inskru
gift-close

ADDIE Model กับการออกแบบสื่อให้ปังกว่าเดิม

9
5
ภาพประกอบไอเดีย ADDIE Model กับการออกแบบสื่อให้ปังกว่าเดิม

มารู้จักกับ ADDIE Model แนวทางการพัฒนาสื่อ 5 ขั้นตอน ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาสื่อของเราให้ปังมากกว่าเดิม ถ้าพร้อมแล้วก็ไปทำความรู้จักพร้อมกันเลย...

เชื่อว่าครูหลายคนเคยประสบพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ เด็กไม่สนใจการเรียน กิจกรรมที่จัดไม่ตอบโจทย์ สื่อที่ทำออกมาดึงดูดเด็กได้ไม่ดีพอ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เพราะวันนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ADDIE model แนวคิดการออกแบบสื่อที่จะเข้ามาช่วยเหลือครูทุกคนให้ออกแบบสื่อได้ตอบโจทย์กับผู้เรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปรู้จักกับ ADDIE Model พร้อมกันเลย...

.

ADDIE Model คืออะไร

ADDIE Model คือ เป็นแนวคิดกระบวนการออกแบบหลักสูตร สื่อ กิจกรรมตั้งแต่จุดเริ่มต้น ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย อย่างเป็นระบบระเบียบ โดยจะเน้นไปที่การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อนำข้อมูลนั้นมาออกแบบ ตัวสื่อ หลักสูตร และกิจกรรมให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เรียน โดยกระบวนการออกแบบสื่อของ ADDIE Model นั้นประกอบด้วยขั้นตอน 5 อย่างดังนี้

1. วิเคราะห์ (Analysis)

เป็นขั้นตอนที่เราจะวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ออกแบบ บทเรียน สื่อหรือกิจกรรม โดยข้อมูลที่เราจะต้องวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูลคร่าวๆดังนี้

วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน

  • เป็นการวิเคราะห์ปัญหาของผู้เรียนว่า พวกเขามีปัญหาอะไร ชอบการเรียนรู้แบบใด ไม่ชอบการเรียนรู้แบบใด วิเคราะห์ความต้องการปัจจุบันของผู้เรียน และของเรา เพื่อหาแนวทางการออกแบบการเรียนรู้ที่ตอบวัตถุประสงค์ร่วมกัน

วิเคราะห์ผู้เรียน

  • วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน เพื่อนำไปใช้พิจารณาออกแบบ กิจกรรม สื่อ หรือแผนการเรียน โดยข้อมูลสำคัญที่ควรวิเคราะห์ได้แก่ องค์ความรู้ ประสบการณ์ เพศ อายุ แรงจูงใจในการเรียน ไปจนถึง ความถนัด

ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้

  • ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สิ่งสำคัญของการออกแบบ แผนการสอน สื่อ และ กิจกรรม คือ เราจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้เสมอว่าอยากให้เด็กได้อะไร ดังนั้นเพื่อให้จัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรกำหนดให้ชัดเจนว่า เราอยากให้เด็กได้อะไร เช่น ความรู้ ทักษะ และ ทัศนคติ

วิเคราะห์ข้อจำกัดและทรัพยากรที่จำเป็น

  • วิเคราะห์ข้อจำกัดเป็นการตรวจสอบผู้เรียน และวิเคราะห์ว่าพวกเขามีข้อจำกัดในการเรียนรู้หรือไม่ เช่น ข้อจำกัดด้าน คุณทรัพย์ หรืออาจเป็นข้อจำกัดด้านร่างกาย เช่น เป็นผู้พิการ ดังนั้นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบข้อจำกัดเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อที่เราจะได้หาแนวทางจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มได้อย่างทั่วถึงโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากข้อจำกัด แล้วอีกหนึ่งอย่างที่ควรวิเคราะห์คือ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมที่เราต้องการจะทำนั้น มีข้อจำกัดพิเศษหรือไม่ เช่น จำเป็นต้องใช้คอม หรือ Smartphone การระบุให้ชัดเจนจะช่วยให้เราออกแบบการเรียนรู้ได้ครอบคลุมเป็นระบบมากขึ้น

2. ออกแบบ (Design)

ขั้นตอนการออกแบบจะเป็นขั้นที่เรานำข้อมูลที่วิเคราะห์ รวบรวมในขั้นก่อนหน้านี้ มาใช้ออกแบบแผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมของเราให้ออกมาเป็นระบบระเบียบเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในขั้นนี้ จะนำหัวข้อปัญหาที่เราระบุได้ มาลอง Brain storm หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาจัดทำเป็นสื่อ หรือแผนการเรียน โดยเครื่องมือที่แนะนำให้ใช้ในขั้นนี้คือ

2.1. Brain storm chart 

เครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้เราเห็นข้อมูลในมุมกว้างของเนื้อหาที่เราหยิบยกมาออกแบบ


ที่มาภาพ: https://th.bing.com/th/id/OIP.CBiUzR-1hgeMy2nl26mkawHaE2?pid=Api&rs=1

2.2. Concept chart 

เครื่องมือตัวนี้เป็นการต่อยอดจาก Brain storm chart โดยการนำข้อมูลใน Brain storm chart มาจัดแบ่งประเภทให้ถูกต้องเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปออกแบบ แผนการเรียน กิจกรรม หรือ สื่อ เมื่อกำหนดเนื้อหาและจัดแบ่งประเภทได้แล้ว ก็มาสู่ขั้นต่อไปคือ การจัดทำ Flow Chart

***ตัวอย่างการจัดประเภท เช่น สีแดงคือการจัดประเภทเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง สีน้ำเงินคือ การจัดประเภทเรื่องที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก

2.3. Flow chart

Flow chart คือ แผนผังแสดงการดำเนินเรื่องราวของ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมของเรา การทำ Flow chart จะทำให้เราเห็นกระบวนการทำงานของ สื่อ หรือ แผนการเรียนที่เราออกแบบชัดขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำ Story board ต่อไป

ที่มาภาพ: https://th.bing.com/th/id/OIP.ffLc-k754ZgRR7Uroca78AHaFi?pid=Api&rs=1

2.4. Story board

Story Board คือ ขั้นต่อจาก Flow chart ที่นำเอา แผนผังการดำเนินเรื่องราวนั้น มาทำการลงรายละเอียดให้สมบูรณ์ขึ้น โดยอาจมีการออกแบบหน้าตาของแผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรม คร่าวๆ ว่าอยากได้ออกมาเป็นประมาณไหน มีการลงรายละเอียดเวลาว่า แต่ละขั้นต้องใช้เวลาเท่าไหร่ หลังจากทำขั้นตอนนี้เสร็จจะต้องทำอะไรต่อไป เป็นขั้นตอนการลงรายละเอียดโครงร่างของแผนการสอน สื่อ หรือกิจกรรม ก่อนนำไปพัฒนาจริง

ที่มาภาพ: teachwire.net/uploads/resource/Storyboards.png


***เมื่อออกแบบเนื้อหาเสร็จแล้วสิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมทำคือ การนำเนื้อหาไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบว่ามีความครอบคลุม ถูกต้องหรือไม่ ในกรณีของครู อาจเป็นการขอความเห็นจากเพื่อนครูที่สอนในรายวิชาเดียวกัน เป็นต้น


3.การพัฒนา (Develop)

เป็นขั้นตอนการนำภาพร่าง หรือโครงร่างที่ทำไว้ใน Story board มาลองทำเป็นชิ้นงานจริง ๆ เมื่อออกแบบเสร็จก็ต้องไม่ลืมเอาไปให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้เชี่ยวชาญช่วยดูว่า เหมาะสมหรือไม่ หากไม่เหมาะสมก็จะต้องนำมาปรับต่อ ในกรณีของครู อาจเป็นการนำตัวชิ้นงานต้นแบบไปให้เพื่อนครูลองประเมินดูว่า เหมาะสมหรือไม่ หรืออาจนำไปให้ผู้เรียนบางกลุ่มลองใช้งานดูเพื่อรับ Feedback จากนั้นนำ Feedback นั้นมาพัฒนาชื้นงานต่อให้ตอบโจทย์ผู้เรียนมากขึ้น

4.การนำไปใช้ (Implement)

ในขั้นตอนการนำไปใช้นั้น คือ การนำชิ้นงานต้นแบบที่พัฒนาปรับปรุงแล้วไปลองให้ผู้เรียนใช้งานจริง โดยขั้นตอนนี้ จะเริ่มตั้งแต่การสอนใช้งานเบื้องต้น การให้ลองใช้งานจริง ไปจนถึงตอนท้ายคือมีการประเมิน เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาต่อให้ตัวแผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรม มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.การประเมิน (Evaluation)

ขั้นการประเมินนั้นทำได้หลากหลายแบบทั้ง แบบ Summative และ Formative แต่หากเป็นไปได้คุณครูควรจะจัดทำทั้งสองแบบ เพราะการทำการประเมินแบบ Formative หรือการประเมินระหว่างเรียนนั้น จะทำให้เห็นพัฒนาการของตัวเด็ก เห็นว่าปัญหาของเด็กคืออะไร ข้อมูลตรงนี้จะช่วยในการปรับปรุงชิ้นงานให้ดีขึ้นได้ ในส่วนของ Summative นั้นจะทำให้เห็นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนว่า เป็นอย่างไร ดีขึ้น / พอใช้ / หรือแย่ลง นอกจากนี้การประเมินยังครอบคลุมไปถึงความพึงพอใจในการใช้งานด้วย โดยผลการประเมินความพึงพอใจตรงนี้จะทำให้เห็นข้อดีข้อเสีย จุดแข็งจุดอ่อนของ แผนการเรียน สื่อ หรือกิจกรรมของเรา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการออกแบบ บทเรียน สื่อ หรือกิจกรรม ตัวใหม่ของเราในอนาคต

.

ก็จบกันไปแล้วนะครับกับแนวทางการออกแบบ แผนการเรียนรู้ สื่อ หรือ กิจกรรม ด้วยแนวคิด ADDIE model ก็หวังว่าข้อมูลครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนครูทุกคนไม่มากก็น้อย สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกคนที่เข้ามาศึกษาบทความชิ้นนี้ครับ ขอบคุณครับ...


Content Creator By: Warawat Nimanong

Design Graphic By: Narudhchai Ruangyarn

.

ขอขอบคุณที่มา

พัฒนาทักษะสื่อการสอนตัวช่วยครู

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

9
ได้แรงบันดาลใจ
5
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
Warawat Nimanong
Instern.Bank เป็นนักศึกษาฝึกงานกับ Inskru ครับ ปัจจุบันทำงานเป็น Instructional design ให้องค์กร Dot to Dot และ Co-working space "Converstation" ครับ

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ