icon
giftClose
profile

เมื่อถึงวันที่ฉันต้องจากไป

39256
ภาพประกอบไอเดีย เมื่อถึงวันที่ฉันต้องจากไป

พาเด็กเข้าใจเรื่องของชีวิตผ่านการจัดการความรู้สึกคิดก่อนที่ชีวิตต้องจากกันไป

คาบสุดท้ายของเทอมก่อนโควิทจะมาพรากเรากะนักเรียนให้ปิดเทอมยาวๆแบบนี้ เราได้แรงบันดาลใจจากเพื่อนเราที่ชื่อมะขวัญที่สอนห้องเรียนแห่งความสุขและว่าที่ประธานผู้รันวงการแนะแนวสืบต่อไปนั้น เล่าถึงซีนของการความสุขความทุกข์และจบลงด้วยการตาย.

.

.

ตายที่ตายหมดลมหายใจอ่ะ ตอนนั้นฟังแล้วเราก็ยังงงๆ ว่าทำไมและยังไง จนกระทั้งเราสูญเสียหลาน

.

.

เหมือนคนอ่านแฮร์รี่ คนตายรอบแฮรี่ตั้งเยอะ ทำไมแฮร์รี่เพิ่งมาเข้าใจตอนสูญเสียศาสตรจารย์ดับเบิ้ลดอร์

.

.

เราเริ่มบทด้วยชวนทุกคนดูสมุดแนะแนวว่าเราผ่านนอะไรกันมาบ้าง เอาจริงๆเราปูพื้นเด็ก free writing มาเกือบปี ใช้เทคนิค Think-pair-share และ กระบวนการนิทานให้เด็กหยิบตนเองมาเป็นเจ้าของเรื่องราวที่จะฟันฝ่าอุปสรรคนั้นๆ และมองนิทานของเพื่อนให้ออกว่าคุณค่าหลักหรือพลังภายในตัวละครหรือแก่นเรื่องคืออะไร ฝึกมองให้ทะลุมากกว่าแค่สรุปเรื่องราว เด็กก็จะ Self-talk และเข้าใจวิธีเรียนแนะแนวแบบนี้ที่ทุกคนมีคุณค่าและควรตอบแบบเป็นตนเอง ในฐานะคนนำแล้วเรียนรู้ไปพร้อมนักเรียน ทำแค่อ่านสมุดและรับรู้ความนึกคิดแต่ไม่ทำให้รู้สึกว่าว่าโลกมีแค่ขาวกับดำ ไม่ต้องยกปากกาแดงมาจรดสิ่งที่ดีและความถูกต้อง ขอแค่ให้เขามีพื้นที่ที่ได้เป็นเขา

.

.

ในคาบแนะแนวเรายกบทหนึ่งไปเล่าให้เด็กฟังเพื่อเปิดกิจกรรมนี้ ในตอนต้องไปตะล่อนทำลายฮอลครันซ์ บทหนึ่งที่แฮร์รี่ถามดับเบิ้ลดอร์ว่า ไม่กลัวความตายหรอ นึกหน้าศาสตรจารย์ดับเบิ้ลดอร์ขยับแว่นแล้วหันมามองแฮร์รีแล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่นิ่งเรียบว่า "สำหรับจิตใจที่จัดระเบียบดีแล้ว ความตายก็เป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งเท่านั้น" 

.

.

ซึ่งทวิตที่เราได้อ่านข้อความข้างบน มันพ่วงมากับเรื่องของแม่ที่ต้องประคองลูกเล็ก เด็กคนนี้ตรวจเป็นมะเร็งในเด็ก กว่าจะรักษาหายแล้วแต่ก็กลับมาเป็นใหม่ แต่น้องพยายามที่จะช่วยระดมทุนด้วยเงินเก็บของตนเอง 60บาทที่จะช่วยซื้อเครื่องที่จะช่วยรักษามะเร็งมูลค่าเป็นล้าน คุณแม่เองก็สามารถจัดสภาวะอารมณ์และความรู้สึกให้ผ่านอุปสรรคของความเจ็บป่วยในน้องและการสูญเสียในเวลาเดียวกัน

.

.

.

เหมือนคนที่ชอบฟังนักวิจารณ์หนังบอก กว่าคุณจะเข้าใจซีนๆหนึ่งคุณอาจจะต้องใช้เวลาและประสบกานณ์ เมื่อกลับมาดูหนังเรื่องเดิมด้วยความรู้สึกใหม่

.

.

เราก็เกริ่นแบบนี้ให้เด็กม.1 และม.2ฟัง แล้วให้เขาสำรวจเล่มแนะแนวของตนเอง และพูดถึงเป้าหมายการสร้างความสุข ใช้ความสุขนำชีวิต และไม่ลืมค้นหาความสุขที่แท้จริงและเรียนรู้การจัดการความทุกข์ในตนเองไปด้วย แต่ใครจะรู้ว่าเราเหลือเวลากันอีกสักเท่าไหร่

.

.

ซึ่งการที่คนเราจะมีความสุขที่แท้จริงคือการได้เข้าใจตนเองและรู้ถึงคุณค่าของตนเองและสิ่งรอบข้างด้วย การขอบคุณสิ่งเล็กๆและมองเห็นมันด้วยคุณค่าที่แท้จริง จะทำให้ความสุขจากความสัมพันธ์ระหว่างเราดีขึ้น อ้างอิงฟังจากพอตแคสนิ้วกลมนะ

.

.

เราเลยชวนเด็กกระโจนลงไปในบทบาทที่ว่า สมมติว่าเรากำลังตายภายใน10นาที ห้องนี้กำลังจะพังลงมา อากาศกำลังจะหมดลง อยากให้เขียนจดหมายถึงตนเองและคนรอบตัว ครึ่งหน้าบนเขียนขอบคุณ ขอโทษ ถึงตัวเองก่อน เพราะกว่าที่เราจะผ่านมาขนาดนี้ เรายังไม่มีเวลาได้พูกกับตนเองเลย ลองใช้คาบนี้คุยดู หากเขียนอิ่มแล้วค่อยเขียนถึงคนอื่นๆ ให้อิสระ ให้เขียนและเราก็จับเวลา เด็กบอก ถ้าจะตายจริง จดหมายนี้ก็ไม่เหลือหรอกครู อ่ะโถ่ งันเราก็บิ้วเพิ่ม ให้เขาอิน แอคติ้งต้องมา เล่นใหญ่เข้าไว้

.

.

 เขียนเสร็จ เดินก็ให้ไปจับคู่นั่งกับเพื่อนที่เราไว้ใจที่สุดจับมือกัน และมองตากันราวๆ30วิ ห้ามหลุดขำ มีสมาธิ แล้วให้คำสัญญาว่า เรื่องที่จะฟังมันหนักมากนะ เราต้องตั้งใจฟังและเพื่อนเขาเลือกเราแล้ว เราต้องดูแลเพื่อนให้เพื่อนมั่นใจในตัวเราเพราะเขาเลือกเราเป็นคนที่จะรับฟังเรื่องที่มีความหมายขนาดนี้ 

 .

.

เด็กได้รับฟังและแลกเปลี่ยนกันว่าได้ค้นพบอะไรในความรู้สึกนึกคิดของตนเองและของเพื่อน แล้วเขียนบันทึกมา

.

.

ถึงตรงนี้ ก็อยากฟังเด็กจัง ว่า เขาได้เอาวิธีไปใช้รับมือโควิทยังไงบ้าง หรือเขาอาจจะมีมุมมองอื่นก็ได้ละมั้ง

.

.

ครูแจงผู้มาก่อนกาลและโควิท

ปล.


1. โอ้ยยยยฉันอ่านแล้ว ไม่กล้าถามเรื่องตาย กลัวน้ำตา กลัวดราม่า อ่ะ...จากที่เราไปอบรมของสมาคมสะมาริตัน แล้วคำถามที่สำคัญมากเลย

.

.

ถ้าถามเรื่องคิดจะฆ่าตัวตายแล้วเขาจะไปทำ ประเด็นนี้เรายังเข้าใจกันผิดแม้ว่าเราเองเรียนจิตวิทยาก่อนหน้าเรายังไม่กล้าถาม แต่อาจารย์ที่เป็นวิทยากรท่านชี้ให้เห็นว่า การถามแบบนี้มันทำให้คนปกติ เขาก็ไม่ได้คิดเรื่องนี้เขาก็จะปฏิเสธ แต่สำหรับคนที่ความคิดเขาวนเวียนเรื่องนี้ เมื่อถูกถาม เขาก็จะพูดระบายทั้งความรู้สึกนึกคิดและแผนที่เขาตระเตรียมไว้

.

.

ในฐานะคนฟัง ต้องมีสติก็แค่ยอมรับและปล่อยวาง ไม่ต้องด่วนตัดสินหรือ รีบช่วยเสนอนู้นเสนอนี้ แค่รับฟังและตั้งคำถามที่จะช่วยสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของเขาออกมา ให้เขาได้ยอมรับตัวตนและความรู้สึกของเขาจากภาพที่มันกระจัดกระจายเป็นภาพที่ใหญ่ขึ้นและหลากมิติขึ้น


2. ความต่างระหว่างเด็กแต่ละชั้นก็เรียนรู้แตกต่างกันไป มันเป็นไปตามพัฒนาการของร่างกาย เราจะให้เขามองตัวเองละเอียดและรอบด้านขึ้นก็ต้องใช้เวลา ชุดประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ที่จะรู้จักตนเอง อย่างชุดนี้เราใช้เทสระหว่างม.1กับม.2 ก็ต่าง

.

.

ยิ่งชั้นเดียวกันแต่คนละห้องคนละกลุ่มก็ต่าง แต่จากแนวโน้วที่เราสังเกตุ ม. 2 ผู้หญิง กับ ม.2 ผู้ชาย ถ้าผู้ชายที่พีคๆมาตลอดมาเรียนชุดประสบการณ์นี้ จะเข้าใจผู้อื่นได้ง่ายขึ้นในขณะที่ภาวะเข้าใจตนเองอาจจะต้องใช้เวลาและชุดประสบการณ์ที่มากขึ้น ในขณะผู้หญิงจะทบทวนตนเองง่ายขึ้นและเข้าใจผู้อื่นได้เร็วขึ้น


3. ถึงแม้จะอยู่ห้องท้ายและเด็กพิเศษล้นห้องก็เรียนรู้ได้ แต่อาจจะต้องใช้ผ่านสื่อเช่น ภาพยนตร์ นี้ให้ดูเนวาดา หนังไมเคิลก็มา แต่ด้วยเวลาน้อย ดูได้ทีละจึกทีละจึก ต้องมีชื่อคำถามและสิ่งที่แอดเพิ่ม อันนี้พ้อยสำคัญ เด็กที่มีสไตลการเรียนรู้ผ่านการมองเห็น


4. ถามว่าได้แอดการเลือกเรียนหรืออาชีพไหม เพิ่ม เพิ่มตอนคาบสุดท้ายจริงๆต่อจากคาบนี้ เราหยิบ หัวข้อ sefe zone learning zone มาบรรยาย กับยกตัวอย่าง เรื่อง fix mindset growth mindset และเชื่อมกะหลักคิดอิคิไก แล้วจบด้วย กราฟของทักษะของแต่อาชีพที่ต้องใช้ แล้วแต่จัดที่บรรยายให้นักเรียนสำรวจตนเองตลอดว่าตนเองเป็นแบบไหน เป็นแล้วเกิดอะไรขึ้น แล้วจบด้วยการเลือกว่าเราจะไปเรียนและเลือกต่ออาชีพอะไรดี ทั้งนี้จะมีชุดคำถามว่าขอบข่ายที่ตั้งจาก learning zone ว่าเรานะ ได้ทักษะอะไรมาเพิ่ม ได้เรียนรู้อะไรมาเพิ่ม แล้วเราจะได้เซ็ตเป้าหมายของการใช้ชีวิตได้อย่างที่เราอยากเป็น

.

.

ภาพของเด็กก็จะได้ชัดขึ้น ว่าชีวิตมันไม่ได้ง่าย เราใช้เวลาและความพยายามมากพอที่จะใช้ชีวิตตามเป้าหมายที่ฝันไว้รึยัง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(18)
เก็บไว้อ่าน
(13)