icon
giftClose
profile

สร้างพื้นที่ปลอดภัยในจิตใจ..ผ่าน journal feedback

22912
ภาพประกอบไอเดีย สร้างพื้นที่ปลอดภัยในจิตใจ..ผ่าน journal feedback

Journal หรือบันทึกการเรียนรู้ คือช่องทางในการสื่อสารของครูและนักเรียนและเปิดพื้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายกระชับและแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เมื่อมีคนเขียน ก็ต้องมีคนตรวจ และถ้าหากการตรวจนั้นเป็นการตรวจแบบ personalise เด็กๆ จะตอบรับ personalisation feedback จากครูอย่างไร

จากสถานการณ์โควิด ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป รวมถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน

เมื่อชีวิตต้องอยู่แต่บ้านและพบเจอกันผ่านจอคอมพิวเตอร์หรือจอทีวี ทำให้เด็กๆ หลายคนเริ่มรู้สึกเหี่ยวเฉา ไม่สดใส โควิดไม่เพียงแต่พรากชีวิตของมนุษย์ไปแต่ทว่ายังพรากความสดใสตามวัยของเด็กๆ ไปอย่างสิ้นเชิง


เมื่อเด็กๆ เริ่มรู้สึกเหี่ยวเฉา งานเขียนของเขาก็เปลี่ยนไป จากชีวิตประจำวันที่เคยพบเจอผู้คน มีเรื่องเล่า

มากมาย เมื่อโดนจำกัดอยู่เพียงแค่บ้านหรือห้องสี่เหลี่ยม ก็กลายเป็นว่าไม่มีอะไรจะเล่าเสียอย่างนั้น ทำให้ครูถึงกับคิดหนักว่าจะทำอย่างไรดี ที่จะกระตุ้นให้เด็กๆ อยากแชร์ อยากบอกเล่า สิ่งที่ได้พบเจอมา แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่แสนธรรมดา แต่จะทำอย่างไรที่ครูจะสื่อสารให้เด็กๆ รู้ว่า ในความธรรมดาเหล่านั้น ยังมีคนที่พร้อมรับฟังพวกเขาอยู่


ในช่วงเริ่มแรก ครูพยายามสื่อสารและส่ง feedback ความรู้สึก คำชื่นชม หรือการเติมเต็มจุดที่ควรได้รับการส่ง

เสริมเพิ่มเติมให้กับเด็กๆ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ ซึ่งก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง เนื่องจากเด็กบางคนไม่รู้วิธีการเปิดอ่าน feedback จากครูใน google classroom หรือ google sheet เมื่อสถานการณ์โควิดเริ่มคงที่และสามารถกลับมาเรียนที่โรงเรียนได้ ครูจึงลองเขียน feedback ที่มีทั้งความรู้สึกจากเรื่องที่ได้อ่าน คำชื่นชมที่ครูมีต่อเรื่องนั้นๆ การเติมเต็มจุดที่ควรได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติม เช่น ความสะอาด การทำงานให้เรียบร้อย หรือลายมือเป็นต้น หรือกระทั่งการสร้างคำถามย้อนกลับไปสู่ตัวผู้เขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางอ้อม เช่น


เด็กชาย a เขียนเล่ามาว่าวันนี้ผมไปทานอาหารที่ร้านนี้มาครับ

ครูจึงตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องย้อนกลับไปที่เด็กชาย a เช่น

ครูก็เคยไปร้านนี้มาเหมือนกันนะ เด็กชาย a ชอบทานเมนูอะไรของร้านนี้เอ่ย ครูชอบ…😊


เมื่อได้ทดลองเขียน feedback รูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ เด็กๆ ก็เริ่มคุ้นชินที่จะเปิดสมุดบันทึกหรือ journal เพื่ออ่าน

feedback หรือคำถามย้อนกลับจากครู นานวันเข้า เด็กๆ ก็เริ่มหาเรื่องเล่า ความชอบ สิ่งที่สนใจและนำมาบันทึก ท่ีน่าสนใจคือ เด็กๆ เริ่มเรียนรู้ที่จะตั้งคำถามย้อนกลับมาถึงครูด้วย! เกิดเป็น moment น่ารักๆ ที่บางครั้งครูก็ตอบถูกตอบผิดและเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ และสร้างความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “พื้นที่ปลอดภัย” ของกันและกัน

พื้นที่ปลอดภัยในที่นี้ ไม่ใช่แค่เพียงว่าเด็กๆ จะนำมาซึ่งเรื่องเล่า หรือประสบการณ์ที่ดีเท่านั้น พื้นที่ปลอดภัยใน

ที่นี้ คือพื้นที่ที่เสียงของพวกเขา ซึ่งบางครั้งได้บอกเล่าประสบการณ์ในโรงเรียน ในบางเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเศร้า เสียใจ ได้ถูกมองเห็นและได้รับการตอบรับจากครู ไม่เพียงแต่เพื่อให้ครูได้รับทราบความรู้สึก แต่ทว่ายังช่วยให้ครูได้คิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย

กาลครั้งหนึ่ง เด็กชายคนหน่งเคยเขียนเล่าให้คุณครูฟังว่า เขาน่ะ ไม่ชอบเรียนวิชาดนตรีเอาเสียเลย มันยากเกินไป

สำหรับเขา และเหนือสิ่งอื่นใด คือเขารู้สึกอายและเสียใจที่เขาเล่นดนตรีไม่ได้เท่าเพื่อน ทำให้เขาเกิดความรู้สึกทางลบกับวิชาดนตรีและอัดอั้นตันใจจนต้องใช้พื้นที่ใน journal เป็นที่ระบายความในใจ


เมื่อครูได้ตรวจ journal ของเด็กชายคนนั้น ก็ได้ลองซักไซ้ไล่เรียงถึง timeline และที่มาของเหตุการณ์ตามที่เด็กชายเล่า และเมื่อได้ตรวจสอบแน่นอนแล้วว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จึงได้พูดคุยและวางแผนแนวทางป้องกันกับครูผู้สอนวิชาดนตรี ผ่านไปสักพัก เด็กชายคนนั้นก็ได้กลับมาเขียน journal เกี่ยวกับวิชาดนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ ความรู้สึกเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง.. 😀



ความสัมพันธ์ที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย สร้างได้ด้วยใจของเรา 🤗🤗🤗🤗

แท็กที่เกี่ยวข้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(3)
เก็บไว้อ่าน
(1)