icon
giftClose
profile
frame

ความคิดเชิงระบบกับ Cyberbullying ผ่าน ผังก้างปลา

21080
ภาพประกอบไอเดีย ความคิดเชิงระบบกับ Cyberbullying ผ่าน ผังก้างปลา

เนื่องจากปัญหาการ "Bully" กำลังถูกเป็นที่พูดถึงในสังคม จึงมีแนวคิดอยากชี้ประเด็นปัญหานี้ให้นักเรียนใช้ทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ผ่านแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา กับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น ๆ หรือที่เรียกว่า "ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)"

ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)

  1. ครูใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน คือ "มีใครเคยได้ยินหรือรู้จักคำว่า Bully บ้างหรือไม่?" โดยอาจมีทั้งนักเรียนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ Bully หรืออาจมีนักเรียนที่ยังไม่เคยได้ยินคำนี้
ครูอธิบายความหมายของคำว่า Bully คือ พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่อ่อนแอกว่า ซึ่งอาจเกิดจากการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น และหากเติมคำว่า Cyber ลงไปความหมายก็จะกลายเป็น (ตรงนี้อาจให้ผู้เรียนลองเดาคำตอบ) คือการรังแกผู้อื่นผ่านทางโลกออนไลน์



ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

นักเรียนศึกษาวีดิทัศน์เรื่อง "Cyberbullying เป็นเรื่องปกติหรอ ? " (ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=GKF4e8s581M ) และเรื่อง "Password" (ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=YWbJBtnSYkU&list=PLVe41kM6aGJ9RmmuZLeucGWJxWtUWb36e&index=118)


ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

  1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวิดีทัศน์ ในประเด็นของ "เพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้" เช่น ความเข้าใจผิด การใช้อารมณ์แก้ไขปัญหา การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นในทางลบ เป็นต้น
  2. นักเรียนสรุปปัญหาและสาเหตุที่นำมาซึ่งปัญหานั้น ๆ ในรูปแบบของ "ผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)" โดยครูชี้แจงวิธีการสร้างผังก้าปลา ตามโครงสร้างดังภาพ (ที่มา http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/fishbonemm.htm)


ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลกระทบที่เกิดขึ้น จากตัวอย่าง Cyberbullying โดยชี้ให้เห็นว่า นักเรียนควรใช้วิจารณญาณในการติดสินข้อเท็จจริงที่ถูกส่งผ่านทางโลกออนไลน์ โดยพยายาม คัดกรองวัตุดิบของการเสพสื่อของตนเอง สิ่งใดที่ดี ควรสนับสนุน ควรส่งต่อความรู้หรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์นั้นเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับได้ แต่หากข้อมูลใดที่อาจสร้างผลกระทบในเชิงลบต่อตนเองและผู้อื่นนั้น ควรกลั่นกรองให้มาก ควรสืบหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพราะหากตัดสินใจเผยแพร่ข้อมูลนั้น ๆ ลงไปในโลกออนไลน์ ยากยิ่งนักที่จะลบออกจากฐานข้อมูลที่มีเครือข่ายโยงใยไปทั่วทั้งโลก และอาจจะ ยากยิ่งกว่า ที่จะลบความทรงจำอันเลวร้ายของใครบางคน ที่เราพลั้งเผลอกระทำรุนแรงทางจิตใจของเขาไปเสียแล้ว...


ขั้นประเมิน (Evaluation)

ครูประเมินพฤติกรรมรายบุคคลของผู้เรียน โดยสังเกตจากพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การแสดงออกทางความคิดเห็น หรือความสนใจใฝ่รู้ ร่วมทั้งการออกแบบผังก้างปลาของผู้เรียน

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 2

ชื่อไฟล์​: 2.png

ดาวน์โหลดแล้ว 12 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(5)
เก็บไว้อ่าน
(0)