icon
giftClose
profile

ดำน้ำได้ แต่ต้องว่ายขึ้นมาให้เป็น

13713
ภาพประกอบไอเดีย ดำน้ำได้ แต่ต้องว่ายขึ้นมาให้เป็น

เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะเผชิญกับอารมณ์ในทางลบ หรือช่วง down แต่อย่างไรก็แล้วแต่ เราอยู่ในช่วงนั้นนานไม่ได้ เราต้องหัดที่จะฝึกดึงความรู้สึกดีๆ กลับมาให้เป็น

สื่อการสอนเหมาะสำหรับช่วง Online Learning ค่ะ เพราะครูก็คิดขึ้นได้ตอนสอนออนไลน์นี่แหละ เอาไปปรับใช้ตามสะดวกค่ะ

ขอเสนอทั้งแผนเลยนะคะ เพราะคิดว่าน่าจะช่วยคุณครูประหยัดเวลา และมีตัวเลือกในการนำไปปรับใช้นะคะ




ที่มาของแรงบันดาลใจ

ปัจจุบันอยู่โรงเรียนอินเตอร์ค่ะ เด็กๆ จึงได้เรียนออนไลน์มาได้สักพักแล้ว (ก็จะ 3 เดือนละนะ T T)

ในฐานะครูแนะแนว เรามีการ check-up ความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของเด็กๆ ตลอด

พบว่า เด็กๆ feel down บ่อยครั้ง เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ไม่ได้เจอเพื่อนหลังเลิกเรียนอย่างที่เคย

ต้องอยู่บ้านตลอด แต่ดันมีปัญหากับพ่อแม่ ต้องจ้องหน้าคอคอมตลอดเวลา อยากจะรีแลกซ์ก็ไปไหนไม่ได้นอกจากบ้าน


จากทั้งหมดทั้งมวลนี้ ทำให้ครูเกิดไอเดียนี้มาค่ะ




Time frame

Up to 2 คาบได้เลยค่ะ เรื่องความรู้สึก เรื่องอารมณ์ คุยกันไปยาวๆ เรียนวันนี้ ต่ออีกทีอาทิตย์หน้าได้เลยค่ะ






Starter

1) ครู check up ความรู้สึกของเด็กๆ ก่อน แล้วแต่เทคนิคคุณครูค่ะ ขอเสนอเป็นตัวเลือกให้นะคะ

  • ครูถามตอบภายในคลาส "เราก็เรียนออนไลน์มาได้ 1 สัปดาห์แล้ว เด็กๆ สังเกตตัวเองบ้างไหมว่า อารมณ์ ความรู้สึก หรือสุขภาพจิตของเราเปลี่ยนไปบ้างหรือไม่ ถ้าเปลี่ยน เปลี่ยนไปในทางที่ดีหรือไม่ดี หรือถ้าไม่เปลี่ยน อะไรที่ยังทำให้เราความรู้สึกหรืออารมณ์ของเรายังคงที่"
  • หรือจะใช้ Google Form ให้เด็กๆ ทำ 5 นาทีก็ได้ (เขียนชื่อไม่เขียนก็ได้ เป็น anomynous ไม่ว่ากัน)
  • หรือจะใช้ Google Jamboard ให้เด็กๆ เขียนหรือแปะ sticky note เพื่อตอบคำถาม (เขียนชื่อไม่เขียนก็ได้ เป็น anomynous ไม่ว่ากัน)
  • หรือจะพิมตอบ chat box ของแอปที่คุณครูใน video call กับเด็กๆ



2) โชว์กราฟนี้ให้เด็กๆ ดู บอกเด็กๆ ว่านี่คือกราฟความรู้สึกของเด็กคนนึง เป็นความรู้สึกขึ้นๆ ลงๆ ในแต่ละวัน (แต่งเรื่องก็ได้ค่ะ ว่าเป็นเด็กที่อายุเท่าเค้า เรียนออนไลน์เหมือนกัน) และถามเด็กๆ ว่า



  • "กราฟความรู้สึกขึ้นๆ ลงๆ แบบเนี่ย เด็กๆ ว่าปกติไหม"
  • "อะไรที่ทำให้กราฟในแต่ช่วงเวลาขึ้นๆ ลงๆ"
  • "ตรงช่วงนี้กราฟขึ้น อะไรที่ทำให้กราฟขึ้น"
  • "ตรงช่วงนี้กราฟลง อะไรที่ทำให้กราฟลง"

และหลังจากนั้นก็อธิบายให้เด็กๆ เข้าใจว่า ในหนึงวันอารมณ์ของเราอาจจะขึ้นๆ ลงๆ แบบนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย หลายสิ่งที่เราเจอในแต่ละวัน แต่อยากให้เด็กๆ รู้ไว้ว่า มันเป็นเรื่องที่ปกติมากที่กราฟของเราจะเป็นแบบนี้ เพราะเราเป็นคนปกติ มีอารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี ..และหลังจากนั้นก็ถามต่อ....

  • ดูกราฟอีกที ช่วงไหนที่เด็กๆ คิดว่าจะรับมือกับอารมณ์ได้ยากที่สุด



ให้ดูรูปนี้ก็ได้ค่ะ และเปรียบเทียบว่า การที่เราจมอยู่กับความรู้สึกไม่ดี หรือความรู้สึก down นานๆ มันก็เหมือนกันเราดำน้ำลงไปลึกเกิน ยิ่งลึก ยิ่งยากที่จะว่ายกลับขึ้นมา ดังนั้นเราควรเรียนรู้และฝึกที่จะว่ายน้ำกลับขึ้นมา เพื่อให้ไม่จมลึกลงไปมากกว่านี้




Main

1) แอบสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพ่วงไปด้วย คำว่า Resilience ค่ะ คือ ความสามารถในการดึงความรู้สึก down ให้กลับมาเป็นความรู้สึกที่ปกติหรือที่ดีได้อีกครั้ง


2) ให้เด็กๆ เข้ากลุ่ม ถ้าสอนออนไลน์ก็ให้เด็กๆ สร้างกลุ่มใน Google Hangout / Meet แล้วช่วยกันแชร์วิธีการ Build your Resilience อาจจะให้เด็กๆ research หาเองจาก Google หรือ YouTube อะไรก็ว่าไป แล้วรวบรวมไอเดียลงในสื่อต่างๆ ที่เด็กๆ สามารถใช้ทำงานร่วมกันได้ เช่น Google Doc / Google Slide / Google Jamboard


ตรงนี้คุณครูจะนำไปปรับใช้ให้น่าสนใจกว่านี้ก็เอาเลยค่ะ อย่าลืมมาแชร์กันด้วยนะคะ


3) ตรงนี้เราจะมาฝึก build our resilience กัน โดยใช้ Jamboard อีกแล้วค่ะ (นึกภาพ Jamboard ว่ามันคือกระดานหน้าห้อง ที่เด็กๆ ได้ออกมาเขียนอะไรก็แล้วแต่ แล้วเพื่อนๆ ก็สามารถเห็นสิ่งที่เพื่อนเขียนด้วยค่ะ ดีมาก ชอบๆ) แบ่งเป็น 2 activities เป็น activity ที่ฝึกให้เด็กๆ think positively ฝึกใช้ sense of humor แล้วก็มองเหตุการณ์เดียวกันในมุมที่ต่างออกไป เป็นการฝึก Resilience แบบสนุกๆ ค่ะ


Find Something Funny

ให้เด็กๆ ดูรูปอะไรก็ได้ค่ะ อะไรก็ได้เลย แล้วให้เด็กๆ เขียน caption ตลกๆ หรือทำให้ภาพนี้มันตลก แล้วแปะ เขียนไว้รอบๆ ภาพ (อันนี้ผลงานเด็กๆ ค่ะ ขอยืมหน่อย)


Find Something Good

ให้เด็กแชร์ประสบการณ์ที่รู้สึกไม่โอเคคนละ 1 ประสบการณ์ แล้วให้เด็กๆ หาสิ่งที่ดีๆ ที่เราเจอภายใต้ประสบการณ์นั้น

จากนั้นก็ให้เด็กๆ อ่านประสบการณ์ของเพื่อนๆ และ add สิ่งที่ดีๆ ที่เราเจอภายใต้ประสบการณ์นั้นของเพื่อนเช่นกันค่ะ


(อันนี้ผลงานเด็กๆ อีกแล้ว ขอยืมหน่อย)



Plenary

ให้เด็กๆ ได้ reflect ตัวเองง่ายๆ โดยถามว่า "ลองคิดดูซิว่า ทั้งวันที่ผ่านมาเนี่ย มีอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นกับเราบ้าง หรือมีอะไรที่ทำให้เรายิ้มได้บ้าง" อย่าลืมแอบบอกเด็กๆ ด้วยนะคะว่า วิธีนี้สามารถเอาไปใช้ได้ทุกวัน ก่อนนอนถามคำถามนี้กับตัวเองก็ได้



สิ่งที่ Online Learning ขาดคือ interaction ค่ะ ในฐานะครูแนะแนวที่คาบของเรามันคือการแลกเปลี่ยน เราอาจจะต้องอาศัยใช้สื่อต่างๆ ช่วยเยอะหน่อยค่ะ อาจจะเหนื่อยหน่อยนะ แต่เพื่อเด็กๆ ของเรา ครูสู้!!


ลองนำไปปรับใช้ได้นะคะ ถ้าใครมีไอเดียดีๆ เอามาแชร์ใต้คอมเมนต์ได้เลยนะคะ สู้ๆ ค่ะคุณครูทุกคน

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(5)
เก็บไว้อ่าน
(2)