icon
giftClose
profile

สร้างคลาสเรียนแห่งความสุขง่ายๆ ผ่านมุมมองทฤษฎี ABC

31271
ภาพประกอบไอเดีย สร้างคลาสเรียนแห่งความสุขง่ายๆ ผ่านมุมมองทฤษฎี ABC

"ความสุข" ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน "ทฤษฎี ABC" เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้คุณครูเข้าใจพฤติกรรมและแนวคิดของเด็กในห้องเรียนมากขึ้น เพื่อสร้างให้ห้องเรียน กลายเป็นพื้นที่แห่งความสุขที่ครูและเด็กเข้าใจ เคารพ และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

เคยสังเกตกันไหมว่า เมื่อไหร่ที่ครูใจดี หรือ ทำอะไรถูกใจเด็ก เด็กๆมักจะสนใจการเรียนมากกว่าปกติ

.

ทำไมเด็กบางคนถึงเลือกทำการบ้านส่งในวิชาที่เขาชอบ หรือ วิชาที่เขาทำได้ดีมากกว่าวิชาที่เขาทำได้แย่

.

คำพูดและการกระทำของครูมีผลต่อเด็กอย่างไร ? และ ความสุขของเด็กส่งผลให้เรียนรู้ได้ดีขึ้นจริงหรือไม่ ?

.

วันนี้พวกเราจะพาคุณครูทุกคนไปรู้จักกับ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ หรือที่เรียกกันง่ายๆว่าทฤษฎี ABCที่จะช่วยให้ครูหลายๆคนเข้าใจพฤติกรรมและการแสดงออกของเด็กมากขึ้น การที่เราเข้าใจเด็กจะช่วยให้ครูสามารถออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เด็ก ๆในห้องเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขผ่านการสร้างแรงจูงใจ

.

ถ้าพร้อมแล้วละก็...ไปทำความรู้จักกับทฤษฏีนี้กันเลยยยย

.

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ หรือที่เรียกกันว่า “ทฤษฎี ABC” เป็นทฤษฎีซึ่งเชื่อว่า ผลของการกระทำจะเป็นตัวกำหนดอัตราการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ ง่ายๆก็คือ “ใครทำอะไรไว้ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะบอกเองว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งนั้นต่อ” โดยทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นโดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกันคนหนึ่งมีชื่อว่า Burrhus Frederic Skinner 

.

โครงสร้างของทฤษฎี ABC

สกินเนอร์อธิบายไว้ว่า พฤติกรรม นั้นเกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่างได้แก่


แต่ 3 องค์ประกอบนี้ชื่อค่อนข้างเข้าใจยากดังนั้นเราจะมาทำให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยเปลี่ยนเป็น


โดยทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำงานต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆเป็นลักษณะวงจร ผลของการกระทำ จะเป็นตัวกำหนดการเกิดซ้ำของพฤติกรรมในอนาคต

.

ในทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ จะมีคำศัพท์อยู่ 2 หมวดใหญ่ๆคือ การเสริมแรง และ การลงโทษ

การเสริมแรง คือ สิ่งที่มีผลกระทบต่อการแสดงพฤติกรรมของคน แบ่งได้เป็น 2 แบบ

1. เสริมแรงทางบวก  หมายถึง สิ่งเร้าซึ่งส่งเสริมให้เราแสดงพฤติกรรมมากขึ้น

  • เช่น ครูชมเด็กที่ส่งงานตรงเวลา ทำให้เด็กอยากจะส่งงานตรงเวลาบ่อยขึ้นเพื่อรับคำชมครู

2. เสริมแรงทางลบ หมายถึง สิ่งเร้าที่หากเรากำจัด หรือ นำออกไปจากตัวได้จะทำให้พฤติกรรมเพิ่มขึ้น

  • เช่น เด็กมหาลัยอ่านหนังสือน้อย ทำให้เครียดเพราะกลัวว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เครียดเพราะกลัวทำไม่ได้ การสอบครั้งหน้าเด็กมหาลัยคนนี้จึงเริ่มอ่านหนังสือมากขึ้น เพื่อจะได้ทำข้อสอบได้


การลงโทษ จะมีลักษณะเดียวกับ เสริมแรง คือเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการแสดงพฤติกรรมของคน แต่จุดที่แตกต่างคือ การเสริมแรงนั้นจะส่งเสริมให้พฤติกรรมเพิ่มขึ้น ตรงข้ามกับการลงโทษซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมลดลง มี 2 แบบ

1. การลงโทษโดยให้ในสิ่งที่เขาไม่อยากได้หรือสิ่งที่เขาไม่ชอบจะทำให้พฤติกรรมลดลง

  • เช่น เด็กชอบถามคำถามในห้องเรียน เพื่อนจึงล้อว่าโง่ ตัวเด็กซึ่งไม่ชอบถูกล้อ จึงถามคำถามน้อยลงเพื่อไม่ให้ถูกเพื่อนล้อเลียน

2. การลงโทษโดยนำสิ่งที่เขาอยากได้ออกไปจะทำให้พฤติกรรมลดลง

  • เช่น เด็กเขียนคำตอบด้วยแนวคิดที่ต่างจากผู้สอน ทำให้เด็กโดนหักคะแนน ดังนั้นในการสอบรอบถัดไป เด็กจะไม่กล้าตอบตามแนวคิดตัวเองแต่เป็นการตอบตามที่ครูหวังเพื่อให้ได้คะแนน


แล้วการเข้าใจทฤษฎี กฎแห่งผลกรรมช่วยคุณครูยังไง

ทฤษฏีการเสริมแรงเป็นทฤษฎีซึ่งกล่าวถึงวิธีการส่งเสริมและวิธีการลดทอนพฤติกรรมของนักเรียน ดังนั้นการที่ครูทำความเข้าใจกับทฤษฎีนี้จะช่วยให้ครูสามารถส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีของเด็กได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยให้ครูสามารถควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กให้ลดลงได้ ซึ่งหน้าที่ในการดูแลและส่งเสริมเด็กๆเหล่านี้ถือเป็นหน้าที่อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญของครูที่จะนำความเข้าใจที่ได้จากทฤษฎีนี้ไปปรับใช้ในการดูแลเด็กอย่างเหมาะสม การเสริมแรงเด็กจะช่วยให้เด็กมีความสุขและอยากเรียนรู้มากขึ้น ส่วนการลงโทษที่ผิดวิธีจะทำให้เด็กไม่มีความสุขและไม่อยากเรียนรู้ . . .ทฤษฎีกฎแห่งผลกรรมจะกลายเป็นหนึ่งในอาวุธที่ช่วยให้ครูเข้าใจและเรียนรู้วิธีการสอนที่ถูกต้องเพื่อสร้างห้องเรียนที่มีความสุขและมี Impact ต่อตัวเด็ก

.

แล้วคุณครูจะปรับใช้ทฤษฎีนี้อย่างไร

1. หมั่นให้คำชมเด็กเมื่อพวกเขาทำได้ดี สิ่งสำคัญคือ อย่าชมเชยผลงานของนักเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ให้ชมเชยสิ่งที่มองไม่เห็นด้วย เช่น ความพยายาม ความเป็นตัวตนของนักเรียนคนนั้นและต้องเป็นการชื่มชมซึ่งมาจากใจจริง การให้คำชมกับเด็กจะช่วยเสริมแรงเด็กให้เด็กๆกล้าแสดงออกมากขึ้น สนุกกับการเรียนมากขึ้นเพราะมนษย์ทุกคนล้วนต้องการ การยอมรับจากใครซักคน การที่ครูให้การยอมรับและมองเห็นความพยายามของเขาจึงกลายเป็นการเสริมแรงจูงใจอย่างดี ทำให้เขาอยากที่จะตั้งใจเรียมากขึ้นเพื่อรับคำชมนั้นต่อไป


2. ลดการลงโทษและการว่ากล่าวตักเตือนที่รุนแรง เช่นการใช้ไม้เรียว หรือการทำโทษที่ทำให้เด็กอับอาย ครูควรใช้เหตุผลพูดคุยและหาทางออกร่วมกัน การลงโทษที่รุนแรง สามารถลดพฤติกรรมได้จริง แต่พฤติกรรมที่ลดไปไม่ได้มีแค่พฤติกรรมไม่ดีอย่างเดียว พฤติกกรรมที่ดีบางส่วนเองก็อาจจะถูกลดไปด้วยก็ได้

(INFO)

เช่น ครูว่าเด็กที่ยกมือถามครูบ่อยครั้ง แน่นอนว่าพฤติกรรมยกมือถามเด็กที่เป็นการรบกวนการสอนของครูอาจจะหมดไป แต่สิ่งที่ตามมาคือ เด็กคนนั้นจะสูญเสียความกล้าที่จะถาม เพราะเขากลัวว่าการถามอาจกลายเป็นการรบกวน  


3. การเสริมแรงไม่จำเป็นจะต้องมาจากครูเท่านั้น อย่างที่เคยกล่าวไปว่า มนุษย์แค่ต้องการการยอมรับจากใครซักคน ดังนั้น คำชมจากคนใกล้ตัวเช่นเพื่อน หรือ ครอบครัว ก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการทำให้พื้นที่ในห้องเรียนแห่งนี้เป็นพื้นที่แห่งการยอมรับ ไม่มีการหัวเราะ ว่ากล่าว เมื่อมีใครซักคนออกความเห็นก็ให้ฟังอย่างตั้งใจ ไม่มีอคติยอมรับความคิดของเพื่อนคนอื่น เป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียนที่ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน . . .

การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียนจะช่วยให้ เด็กๆทุกคน มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น เพราะได้รับการเสริมแรงจากทั้งครู และ เพื่อนๆทุกคนในห้อง ทำให้เขากล้าแสดงออก และ อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในห้องเรียนมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น การออกกฎในห้องเรียน ว่าทุกครั้งที่เพื่อนพูดจะต้องฟัง การห้ามหัวเราะสิ่งที่เพื่อนพูด ตบมือทุกครั้งหลังเพื่อนพูดเสร็จ พูดชมเพื่อนให้กำลังใจเพื่อน หากสามารถทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศที่ปลอดภัยได้ ทุกคนในห้องก็จะเรียนได้อย่างมีความสุข 


ContentCreator : warawat Nimanong


ขอขอบคุณที่มา :

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(7)
เก็บไว้อ่าน
(4)