วิทยาศาสตร์ระบบย่อยอาหาร
สุขศึกษา. การอ่านฉลากโภชนาการของสินค้าก่อนเลือกซื้อ
พละศึกษา การเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำกิจกรรมและฝึกความสามัคคี
สังคม การเลือกซื้อสินค้าให้มีประโยชน์และคุ้มค่ากับการใช้จ่าย
ภาษาอังกฤษการอ่านคำศัพท์ให้ถูกต้อง
คณิตศาสตร์รูปทรงและพื้นที่เพื่อวางผังและกำหนดจุดเดินเกม
ภาษาไทย การอ่านและเขียนสรุปเนื้อหาก่อรทำกิจกรรม
ศิลปะ วาดแผนภาพสรุปผังการย่อย*
การงาน ออกแบบสื่อทางเดินอาหารจากวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่อย่างจำกัด
ดูวิดีโอตัวอย่างการสอนได้ที่ facebook.com/permalink.php?story_fbid=1485019935015586&id=100005227817204
รายละเอียด
ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้
#ขั้นเตรียมกิจกรรม
-ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกำหนดพื้นที่เพื่อวางผังและกำหนดจุดเดินเกม ซึ่งจำลองจากเส้นทางของระบบย่อยอาหารจริง
-จัดฐานกิจกรรมอวัยวะต่างๆในระบบย่อยอาหาร
เช่น ฐานปาก ฐานกระเพาะอาหาร
-แต่ละฐาน จะมีห่วงน้ำย่อย เพื่อให้ผู้เล่นแต่ละทีมโยนลูกบอลสารอาหาร (Protein, Carbohydrate, Lipid, Vitamin, Mineral)ที่แต่ละทีมได้รับในตอนเริ่มเกมลงในห่วงน้ำย่อย(ห่วงน้ำย่อยอะไมเลส:ปาก, ห่วงเรนนิน:กระเพาะอาหาร) ให้ถูกต้อง
-ก่อนเริ่มเกม แต่ละทีมจะได้รับเมนูอาหารทีมละ 1 เมนูเพื่อระบุสารอาหารที่ได้จากเมนูนั้น เช่น ข้าวมันไก่ สารอาหารที่ได้รับคือ Protein, Carbohydrate, Lipid, Mineral
-ผู้เล่นแต่ละทีมต้องนำใบเมนูที่ระบุสารอาหารมาแลกลูกบอลสารอาหาร(ผู้สอนตรวจสอบความถูกต้องก่อน)เพื่อนำไปเล่นเกมต่อไป
#เข้าสู่กิจกรรม
1.1 แบ่งทีมผู้เรียนทีมละ 4-6 คน
1.2 ผู้เล่นแต่ละทีมสุ่มหยิบเมนูอาหาร
1.3 ผู้เล่นระบุสารอาหารเมนูของตนและรอตรวจสอบความถูกต้อง
1.4 ผู้เล่นแต่ละทีมยืนที่จุดเริ่มต้น พร้อมลูกบอลสารอาหาร
โดยแต่ละทีมต้องขี่ไม้เป็นทีม (อาจใช้วิธีผูกขาแต่ละทีมให้ติดกัน) เพื่อให้เคลื่นที่ไปพร้อมกันเป็นทีม
1.5 เมื่อผู้สอนให้สัญญาณ ผู้เล่นเริ่มเดินพร้อมกันเป็นทีมไปตามฐานตามลำดับอวัยวะการย่อย
1.6 เมื่อถึงฐานอวัยวะให้ผู้เล่นทุกคนในทีมอ่านชื่ออวัยวะเป็นภาษาอังกฤษอย่างพร้อมเพียง
1.7 จากนั้นให้ผู้เล่นที่ถือลูกบอลสารอาหารโยนลูกบอลลงในห่วงน้ำย่อยให้ถูกต้อง
1.8 โดยผู้เล่นแต่ละทีมต้องทำเวลาให้ได้น้อยสุด ทีมใดเข้าสู่เส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ (ผู้สอนตรวจสอบความถูกต้องของการโยนลูกบอลสารอาหารด้วย)
1.9 ในคาบเรียนถัดไปให้ผู้เรียนได้ร่วมออกแบบสื่อทางเดินอาหารจากวัสดุเหลือใช้
สามารถดูวิดีโอการทำกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/permalink.php?story_fbid=1485019935015586&id=100005227817204
2. หลังจากจัดกิจกรรมบูรณาการการเรียน 8 กลุ่มสาระผลที่ได้คือ
-ผู้เรียนสามารถจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำ
-ผู้เรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ สามารถเข้าใจและเรียนรู้ ได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติ อาจเนื่องจากผู้เรียนสามารถดึงข้อมูลความรู้จากเสียงและภาพจำ ขณะทำกิจกรรมได้ดีกว่าการนั่งฟังเพียงอย่างเดียว
-ผู้เรียนมีความสนุกสนาน ได้เคลื่อนไหวร่างกาย
-ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้หลากหลายกลุ่มสาระวิชาพร้อมกันจากการบูรณาการความรู้ 8 กลุ่มสาระ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!