icon
giftClose
profile

การจัดชั้นเรียนแบบใจถึงใจ

14730
ภาพประกอบไอเดีย การจัดชั้นเรียนแบบใจถึงใจ

เคยไหม? เป็นครูที่เข้าหานักเรียนได้ยาก แต่อยากให้นักเรียนเว้นระยะห่างเพราะครูก็ต้องการระยะปลอดภัย สิ่งที่ช่วยได้คือความเข้าใจและการเครพซึ่งกันและกันทั้งครูและนักเรียน

การจัดชั้นเรียนแบบใจถึงใจ


สวัสดีคะ วันนี้ได้โอกาสแบ่งปันเรื่องราวดีๆในการจัดชั้นเรียนมาฝากกัน


เนื่องจากว่าเป็นครูคนหนึ่งที่มักจะเว้นระยะห่างระหว่างครูและนักเรียนเสมอ เนื่องจากว่าบางทีเราก็คิดถึงใจเค้าว่าถ้าเราเป็นนักเรียนเราก็คงไม่อยากให้ครูมายุ่งในบางเรื่อง หรือถ้านักเรียนเป็นเราก็ต้องเข้าใจ


สิ่งที่เราทำคิดว่าเป็นเหมือนกับครูหลายคน คือ การยึดเด็กเป็นศูนย์กลางในการจัดชั้นเรียน

ซึ่งเราออกแบบการสอนตลอดหนึ่งภาคเรียนจนจบและทำแผนการสอนคร่าวๆ โดยดูแนวโน้มว่าตอนนี้นักเรียนชอบอะไร และจะมาประยุกต์กับบทเรียนเราได้อย่างไร หากว่าเป็นสิ่งที่เราชอบตรงกันทั้งครูและนักเรียนก็จะทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกไปใหญ่เลย


ฉะนั้นในการสอนเรายังต้องสังเกตพฤติกรรม เพื่อทราบถึงความเข้าใจในเนื้อหา มีความกังวลในบทเรียนตรงส่วนไหน ส่วนใหญ่นักเรียนไม่ค่อยพูดอยู่แล้วสิ่งที่สามารถสื่อกันได้ คือ ความจริงใจ ความตั้งใจในการสอน การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนว่ามีส่วนที่เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะทำให้นักเรียนกล้าที่จะคิดมากขึ้น นอกจากนี้ เราก็ต้องรู้ใจนักเรียนว่านักเรียนชอบอะไร โดยสังเกตจากเวลาสอนมักจะแอบหลุดเล่นและคุยกับเพื่อน จึงทำให้เราสามารถเดาได้ โดยอาจจะใช้คำถาม ง่ายๆ เช่น มันคืออะไรหรอ? ช่วยสอนหน่อย แค่นี้เด็กก็อยากจะพูดคุยเรื่องของตนเอง สิ่งที่เราทำคือ การตั้งใจฟัง รับฟัง



พอทำแบบนี้บ่อยๆ บรรยากาศในห้องเรียนก็จะแลดูผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งครูและนักเรียนก็จะมีระยะปลอดภัยซึ่งกันและกัน


สิ่งที่เป็นกำลังใจให้เราทำงานอยู่เสมอ ก็คือ "นักเรียน" หากว่าเค้าเข้าใจในสิ่งที่เราทำ ถึงแม้ว่าในตอนแรกเราต้องอดใจที่จะไม่หลุดคำชมบ่อยเกินไป ทำให้บางอย่างได้มาอย่างมีเงื่อนไขที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย


สรุปก็คือ การจัดชั้นเรียนแบบ "ใจถึงใจ"

  1. ตั้ง"ใจ" สอนซึ่งมีแผนการสอนที่เห็นประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ
  2. รู้"ใจ" นักเรียนโดยดูจากพฤติกรรมในห้องเรียน และสามารถเข้าใจนักเรียนรายบุคคล
  3. มีความจริง"ใจ" ที่จะสอนให้นักเรียนได้เข้าใจในเนื่อหาและนำไปใช้ประโยชน์ได้
  4. สอนด้วยการตั้งคำถามแต่เราต้องพยายามเปิด "ใจ" รับฟังคำตอบของนักเรียน แม้บางทีนักเรียนอาจจะตอบไม่ตรงใจเรา เราก็ควรจะสนับสนุนและเพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนขาด
  5. ให้กำลัง "ใจ" บางทีเราก็ต้องพยายามให้กำลังใจตัวเอง ให้กำลังใจนักเรียน เพื่อเสริมแรงเชิงบวก และช่วยให้บรรยากาศในห้องเรียนอบอุ่นขึ้น


จากครูที่ไม่ค่อยเข้าหานักเรียน และนักเรียนก็ไม่ค่อยอยากจะเข้าหา

พอเราพยายามพัฒนา เปลี่ยนแปลงตนเองจนมาถึงการจัดชั้นเรียนในภาคเรียน 1/2563 ได้รับการตอบรับที่ดีเลย

ขอบคุณนะคะ inskru

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: สรุปประเมินการสอนวิทย์ M3_1_2563.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 11 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(5)
เก็บไว้อ่าน
(3)