ชั่วโมงที่ 1
ขั้นกระตุ้นสมองชวนคิด
1) ครูพานักเรียนเชื่อมโยงกับคาบที่ผ่านมาหลังเรียนรู้ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญในแต่ละภูมิภาคโดยครูให้ดูแผนที่ภูมิประเทศ หลังจากนั้นครูนำแผนที่ออก ให้นักเรียนวาดแผนที่ประเทศไทยด้วยตนเอง พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนแผนที่ซึ่งกันและกัน
ขั้นรวบรวมข้อมูล
2) พานักเรียนทำกิจกรรม “ความทรงจำของเรา” ซึ่งให้นักเรียนแต่ละคน พูดเทือกเขาที่นักเรียนรู้จักมาคนล่ะ 1 ชื่อ หลังจากนั้นก็พูดชื่อ แม่น้ำที่ รู้จักคน ล่ะ 1 ชื่อ
3) ครูให้บัตรคำแม่น้ำ เทือกเขา ถนนสายหลัก แหล่งน้ำสำคัญ (ปรับตามจำนวนนักเรียนในแต่ล่ะห้องเรียน) เพื่อให้นักเรียนไปศึกษาโดยใช้เครื่องมือ 5 W 1 H โดยนำเสนอในรูปมาสคอตติด QR code
ชั่วโมงที่ 2 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทือกเขา
1) ครูใช้เทคนิค Show and Share ให้นักเรียนที่รับผิดชอบเทือกเขาแต่ล่ะคนนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นว่ามีลักษณะเช่นไร หลังจากนั้นให้นำ QR code ไปติดบนแผนที่ที่ครูจัดเตรียมไว้ในแต่ล่ะห้อง
2) ครูแจกใบงานการเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนหลังจากนั้นนักเรียนแต่ล่ะคนไปสแกนศึกษา QR code ของเพื่อนเพื่อตอบคำถาม
ชั่วโมงที่ 3 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แม่น้ำและถนน
1) ครูใช้เทคนิค Show and Share ให้นักเรียนที่รับผิดชอบแม่น้ำและถนนแต่ล่ะคนนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นว่ามีลักษณะเช่นไร หลังจากนั้นให้นำ QR code ไปติดบนแผนที่ที่ครูจัดเตรียมไว้ในแต่ล่ะห้อง
2) ครูแจกใบงานการเรียนรู้ให้นักเรียนทุกคนหลังจากนั้นนักเรียนแต่ล่ะคนไปสแกนศึกษา QR code ของเพื่อนเพื่อตอบคำถาม
ใบงานนักเรียนสะท้อนการเรียนรู้ตนเอง
ตัวอย่างการศึกษาโดยใช้ 5w1H
ปัญหา/จุดที่ต้องพัฒนา
1.ชิ้นงาน QR code ของนักเรียนบางคนมีขนาดใหญ่เกินไปไม่สามารถติดได้ตรงตำแหน่งที่ต้องการรวมทั้งไปทับตำแหน่งของคนอื่น
2.การสร้าง QR code/การเข้าถึง QR code นักเรียนไม่ได้เปิดให้ผู้อื่นเข้าถึง ต้องมีการแก้ไขและให้คำแนะนำทำให้การดำเนินกิจกรรมล่าช้า
3.วัสดุที่ใช้แปะกระดาษกับกระดานหรือผนังห้องเรียนยังไม่เหมาะสมทำให้บางครั้งชิ้นงานของนักเรียนหลุดออกจากแผนที่
4.ความไม่เสถียรภาพของอินเทอร์เน็ต
ข้อค้นพบจากการจัดการเรียนสอน
1.นักเรียนเกิดการตื่นรู้ในการค้นหาข้อมูลรวมทั้งออกแบบชิ้นงาน QR code เนื่องจากงานของตนนั้น เพื่อนในห้องเรียนและเพื่อนห้องอื่นจะได้มาเรียนรู้ของตน นักเรียนจึงพยายยามลดความผิดพลาดของชิ้นงานและสร้างสรรค์อย่างเต็มที่
2.นักเรียนระบุตำแหน่งของเทือกเขา แม่น้ำและถนน ได้มากขึ้นผ่านการจดจำผ่านสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมา เช่น มะขามหวานแทนเทือกเขาเพชรบูรณ์ ปลาทูแทนแม่น้ำแม่กลอง เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
1.ควรกำหนดขนาดชิ้นงาน QR code เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่การติดตำแหน่งบนแผนที่
2.ช่วงของการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรจัดมุมเว้นระยะห่างกันเพื่อจะได้กระจายเข้าไปเรียนรู้อย่างทั่วถึงลดความแออัด
3.ควรเพิ่มประเด็น ที่มาของชื่อเทือกเขา แม่น้ำ ถนน
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!