องค์ประกอบของบอร์ดเกมประกอบไปด้วยการ์ด 3 ชนิด ได้แก่
1. การ์ดพืช มีทั้งหมด 5 ใบ ได้แก่
2. การ์ดทรัพยากร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
3. การ์ดลูกค้า มีทั้งหมด 6 แบบ โดยคุณครูทุกท่านสามารถออกแบบเพิ่มเติม หรือสร้างสรรค์การ์ดชนิดนี้เองได้เลยครับ :)
คราวนี้เรามาลองศึกษารายละเอียดต่าง ๆ บนการ์ดแต่ละประเภทกันดีกว่า
โดยสามารถศึกษาได้จากรูปด้านล่างนี้เลยครับ :)
หมายเหตุ: เหตุผลที่ผมนำความสามารถของการ์ดฮอร์โมนพืชไว้ด้านหลัง เพราะว่า ต้องการกระตุ้นให้เด็ก ๆ จำบทบาทของฮอร์โมนพืชแต่ละชนิดให้ได้นั่นเอง
ปล. คุณครูหลายท่านอาจเคยประสบปัญหาที่เด็กจำบทบาทหน้าที่ของฮอร์โมนพืชแต่ละชนิดไม่ได้ ก็อย่างว่าแหละครับ บางครั้งคุณครูเองก็ยังลืมเลย 555
หรืออย่างหนักก็คือ โดนเด็กตั้งคำถามใส่ว่า "ทำไมถึงต้องมาเรียนอะไรแบบนี้ด้วย" มันจุกเลยใช่ไหมหละครับ T^T
เมื่อศึกษาการ์ดแต่ละกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาลองทำความเข้าใจ "วิธีการเล่นเกม" กันต่อนะครับ ..
เริ่มจากการจัดการกับกองการ์ดก่อนดีไหมครับ หลังจากที่ผมเห็นกองการ์ดถูกวางอย่างเละเทะกับการนำไปสอนนักเรียนห้องแรก ทำให้ผมต้องกลับมาออกแบบเจ้าสิ่งนี้เพิ่มมาเลยแหละครับ = =
จากรูปด้านบนที่เห็น ผมขอเรียกมันว่า "บอร์ดการ์ด" ละกันนะครับ จุดประสงค์ที่ทำมาก็เพื่อให้ผู้เล่นแต่ละคนมีติดตัวไว้ เวลาสะสมการ์ดอะไรหลาย ๆ ใบ จะได้มีที่มีทาง จัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น (อย่างน้อยก็เพิ่มโอกาสที่การ์ดของผมจะอยู่ครบจนจบคาบแหละครับ)
ที่นี้ถ้าเราก็มาเริ่ม Set up กระดาน Board game ของเราได้เลย
โดยผมแนะนำให้นักเรียนเล่นบอร์ดละ 4 คน หรือ 4 ทีม หรือจะ 4 คู่ ก็สุดแล้วแต่ความเหมาะสมของห้องเรียนนั้น ๆ ของคุณครูนะครับ รูปร่างหน้าตาก็จะออกมาประมาณในรูปด้านล่างเลยครับ
ปล. เอาโต๊ะนักเรียนมาต่อกัน เอาผ้ามาปูรอง เพื่อถนอมการ์ดด้วยจะดีมาก แต่ระวังครูฝ่ายปกครองเดินผ่านมา แล้วเข้าใจผิดนะครับ 55
สำหรับวิธีการเล่นเกม ประกอบไปด้วยขั้นตอนง่าย ๆ 3 ขั้นตอน
1. สะสมทรัพยากร (แสง น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หรือฮอร์โมนพืช)
2. พัฒนาต้นไม้
3. ขายต้นไม้
นอกจากนี้ยังมีเรื่องจุกจิกต่าง ๆ หรือกติกาเพิ่มเติมที่ต้องศึกษาเพิ่มอีกนะครับ คุณครูลองศึกษาเองดูก่อนจากรูปด้านล่างนี้ได้เลยครับ :)
สุดท้ายก่อนจากกัน ก็หวังว่าสื่อการสอนของผมจะช่วยให้คุณครูท่านอื่น ปิ๊ง! ไอเดีย ในการสอนเนื้อหาเรื่อง "ฮอร์โมนพืช" ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
สำหรับส่วนตัวผมที่ลองนำไปทดลองใช้กับเด็กห้องศิลป์ ม.4 ส่วนใหญ่ก็ได้ Feedback กลับมาจากนักเรียนค่อนข้างดีนะครับ แล้วเมื่อลองให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดก็พบว่านักเรียนสามารถจดจำบทบาทของฮอร์โมนทั้ง 5 ชนิดได้ดีมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ถ้าหากคุณครูท่านใดสนใจ อยากจะนำไอเดียการสอนของผมไปต่อยอดพัฒนา ผมก็ยินดีอย่างยิ่งเลยแหละครับ
แล้วก็คงภูมิใจเล็ก ๆ ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในห้องเรียนชีววิทยาอีกหลาย ๆ ห้อง
ก็หวังว่าสิ่งที่ผมทำจะช่วยให้คุณครูและก็นักเรียนอีกหลายคนมีบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นนะครับ <3
หากคุณครูท่านใดมีคำถามหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับตัวบอร์ดเกมสามารถติดต่อกลับมาได้ที่ Facebook ของผมได้เลยครับ
Facebook: Arnut Lukkanasiri ขอบคุณครับ :)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย