inskru
gift-close

Deep listening ฟังให้ทัชถึงหัวใจ

16
8
ภาพประกอบไอเดีย Deep listening ฟังให้ทัชถึงหัวใจ

บ่อยครั้งที่เด็กนักเรียนอยากจะรู้เทคนิคเวลามีเพื่อนมาปรับทุกข์ ว่าเขาควรให้คำแนะนำอย่างไรดี ? เขากลัวพูดแล้วจะทำให้่เพื่อนแย่ลงกว่าเดิม ง่ายที่สุดคือการ ฟังอย่างลึกซึ้ง หรือการฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีนี่เอง ในกิจกรรมนี้ เราจะมีฝึกทักษะDeep listening แบบง่ายๆให้กับเด็กนักเรียนกันครับ

หมายเหตุ เห็นเด็กไม่ใส่แมส ไม่เว้นระยะห่างอย่าเพิ่งตกใจนะครับ พอดีในภาพนี้ผมทำกิจกรรมเมื่อปีที่แล้วก่อนมี Covid มานะครับ 555555 ถ้าจัดในเทอมนี้อย่าลืมให้เด็กใส่แมสหรือเว้นระยะห่างนะครับ


เวลาคนเรามีความทุกข์ใจ บ่อยครั้งเวลาเราไปเล่าให้คนอื่นฟัง สิ่งทีไ่ด้กลับมากลับแย่ลงกว่าเดิม โดนด่วนตัดสินจากผู้ฟัง ทำให้รู้สึกเคว้งคว้าง ซ้ำร้ายอาจจะรู้เหมือนโดนซ้ำเติม ทำให้แย่ลงกกว่าเดิม เพราะบางทีเราก็รู้สึกว่าคนที่เราระบายความทุกข์ให้ฟังนั้น เขาไม่ฟังเราเลย ไม่คิดจะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราเล่าด้วยซ้ำ หรือในทางกลับกัน มีคนมาระบายเรื่องราวความทุกข์ของเขาให้เราฟัง บางทีเราอยากจะพูดปลอบใจเขา แต่เราไม่รู้จะพูดอย่างไร? หรือเอาจริงๆ เราจะช่วยเขาอย่างไร?


ซึ่งความเป็นจริง หลายเรื่องเราไม่สามารถช่วยเขาได้ และในบางครั้งเรกา็ไม่รู้ว่าคำปลอบโยนของเราจะช่วยให้เขาดีขึ้น หรือเป็นการทำร้ายเขารึเปล่า


แต่คุณเชื่อไหมล่ะ เวลาเรารู้สึกแย่ๆขึ้นมา เราอาจจะขอแค่ใครสักคนที่คอยรับฟังเรา ไม่ด่วนตัดสินเรา และรับรู้ว่าเรากำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ถึงจะช่วยอะไรเราไม่ได้ แต่เราก็อยากให้มีใครสักคนช่วยให้เราได้ระบายเรื่อวราวเหล่านั้นออกมาแค่นี้ก็พอแล้ว


ในวันนี้เราจะมาฝึกทักษะการฟังกันนะครับ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมแนะแนวประเภท"ส่วนตัวและสังคม" ฝึกได้ง่ายๆกับเด็กทุกระดับชั้น โดยเราจะปลูกฝังการเป็นผู้ฟังที่ดี อีกทั้งเป็นการสอดแทรกเทคนิคการให้คำปรึกษาในจิตวิทยาการทำปรึกษาแก่เด็กไปในตัวด้วย (ผมทำครั้งแรก สังเกตเห็นเด็กร้องไห้ตอนระบายออกมาด้วยนะครับ) เรามาดูที่ตัวกิจกรรมกันเลย ถ้ากิจกรรมที่พิมพ์อ่านยากคุณครูดูในสไลด์ที่ผมแนบไว้ได้เลยนะครับ



หมายเหตุ คุณครูสามารถกำหนดเรื่องราวได้เองตามความเหมาะสมได้เลยครับ แต่หลีกเลี่ยงประเด็กที่อ่อนไหวเกินไปเพื่อไม่ให้กระกระเทือนหรือไปกระตุ้นแผลในใจของเด็กมากเกินไป

คำถามท้ายกิจกรรม


คำเตือนอันนี้ต้องบอกกับนักเรียนทุกครั้งนะครับว่า ด้วยจรรยาบรรณของผู้ให้คำปรึกษาและการเป็นผู้ฟังที่ดี เราต้องรักษาความลับของผู้พูดด้วยนะครับ มิเช่นนั้นจะเป็นการทำร้ายผู้พูดหากเราไม่รักษาความลับ เพราะเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องที่อ่อนไหว อีกทั้งยังทำให้ความน่าเชื่อถือของเราลดลงไปด้วย


ภาพประกอบกิจกรรม (ขออนุญาตคาดตรงตาของนักเรียนไว้ และการตอบคำถามของนักเรียนในคำถามท้ายกิจกรรมครับ)


ไฟล์ที่แบ่งปัน

    แนะแนวพัฒนาทักษะ

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    16
    ได้แรงบันดาลใจ
    8
    ลงไอเดียอีกน้า~
    avatar-frame
    แบ่งปันโดย
    insครูเพชร "แนะแนว"

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ