icon
giftClose
profile

ข้าวต้มมัดกับกฎของแก๊สของเขา

15950
ภาพประกอบไอเดีย ข้าวต้มมัดกับกฎของแก๊สของเขา

เกมจับคู่ละลายพฤติกรรม สู่กลุ่มทำภารกิจร่วมกัน เชื่อมโยงความสัมพันธ์เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันกับกฎของแก๊ส สู่การสร้างนวัตกรรมส่งเสริม หรือแก้ไข สถานการณ์ที่ได้รับ

สำหรับห้องที่มีพลังเยอะอย่าง เราต้องคิดเกมมาเพื่อเขา

คิดไว้เป็นคลัง ปิ๊งแว๊บสด ๆ ตอนนั้น โยน ๆ ไปให้เขาสนุกกัน

.

จัดมาให้ครบทั้งฐานใจ กาย หัว

.

เริ่มที่ check in "หยิบการ์ดภาพที่บ่งบอก หรือสื่อถึงตัวเรามากที่สุด"

นำมาชวนคุยเชื่อมโยงกันผ่านภาพ เช็คสภาวะกันหน่อย ไม่เจอกันนานเป็นไงบ้าง

.

ต่อด้วยฐานกาย

ชวนยืดเส้นยืดสายหลายสเต็ป

  1. โอลีวันลีวา : มือขวาแตะแขนซ้ายเป็นจังหวะตามเพลง "โอลีวันลีวา" --> โอ มือขวาแต่มือซ้าย ไล่ขึ้นไปที่แต่ท่อนแขนล่างร้อง "ลีวัน" ไล่ขึ้นไปที่แต่ท่อนแขนบนร้อง "ลีวา" สลับไปเป็น มือซ้ายแตะขวา --> แต่ท่อนแขนขวาบนร้อง "ฮิปปียา" ไล่ลงไปแต่ท่อนแขนขวาล่าง "หย่า" ไล่ลงไปต่อแต่มือขวาร้อง "ย่า" ร้องรวม ๆ เริ่มจากช้า ๆ แล้วเพิ่มความเร็วในรอบต่อไป " โอลีวันลีวา ฮิปปียาหย่าย่า" แล้วเพิ่มท่อน "ฮึ่ยหยะ!! ฮึ่ยหยะ!!" คือ มือนึงจับจมูก อีกมือไขว้จับหู ร้อง "ฮึ่ยหยะ!! ฮึ่ยหยะ!!" พร้อมสลับข้าง เพิ่มความเร็วและความถี่ ดูสมาธินักเรียน จับถูกมั้ย สนุก ๆ กันไป
  2. PM 2.5 : ให้นักเรียนเคลื่อนตัวไปรอบ ๆ ห้องด้วยความเร็ว ไร้ทิศทาง กระจายไปทั่ว
  3. โควิด : ให้นักเรียนอยู่ห่างกันให้มากที่สุด
  4. ปาท่องโก๋ : ให้นักเรียนจับคู่กัน
  5. ข้าวต้มมัด : ให้นักเรียนรวมกัน 3 คน
  6. ขนมชั้น : ให้นักเรียนรวมกัน 4 คน
  7. ช็อกโกแล็ต : ให้นักเรียนรวมกันทั้งห้อง

ครูเอ่ยคำเหล่านั้นสลับ ๆ กันไป พอสนุกได้ที่ หรือครูสังเกตการจับกลุ่มได้ลงตัวแล้ว ให้ขานคำนั้น เช่น ต้องการจับกลุ่มละ 3 ขาน "ข้าวต้มมัด" แล้วบอกว่า "ข้าวต้มมัดนี้ จะได้ช่วยกันทำภารกิจต่อไป" อิอิ

.

เข้าสู่ฐานหัว ชี้แจงภารกิจ

  1. ให้นักเรียนจับคู่ความสัมพันธ์ของสถานการณ์ (เขียนใส่กระดาษใส่ซองให้นักเรียนสุ่มจับ)ที่ได้รับกับกฎของแก๊ส ว่าตรงกับกฎไหน อธิบายให้เข้าใจ
  2. คิดค้นนวัตกรรมเพื่อส่งเสริม หรือแก้ไขสถานการณ์ที่ได้รับ
  3. นำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ(ครู)และสาธารณชน(เพื่อนๆ)ได้รับชม เพื่อชิงรางวัล ดังนี้
  4. รางวัลคอนเท้นท์เป๊ะเวอร์
  5. รางวัลนวัตกรรมสุดว๊าว
  6. รางวัลป๊อปปูล่าโหวต
  7. มีทรัพยากรสนับสนุนเป็นกระดาษฟริปชาร์ท กรรไกร คัตเตอร์ ปากกาสีต่าง ๆ กาว เทปกาว ดินน้ำมัน บลาๆ หาได้ตามรอบตัว
  8. แต่ละมัดถามได้เพียง 1 ครั้ง คิดดี ๆ ก่อนถาม (หลัง ๆ ครูเริ่มหาข้ออ้างเพื่อไกด์ เช่นวันนี้วันเข้าพรรษา ให้ถามเพิ่มได้ ฮ่าๆๆ"

ครูกำหนดเวลา เปิดเพลงสร้างบรรยากาศ พูดบิ้วด์ไปรอบ ๆ ห้อง เดินตรวจดูการทำงาน คอยดู ตั้งคำถามให้เขาได้คิด ไกด์ให้นิดหน่อย แนะนำแหล่งสืบค้นเพิ่มเติม สังเกตการทำงาน ความรู้สึกของนักเรียนแต่ละคน

.

หมดเวลา เช็คผลงานนักเรียนโดยการถามว่า

1.เสร็จมั้ย

2.ส่งเลย(รอนำเสนอ) หรือเก็บไปทำต่อ(ไว้นำเสนอคาบต่อไป)

คำถามนี้ชวนตั้งข้อสังเกตลักษณะนิสัยยของนักเรียน ความมุ่งมั่น กับการสร้างผลงานออกมา

.

สุดท้ายชวน Check out "ขอ 3 คำ" ให้กับคาบเรียนนี้ เสียงที่ส่งมา เช่น สนุกมาก, มันดีนะ, มันยากมาก, ปวดหัวจัง, เหนื่อยสุด ๆ และ หิวข้าวจัง

เห็นถึงความสนุกของหลายคน เห็นถึงความไม่พร้อมในการเรียนด้วย หยิบคำเหล่านั้นมาฮีลเขา "วันนี้ครูสังเกตเห็นว่าหลายคนดูง่วง ๆ ไม่สดใสเหมือนเคย อาจเป็นเพราะยังปรับเวลาไม่ได้ ไม่เป็นไร ค่อย ๆ ปรับกัน หวังว่าจะกลับมาสดใสมีพลังกันเร็ว ๆ ส่วนวันนี้คนที่พลังไม่ตก ดีใจและขอบคุณมากที่เพิ่มสีสันให้กับห้องเรียน" แล้วเราก็เดินไปกอดนักเรียนคนที่ดูอ่อนแรงผิดปกติ บอกว่า "เติมพลังๆ"

.

ส่วนตัวเราชอบพลังงานเด็กห้องนี้ เพราะเราชอบกิจกรรมฐานกาย

ห้องนี้จะเล่นกับเขาได้สนุกดี ใครสนใจกิจกรรมส่งเสริมเด็กพลังเยอะ

ติดตามเรื่อย ๆ ได้นะคะ สำหรับกิจกรรมการนำเสนอคาบหน้าสนุกแน่ อย่าลืมติดตามกันนะ อิอิ

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(5)
เก็บไว้อ่าน
(1)