icon
giftClose
profile

“ผ่านตาอย่างจดจำ” - นักสืบน้อยย้อนรอยประวัติศาสตร์

29550
ภาพประกอบไอเดีย “ผ่านตาอย่างจดจำ” - นักสืบน้อยย้อนรอยประวัติศาสตร์

กระบวนการ Active Learning  ภายใต้นวัตกรรม COVIDS MODEL  #เรียนปนเล่น   เป็นกิจกรรมเสริมศักยภาพการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง โดยใช้เกมเป็นสิ่งขับเคลื่อนการเรียนรู้ (walk rally ตามลายแทง) 🔦ยังจุดเช็คอินต่างๆ และมีการบูรณาการที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงกับศาสตร์วิชาต่างๆ

🎯ไอเดีย/ที่มาของปัญหา

“ประวัติศาสตร์ยากจังครู” คำกล่าวจากเด็กคนนึง....สู่กิจกรรม “นักสืบน้อยย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองเก่าพิจิตร”


.... โดยเน้นการเรียนรู้แบบมีประสบการณ์บนฐานชุมชนในการเชื่อมโยง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดประวัติศาสตร์บอกเล่าจากปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งผ่านการศึกษาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นจากประสบการณ์ที่ได้สัมผัสยังสถานที่จริงจากการสอบถามและการสัมภาษณ์ บนพื้นที่แห่งความสุข (happiness area) 🥳


🎯กำหนดเป้าหมาย/ตัวชี้วัด 

: เข้าใจ/แยกแยะ หลักฐานประเภทตำนาน+วรรณคดี 


👉🏿 นักเรียนรู้จักการสืบค้นเรื่องราวด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ 

👉🏿 รู้เนื้อหา/เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น+ชาติ 

👉🏿 rare item ในชุมชนมีอะไร ?

👉🏿เรียนผ่านตำนานท้องถิ่น - ชาละวัน

👉🏿เรียนไปสู่ Gender / Change

👉🏿คำถามสำคัญ

แต่ละยุคสมัยมีการเล่าแตกต่างกันอย่างไร??

มีความคิดเห็นอย่างไรกับการปฏิบัติต่อแต่ละเพศในตำนาน??

------------

💢ขั้นตอน/เตรียมงาน💢

🔸️ ประสานผู้รู้/ปราชญ์เป็นวิทยากร

🔸️ ครูเตรียมสมุดคู่มือ+ สื่อการสอน

🔸️ เตรียมความพร้อมนักเรียนก่อนลงพื้นที่ (แจ้งจุดประสงค์ /แบ่งบทบาทหน้าที่ / ภาระงาน ฯลฯ)

🔸️ พานักเรียนไปเรียนรู้สถานที่จริง

———

📣คำถามกระตุ้นความสนใจ

  • ชาละวันเคยมีอยู่จริง? 
  • ณ สถานที่นี้ เป็นต้นกำเนิดของชาละวัน?


🔸️เริ่มเกมกิจกรรม

“นักสืบน้อยย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองเก่าพิจิตร” ใช้เกมเป็นสิ่งขับเคลื่อนการเรียนรู้ มีทั้งหมด 6 จุดเช็คอิน คือ

  • จุดเช็คอินที่ 1 ลานเก่าเล่าเรื่อง
  • จุดเช็คอินที่ 2 ลือเลื่องเมืองงาม
  • จุดเช็คอินที่ 3 สมนามหลวงพ่อเพชร
  • จุดเช็คอินที่ 4 เกร็ดวรรณคดี
  • จุดเช็คอินที่ 5 กุมภีล์ชาละวัน
  • จุดเช็คอินที่ 6 กล่าวขานเมืองพิจิตร

โดยมีแผนที่ลายแทงให้ผู้เรียนได้เดินไปในแต่ละจุดเช็คอินเพื่อค้นคว้าหาคำตอบไปจนจุดเช็คอินสุดท้าย หลังจากนั้นผู้สอนเริ่มเกมกิจกรรม โดยสมมติว่า...นักเรียนเป็นนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่หลงยุคเข้ามาในอดีตและต้องการหาหนทางกลับบ้านนั่นก็คือปัจจุบัน แต่ต้องทำภารกิจตามล่าหารหัสลับที่จะเป็นกุญแจสำคัญพากลับบ้าน....


โดยเมื่อทำการสำรวจบริเวณสถานที่นั้นแล้ว จึงรับบัตรกิจกรรมในจุดเช็คอินที่ 1 เมื่อผู้เรียนค้นหาคำตอบในบัตรกิจกรรมว่าจุดเช็คอินถัดไปคือสถานที่ใดตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อผ่านไปยังจุดเช็คอินถัดไป หลังจากนั้นจึงจะได้รหัสลับ (Secret Code) ที่ต้องสะสมให้ครบทุกจุดเพื่อไขปริศนาในจุดสิ้นสุดของเกมจึงจำเป็นต้องเก็บเป็นความลับ โดยผู้เรียนจะต้องค้นหาคำตอบดังที่กล่าวมาจนครบทั้ง 6 จุดเช็คอิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

🔸️บัตรกิจกรรม (เพื่อค้นหาคำตอบว่าจุดเช็คอินถัดไปคือสถานที่ใด)

จุดเช็คอินที่ 1 วัดมหาธาตุ “อยู่ใกล้เหมือนอยู่ไกลต้องข้ามน้ำไปอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ เป็นอุโบสถ มีใบเสมาสองชั้น”

จุดเช็คอินที่ 2 โบสถ์เก่าหลังวัดมหาธาตุ “หน้าตาแปลกไป ข้างในร่มเย็น ศิลปะสุโขทัย เดิมประดิษฐานหลวงพ่อเพชร และจะพบพระภิกษุ”

จุดเช็คอินที่ 3  วัดนครชุม อยู่นอกกำแพงเมือง/ภรรยาของพลายงาม/สะใภ้ของขุนแผน/1 ในของวิเศษของขุนแผน/มีพื้นดินเล็กๆ อยู่กลางน้ำ

จุดเช็คอินที่ 4  เกาะศรีมาลา “ชาละวันกุมพีล์ จระเข้แสนดีอยู่ในถ้ำธารา...”

จุดเช็คอินที่ 5  ถ้ำชาละวัน “หลักชัยของเมือง”

จุดเช็คอินที่ 6  ศาลหลักเมือง “เป็นเจ้าเมือง”


🔸️Secret Code

  • จุดเช็คอินที่ 1 “นึกถึงอะไร เมื่อพูดถึงพิจิตร”
  • จุดเช็คอินที่ 2 “ไม่ใช่สถานที่”
  • จุดเช็คอินที่ 3 “เป็นบุคคล”
  • จุดเช็คอินที่ 4 “เป็นเพศชาย”
  • จุดเช็คอินที่ 5 “ตามหาบุคคลที่จะนำคุณไปสู่ปัจจุบัน”
  • และจุดสุดท้ายเฉลยคำตอบ


ซึ่งในระหว่างการทำกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวจะใช้คะแนนเป็นสิ่งกระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาคำตอบ คะแนนดังกล่าว คือ คะแนนในเกมเพื่อทำกิจกรรม ซึ่งไม่มีผลต่อการวัดประประเมินผลการเรียนในชั้นเรียน ผู้เรียนจึงเรียนรู้ได้อย่างอิสระและมีความสุขในสถานที่จริงทางประวัติศาสตร์ (Happiness Space) ทำให้ผู้เรียนเกิดการตื่นรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองเก่าพิจิตร เป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกรักท้องถิ่นของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจต่อการเสียสละของบรรพบุรุษ และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตลอดจนสามารถสร้างเครือข่ายทางการเรียนรู้และต่อยอดเป็นโครงงานประวัติศาสตร์ได้


—————

🔹️🔹️ปัญหา/จุดที่ต้องพัฒนา 🔹️🔹️

1.ควรปรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเกมที่สอดคล้องกับผู้เรียนและในส่วนของชุด Secret Code ควรมีหลายชุด เพื่อให้เกิดความแตกต่างของคำตอบ

2. ควรนำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีกระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติขณะเรียนรู้ในรูปแบบขั้นตอนการทำงานของนักประวัติศาสตร์ไปใช้ที่เป็นกระบวนการสืบสวนทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งแต่การอ่าน การค้นคว้า การสืบค้น การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ตีความข้อมูลสารสนเทศจากข้อมูลหลักฐานต่างๆ


#เรียนประวัติศาสตร์byครูชุ

ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 12

ชื่อไฟล์​: 883896DD-596D-4DE2-A2B8-4F93741E0A58.jpeg

ดาวน์โหลดแล้ว 15 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(6)
เก็บไว้อ่าน
(4)