icon
giftClose
profile

ถอดรหัสผู้เรียนผ่านมุมมอง Design Thinking

42660
ภาพประกอบไอเดีย ถอดรหัสผู้เรียนผ่านมุมมอง Design Thinking

เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้เรียน เพื่อออกแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผ่านมุมมองแนวคิด Design thinking

คุณครูหลายคนเคยประสบปัญหาเหล่านี้หรือไม่ ?

.

บทเรียนและกระบวนการสอนไม่ตอบโจทย์กับนักเรียน…


สอนนักเรียนแล้วนักเรียนไม่เข้าใจ…


สิ่งที่ออกแบบมาไม่ตรงกับความคาดหวังที่ตั้งไว้…

.

เชื่อได้เลยว่าคุณครูหลายคนต้องเคยประสบปัญหาเหล่านี้มาไม่มากก็น้อย 

.

เพื่อตอบคำถามที่ยังคงวนเวียนอยู่ในหัวเหล่านี้ การทำความเข้าใจผู้เรียนอย่างลึกซึ้งจึงเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ แน่นอนว่าการจะทำความเข้าใจผู้เรียนได้นั้น ต้องมีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด และเครื่องมือที่ผมจะหยิบมาใช้ในการถอดรหัสผู้เรียนครั้งนี้ก็คือ แนวคิดเรื่อง Design thinking นั้นเอง

.

…หลายคนคงสงสัยว่า Design thinking ช่วยยังไง ทำอะไรได้บ้าง วันนี้ผมก็จะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมๆ กันเลยครับ

.

“Design Thinking” คืออะไร

            Design Thinking เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ใช้ในการศึกษาปัญหาจากตัวมนุษย์ผ่านกรอบแนวคิดที่ว่ามนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง โดย Design Thinking ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้



ที่มาภาพ: https://innothai.net/การคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างนวัตกรรมให้กับธุรกิจ-design-thinking-for-business-innovation/


ขั้นที่ 1 Empathize (การทำความเข้าใจปัญหาผ่านการเก็บข้อมูล)


ขั้นที่ 2 Define (การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ)


ขั้นที่ 3 Ideate (การคิดแนวทางแก้ไข)


ขั้นที่ 4 Prototype (พัฒนางานต้นแบบจากไอเดีย)


ขั้นที่ 5 Test (ทดลองใช้จริง)


แล้วจะทำอย่างไรให้ “Design Thinking” มาช่วยทำความเข้าใจนักเรียน ?


         ขั้นที่ 1 Empathize

ครูเก็บข้อมูลนักเรียนอย่างละเอียดโดยครอบคลุม 4 หัวข้อ ได้แก่ คุณลักษณะผู้เรียน (เช่น อายุ เพศ ฐานะ) รูปแบบและข้อจำกัดการเรียนรู้ สภาพแวดล้อม ปัจจัยและทัศนคติที่มีผลต่อการเรียน


         ขั้นที่ 2 Define

 นำข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 มาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา


         ขั้นที่ 3 Ideate

เมื่อเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาแล้วก็ต้องมาระดมความคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไข โดยสามารถนำ 2 แนวคิดหลักมาสนับสนุนในการหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ ซึ่ง 2 แนวคิดนั้นประกอบด้วย


●     Divergent : แนวคิดที่มุ่งเน้นไปที่การเทไอเดียเพื่อหาแนวทางที่หลากหลายมาใช้แก้ปัญหา


●     Convergent : เป็นการนำไอเดียที่เทมาจากแนวคิด Divergent มาคัดเลือกเพื่อหาแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหา


         ขั้นที่ 4 Prototype

เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนางานหลังจากได้ไอเดียในการแก้ปัญหาซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะต้องมีการปรึกษาผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาด้วย


         ขั้นที่ 5 Test

การนำสิ่งที่พัฒนาจากขั้นที่ 4 ไปทดลองใช้จริง โดยต้องมีการสำรวจและเก็บข้อมูลจากการทดลองเพื่อนำงานที่ได้ไปพัฒนาให้งานเกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้นต่อไป


ก็หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับ Design Thinking จะช่วยให้คุณครูสามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับผู้เรียนและทำให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้น


....สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาศึกษาบทความชิ้นนี้ครับ ขอบคุณครับ...

         

ขอขอบคุณที่มา : https://www.phonlamuangdee.com/post/5-%E0%B8%82-%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-design-thinking


Content Creator : Warawat Nimanong


Editor : Samret Moomahasakul


Cover Design : Narudhchai Ruangyarn

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(16)
เก็บไว้อ่าน
(1)