icon
giftClose
profile

การศึกษาเพื่อความคิดสร้างสรรค์โฟกัสไปที่ “ความสุข”

14480
ภาพประกอบไอเดีย การศึกษาเพื่อความคิดสร้างสรรค์โฟกัสไปที่ “ความสุข”

หนังสือเล่มหนาที่ให้แนวทางในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร การศึกษา ที่เป็นแนวทางให้กับครูและพ่อแม่ที่จะก้าวเดินต่อ ไปให้ช้าแต่มีความหมาย

การศึกษาเพื่อความคิดสร้างสรรค์โฟกัสไปที่ “ความสุข”


“หากประตูโรงเรียนปิด ประตูคุกจะเปิด” ป้ามล ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก


ครู...ได้รับมอบหมายให้ควบคุมนักเรียนให้อยู่หมัด สอนให้ครบตามหลักสูตรแกนกลาง

- ผลลัพธ์ - มีเด็กบางคนถูกทอดทิ้งและไปทำสิ่งที่ไม่ดี จนต้องไปอยู่ที่เรือนจำ

เด็กเรียนไปงั้นๆ เบื่อหน่ายไม่สนใจ เกิดความวิตกกังวลและความกดดัน


การสอนแบบที่คืนสู่สามัญยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน

“การศึกษาควรช่วยให้เยาวชนเกิดความรู้สึกยึดโยงทั้งต่อโลกภายในตนเองและโลกที่อยู่รอบตัวพวกเขา” (p.107)

Free to Learn, Plean to play เด็กๆถูกสร้างให้ใช้วิธีการเล่นในการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบๆตัว

แต่การศึกษากลับจัดให้เด็กนั่งอยู่กับที่ห่างกัน ไม่ให้คุยกัน ตั้งใจเรียนและมองคุณครู ให้คิดเหมือนกัน ให้เขียนเหมือนกัน

แล้วก็บอกว่านักเรียนไม่มีความคิดสร้างสรรค์ จริงๆโรงเรียนต่างหากที่ทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก 

เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เล็ก หากโรงเรียนสนับสนุนสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้ เติมในสิ่งที่เป็นวิชาการ

เพื่อให้เด็กเรียนรู้ ช่วยกันสังเกตว่าเมื่อไหร่ที่เด็กเรียนรู้ และอะไรที่ทำได้ดี เชื่อว่าเด็กเกิดมาพร้อมความอยากรู้อยากเห็น และต่อยอดในสิ่งที่เขาอยากรู้


“ไม่ใช่ทุกสิ่งที่สำคัญจะวัดได้ ไม่ใช่ทุกสิ่งที่วัดได้จะสำคัญ” Elliot Eisner


เราสามารถเพิ่มคุณค่าของการประเมินผลโดยการใช้เครื่องมือหลากหลาย การประเมินที่ใช้เกรดเป็นตัวตัดสินอาจทำให้เด็กเกิดความกดดันและเครียดตามมา

ก่อนอื่นเราต้องชัดเจนว่าต้องการให้เด็กได้รับอะไร การศึกษาที่มองเห็นการมีส่วนร่วม ทำภารกิจให้สำเร็จ สร้างคุณค่าและเห็นคุณค่าในความเป็นตัวตนของตนเอง มองหาวัฒนธรรมความดีที่สืบทอดนั้น อาจทำให้การศึกษาพัฒนาขึ้น


การศึกษาต้องใช้ทุกวิถีทางในการสื่อสารกับนักเรียน พ่อแม่ ชุมชนและสังคม อาจผ่านทางโครงการอย่าง Read Across America ชวนให้พ่อแม่อ่านหนังสือไปพร้อมกับลูก การจัดเวทีแนะแนวการศึกษาโดยมีพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นคนแนะนำแนะแนว แทนที่จะเป็นการส่งเสริมนักเรียนให้จัดผลงานนำเสนอผู้ปกครอง การสร้างสังคมแห่งความร่วมมือทั้งที่บ้านและโรงเรียน มีแนวนโยบายว่าให้มีความสามัคคีกัน ช่วยเหลือกัน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ผู้ปกครองท่านใดสามารถเข้ามาเป็นวิทยากรของโรงเรียนได้ และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมรักการอ่านกับลูกได้ ก็จะทำให้ลูกๆสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ตนเองและผู้อื่นที่ดียิ่งขึ้นด้วย


เปิดโอกาสให้เด็กๆทำงานกับตัวเอง (ได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา) กับ ชมงานคนอื่น (ทำความเข้าใจและรู้สึกซาบซึ้งกับผลงานที่คนอื่นสร้างขึ้น พัฒนาความสามารถด้านการวิพากษ์ ตัดสินคุณค่า) การสอนแบบนี้ฝึกการคิดสร้างสรรค์ ความรู้เชิงเทคนิค ความรู้เชิงบริบท และความสามารถในการวิพากษ์งาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับทุกสาขาวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์


คุณครูต้องสวมบทบาททั้งสี่ ได้แก่ จูงใจให้เรียน(engage) ดึงศักยภาพ(Enable) สร้างความคาดหวัง (Expect) ติดปีกให้ผู้เรียน (Empower) (p.177-178)

โดยปลูกฝังให้ 8 สิ่งนี้มีอะไรในหลักสูตร (บทที่ 6 ต้องสอนให้เด็กมี 8 สิ่ง)

1.     Curiosity ความสงสัยใคร่รู้

2.     Creativity ความคิดสร้างสรรค์

3.     Criticism การวิพากษ์ วิเคราะห์นำเสนอข้อโต้แย้งและการตัดสินที่มีเหตุผลรองรับได้

4.     Communication ให้อธิบายความคิดความรู้สึกอกมาได้อย่างชัดเจนและมั่นใจในหลายรูปแบบ

5.     Collaboration การร่วมมือกัน

6.     Compassion การเข้าใจผู้อื่นและตอบสนองได้อย่างเหมาะสม “การศึกษาควรช่วยบ่มเพาะให้เยาวชนเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว พร้อมจะมีส่วนร่วมในสังคม และเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น”

7.     Composure ความสงบสำรวจจิตใจ เชื่อมโยงกับชีวิตพัฒนาให้มีสมดุลในจิตใจตนเอง

8.     Citizenship การรู้หน้าที่พลเมือง ความสามารที่จะมีส่วนร่วมกับสังคมอย่างสร้างสรรค์



วิธีการเป็นทฤษฎี โรงเรียนมีบริบทเฉพาะตัว


ที่สำคัญ! ยึดที่ความสามารถของแต่ละคนเป็นหลัก อย่าเอาความคาดหวังของสังคมมากำหนดชีวิตเด็กคนหนึ่ง


เด็กบางคนอยากเป็นช่างตัดผมด้วยความภาคภูมิใจ และเป็นอาชีพที่เธอทำได้ดีและประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา แต่กลับถูกแรงดึงดูดของค่านิยมทางสังคมที่ ผอ. มาบั่นทอนกำลังใจและความรู้สึกภาคภูมิใจของเธอด้วยคำพูดที่แสดงว่าอาชีพ ช่างตัดผม เป็นอาชีพสำหรับคนที่ไม่ขยัน ทั้งๆที่เธอเป็นคนที่ขยันและมีความสามารถ หากแต่ในสายตาผู้ใหญ่อาชีพที่เธอเลือกเป็นอาชีพที่ใครก็ทำได้ (แน่นอนใครก็ตัดผมได้..แต่ช่างตัดผมที่ดีมีไม่กี่คนหรอก)


การปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ ควรปลูกฝังในทุกวิชา เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือทำ ตั้งคำถาม เสาะหาความรู้ แล้ววันหนึ่งเด็กๆจะคิดสร้างสรรค์เอง ซึ่งตัวขับเคลื่อนที่แท้จริงคือความกระหายที่จะค้นพบสิ่งใหม่และความหลงใหลในงานที่กำลังทำอยู่ ถ้านักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียน เขาก็จะพยายามฝึกฝนจนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับงานนั้น จนเชี่ยวชาญและชำนาญ สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นกับการเล่นฟุตบอลไปจนถึงการเรียนวิชาเคมี


การจัดการเรียนการสอน หรือตารางเรียน ควรจัดให้ตอบสนองการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของนักเรียนแต่ละคน (p.187)

ถ้าเราปล่อยให้คนได้เป็นอย่างที่เขาอยากเป็น ปล่อยให้เขาเลือกสิ่งต่างๆด้วยตนเอง ผลที่ได้จะหยั่งรากลึก คุณจะไม่มีวันได้ผลแบบนี้หากครูเอาแต่สอนอย่างเดียว ทำอะไรต้องทำให้สนุก ให้มีคุณภาพ ที่สำคัญคือต้องหาให้เจอว่าสิ่งใดคือสิ่งที่เด็กๆทำให้สนุกและอยากที่จะเรียนรู้ต่อ

เรื่องสนุกของแต่ละคนไม่เหมือนกัน สร้างแรงบันดาลใจ แนวคิดที่ท้าทาย การสังเกตแบบใกล้ชิด แล้ววันหนึ่งคุณจะรู้ว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างและสามารถสร้างสรรค์ประเทศไทยได้



เราก้าวเท้าเร็วไปไหม

Slow movement ขบวบการเนิบช้า ทำให้เรากลับมาคิดว่า เราทำอะไรเร็วไปไหม?

กลับมาลองทำอะไรช้าๆ คิดให้ดี ตัดสินให้เป็น สนทนาแลกเปลี่ยนควมคิดกัน แล้วคุณจะรู้ว่าทำอะไรช้าๆดีกว่าทำอะไรเร็วแต่ไม่ได้ประโยชน์อะไร

เด็กน้อยวัยสองขวบสามารถนับเลข 1-10 ได้ แต่ทว่าความเร็วของเธอทำให้เธอไม่รู้ความหมายของสิ่งที่นับ การนับเลขจึงเป็นเหมือนวิชาท่องอาขยานที่ไม่สามารถรอจังหวะการนับให้มีความหมายได้เลย ถ้าเราใช้หลัก Slow movement ขบวนการเนิบช้า ค่อยๆฝึก ค่อยๆนับ การนับแต่ละครั้งจะค่อยๆมีความหมายมากขึ้น บวกเลขลบเลขได้มากขึ้น ทำแบบค่อยๆไปอย่างมีความหมายในทุกๆก้าวที่เดิน



“หลักสูตรของคุณปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยหรือยัง”

คำถามนี้ดังเข้ามาในหูในแบบที่ก้องๆกังวาล เหมือนมีคนมากระซิบข้างๆผ่านจดหมายตามสายลม

การเรียนตามวิถีประชาธิปไตยแบบที่ควรจะเป็น พูดถึงเนื้อหาทั้งหมดของความเป็นประชาธิปไตย และรากเหง้าของความคิดจะทำให้ปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตยได้จริงหรือ?

หนังสือเล่มนี้ Creative school ขอเสนอ การเรียนที่ให้เด็กได้เลือกว่าจะเรียนอะไร รูปแบบไหน โดยยึดหลักประชาธิปไตย มีการประเมินผลเป็นรายคนไม่นำไปเทียบกับคนอื่น รวมทั้งไม่มีการทดสอบและออกเกรด ซึ่งขัดกับการเรียนรู้ประชาธิปไตยในปัจจุบันที่ต้องเข้าใจรากเหง้าความเป็นมา แต่ไม่เข้าใจบริบทและความหมายของประชาธิปไตยที่แท้จริง



--------------------------------------------

อ้างอิงจาก โรงเรียนบันดาลใจ Creative schools โดย Ken Robinson and Lou Aronica

เล่มนี้คือมหากาพย์แห่งการจัดการศึกษา เหมือนได้เพชรได้พลอยมาเป็นเครื่องประดับตน ประดับตัว การจะออกแบบหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง เป็นความท้าทายมากที่จะต้องทำให้ตอบโจทย์และพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้ดีที่สุด เป็นโรงเรียนต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์ (หลายโรงเรียนทำให้เด็กๆเกลียดการมาโรงเรียนและฆ่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก) การได้รับโจทย์ในการจัดการเรียนประวัติศาสตร์ พร้อมกับพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมในโลกนี้ โลกที่ไม่รู้ว่าเด็กๆจะไปทำอาชีพอะไร นี่คือแนวทางที่รู้สึกว่าใช่... สอนแบบเหมือนเล่นไปด้วย สอนแบบเปิดให้คิด กลับสู่สามัญ และทำทุกวันด้วยการสร้างหัวใจที่สร้างสรรค์


TED TALK https://www.ted.com/talks/sir_ken_robinson_do_schools_kill_creativity?language=en

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(4)
เก็บไว้อ่าน
(2)