ในห้องเรียน เรามักจะรับมือกับนักเรียนหลากหลายอารมณ์ ร่าเริง หงุดหงิด เปื่อย เสียใจ เกรี้ยวกราด ง่วง และอีกมากมายในเวลาเดียวกัน
มีงานวิจัยบอกว่าอารมณ์มีผลต่อการเรียนรู้ แล้วครูจะช่วยพวกเขาจัดการอารมณ์และเตรียมตัวเองให้พร้อมเรียนยังไง
Awareness (การตระหนักรู้) เป็นทักษะหนึ่งในการสำรวจและเข้าใจตัวเอง ว่ากำลังคิด รู้สึก หรือทำอะไรอยู่ คล้ายๆกับ การมีสติ รู้ทัน เมื่อรู้ตัวเองแล้ว อาจทำให้ฉุกคิดอะไรได้มากขึ้น นอกจากนี้ นักเรียนบางคนที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกเรียนอะไรดี ไม่มั่นใจในตัวเอง ก็เริ่มจากการค้นหาตัวเองก่อน
ตัวอย่างที่ได้ใช้กับนักเรียนชั้น ม.1
• เด็กทุกคนแตกต่างกัน และความเก่งไม่มีรูปแบบเดียว จึงดึงตัวเองว่าอย่ารีบตัดสินพวกเค้า มองหาด้านที่เราจะชื่นชมและส่งเสริมได้
• เวลาสอนๆอยู่ ห้องเรียนเริ่มวุ่นวาย ก็จะนับ 3…2…1 เพื่อเรียกสติเด็กๆ
พวกเขาก็จะเริ่มเงียบ ตอนแรกอาจจะต้องนับถึง 1-10 บางทียังไม่หยุดอีก ใจเย็นๆ หลังๆจะเร็วขึ้นเอง
• เวลาเริ่มโมโห เด็กทำพฤติกรรมไม่น่ารัก แทนที่จะดุหรือว่า ก็จะถามเขาแทนว่า “รู้ตัวหรือยัง?”
บางคนก็จะ เอ้ะ! ไม่ควรทำนะ ก็เลือกที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเอง
**ครูเองก็ต้องมี Awareness รู้ทันอารมณ์ตัวเองเยอะมากเช่นกัน เพราอาจจะหัวร้อนได้**
• ใบงาน
ได้นำคำถามและเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ “30 วันที่ฉันเปลี่ยนแปลง” เค้าเขียนไว้ดีมากๆ เลยมาปรับใช้ตามสเต็ป
1. ฉันคือใครในวันนี้? (รู้จัก เข้าใจ เห็นคุณค่าในตัวเอง)
2. ฉันคือใครในวันข้างหน้า? (มีภาพความสำเร็จ และตัวช่วย ตัวฉุด)
3. ฉันรักตัวเองนะ (สิ่งที่อยากทำเพื่อตัวเองและสิ่งที่ทำร้ายตัวเองอยู่)
4. ฉันคือผู้โชคดี (มองหาเรื่องดีๆในชีวิต)
ขอส่งต่อใบงาน ชุดคำถามเหล่านี้ เพื่อนำไปปรับใช้ เชื่อว่าคุณครูจะเจอคำตอบที่น่ารัก น่าภูมิใจจากเด็กๆได้ค่ะ
💛💛💛
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย