้ว

ก็มีโอกาสที่เด็กจะกลับมาทำพฤติกรรมเดิมหรือ

หนักกว่าเดิมในที่อื่นๆ

“การตี คือ การลดทอนความเป็นมนุษย์

.

เพราะทุกครั้งที่ตี คือเรากำลังสื่อสารว่า

"เขาไม่มีความสามารถมากพอที่จะควบคุมพฤติกรรมของเขาได้”

.

สิ่งที่พี่สมิธบอกกับเรานี้ สะท้อนให้เห็นว่า

"การใช้ไม้เรียว ทำให้อำนาจการตัดสินถูกผิดขึ้นอยู่กับครู"

.

ฉะนั้น การที่เด็กๆ ยอมทำตามหรือเชื่อฟังนั้น จะอยู่ภายใต้เงื่อนไข

“เด็กจะไม่ทำผิด ถ้าครูมีไม้เรียวอยู่ในมือ”

.

แต่สิ่งที่ควรจะเป็นคือ

“เด็กจะไม่ทำผิด เพราะเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ”

.

ทำให้เมื่อโตขึ้นเขาก็จะคิดว่า

"เขาสามารถไม่สวมหมวกกันน็อคได้ ถ้าเขาไม่เจอตำรวจ "

"โกงกินประเทศชาติได้ ถ้าไม่โดนจับ"

หรือสามารถไปทำความผิดอะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่มีใครเห็น

.

นอกจากนี้ การใช้ไม้เรียวทำให้เขารู้สึกว่า

‘เขาได้ชดใช้ความผิด ผ่านการลงโทษไปแล้ว’

.

ดังนั้น เมื่อใดที่ถูกตี เขาจะรู้สึกว่า

"ไม่ต้องแก้ไขอะไรแล้วก็ได้"

.

แต่ถ้าถูกฝึกคิด เขาจะรู้ว่าพฤติกรรมนั้นยังไม่ถูกแก้ไข และเขาจะต้องแก้ไขมันหลังจากนี้ให้ได้

.

ฉะนั้นกลไกการทำงานของ "การตี" กับ "การฝึกคิด"

นั้นจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

การลงโทษด้วยไม้เรียวในช่วงวัยรุ่น

.

ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากสังคมค่อนข้างสูง ทำให้ผลที่ตามมาคือ

.

ทุกครั้งที่เขาถูกตีต่อหน้าเพื่อน

จะเป็นการตอกย้ำให้เขารู้สึกอับอาย

.

แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือ

.

วันไหนที่เขาเคยชินกับการถูกตี

จนไม่รู้สึกอายอีกต่อไป

.

ความผิดจะกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับเขา

แนวโน้มของพฤติกรรมในระยะต่อไป

จึงเป็นการทำอะไรก็ได้

โดยไม่ต้องสนใจว่าถูกหรือผิด

.

พี่สมิธพูดถึงผลกระทบของการใช้ไม้เรียวว่า

.

“การถูกตีบ่อยๆ" จนเพื่อนตั้งฉายาให้เขาว่า

"เขาเป็นคนไม่โอเค"

.

เมื่อเกิดกลุ่มแก๊งของคนที่ไม่โอเคมารวมตัวกัน โรงเรียนก็จะสร้างมาตรการที่รุนแรงกับเขา

.

จนเด็กๆ ไม่สามารถอยู่ในโรงเรียนได้อย่างสบายใจ และมองว่าไม่ใช่ที่ปลอดภัยสำหรับเขา

.

หลังจากนั้นสังคมก็จะได้รับผลกระทบ จากพฤติกรรมที่เขามาแสดงออกข้างนอกแทน

.

ซึ่งในขณะนั้น เขาอาจจะไปเจอหลุมดำบางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถก้าวขึ้นมาอีกเลยก็ได้

ความเจ็บทางร่ายกายเกิดขึ้น ส่งผลต่อความกลัว แต่จะไม่ส่งผลต่อการเป็นคนที่ดีขึ้น

.

เพราะสิ่งที่จะส่งผลต่อการเป็นคนที่ดีขึ้นนั้นคือ ‘การคิด’

.

ซึ่งในทางหนึ่ง เขาอาจจะมีประสบการณ์ในชีวิตมากขึ้น แล้วมาตกผลึกเอง

.

ส่วนอีกทางหนึ่ง คือ เขาอยู่ในพื้นที่ที่ถูกจัดสภาพแวดล้อมให้มีกระบวนการคิดร่วมกัน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะเขาไม่ต้องตกตะกอนจากประสบการณ์ในชีวิตที่ผิดพลาดเพิ่มขึ้น

.

ดังนั้น เราควรสร้างพื้นที่ของการคิดล่วงหน้าให้กับเด็ก คือการเปิดพื้นที่ให้เขาได้คิด วิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ของสังคมอย่างสม่ำเสมอ แล้วถอดรหัสจากการวิพากษ์วิจารณ์นั้น ออกมาเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

.

เช่น ถ้ามีพฤติกรรม A แล้ว อาจส่งผลต่อใคร อะไร อย่างไรบ้าง ช่วยให้เด็กๆ มองเห็นว่าแต่ละการกระทำนั้นเชื่อมโยงและส่งผลต่อกันอย่างไร รวมทั้งฝึกให้เขาได้ตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำพฤติกรรมใดๆ ก็ตามออกมา ซึ่งจะช่วยให้ครูไม่ต้องเหนื่อยกับการแก้ปัญหาในภายหลัง

.

.

เมื่อเราได้คำตอบของประเด็นนี้แล้ว คำถามต่อจาก

“ไม้เรียวสร้างคนได้จริงหรือไม่”

ก็จะกลายเป็น

“เราจะสร้างเด็กให้มีพฤติกรรมเชิงบวกอย่างไร โดยไม่ใช้ไม่เรียว”

ซึ่งเป็นโจทย์ที่ไม่ได้มีวิธีแก้ไขตายตัว แต่ทั้งคุณครู คณะศึกษาศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันคิดและหาทางออกร่วมกัน


-----------------------------------------

สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>

🎈ถ้าไม่ทำโทษทำอะไรได้บ้าง

https://inskru.com/idea/-LoBS1np3x26GjzN9U6s

🎈การ์ดชวนเด็กตกตะกอน

https://inskru.com/idea/-LmnVN6r5CUmGZqBSgE8

-----------------------------------------

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(7)
เก็บไว้อ่าน
(3)