inskru
gift-close

คิดอย่างไรให้นอกกรอบ ?

2
2
ภาพประกอบไอเดีย คิดอย่างไรให้นอกกรอบ ?

"การคิดให้ออกจากกรอบนั้นเป็นกระบวนการที่บุคคลไวต่อปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ไม่ประสานกันและไวต่อการแยกแยะ สิ่งต่างๆ ไวต่อการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา ไวต่อการเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง ทดสอบอีกครั้งเกี่ยวกับสมมติฐาน จนในที่สุดสามารถนำเอาผลที่ได้"

ในการเรียนการสอนควรปลูกฝังให้มีการ

คิดนอกเรื่อง หรือคิดนอกกรอบให้เกิดความรู้ใหม้ ควรเป็นการตั้งคำถามประเด็นว่าทำไม แล้วจะเป็นไปได้ไหม

เช่นชาวญี่ปุ่นจะขายแตงโม แต่ทำยังไงให้เป็นเอกลักษณ์และตั้งคำถามว่าทำไมแต่งโมต้องเป็นรูปกลม ปัจจัยอันนี้ทำให้เกิดแรง ผลักดันในการค้นหาตัดต่อพันธุกรรมของแตงโมสุดท้ายได้ลูกแตงโมที่แปลกตาออกไป เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมสีเขียวรสชาติคงเดิมแต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างคือความแปลกใหม่ให้กับผู้พบเห็น

ค้นหาแรงผลักดัน มาเป็นสิ่งเร้าในการค้นหา การพยายามสร้างแรงผลักดันจะช่วยเสริมให้เราสามารถคิดอะไรที่แตกต่างออกไป การนำสิ่งต่างๆที่เรามองออกไปจากรอบตัวเรามากระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ต้องอาศัยการเพ้อฝันในบางครั้ง จะช่วยให้มีแนวคิดที่แตกต่างออกไปจากกรอบเดิม

มองเรื่องง่ายๆ ผลงานการออกแบบทีได้รับรางวัลมากมาย ในเรื่องของการโดนใจกรรมการมากที่สุด จะเป็นการนำเสนอในเรื่องความโดดเด่นของอัตตาลักษณ์ ที่มองเรื่องง่ายๆของการนำเสนอแล้ว ดึงดูดความสนใจ บางครั้งไม่จำเป็นต้องคิดอะไรเยอะ ซับซ้อน มองหาความเรียบง่าย รูปทรงเรขาคณิตมีใช้ในการออกแบบอย่างแพร่หลาย หรือภาพเขียนในสมัยก่อนใช้รูปร่างของธรรมชาติในการบันทึกความเป็นมาในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี

พัฒนารูปแบบเดิมๆ สิ่งที่เดิมๆเก่าแก่ก็มีคุณค่า แต่ต้อรับกับสมัยนิยมในปัจจุบัน การนำรูปแบบที่มีอยู่เดิมมาต่อยอดความคิดจะช่วยพัฒนาสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นไป มีความสมบูรณ์มากขึ้น ตอบสนองความต้องการได้ดี

อารมณ์ดี คิดบวก  เป็นการมองภาพสร้างความเชื่อมันให้กับตัวเองเชื่อในสิ่งที่ตัวเองจะทำ เป็นการเสริมแรงความมั่นใจและมีทัศนะคติที่ดีในการคิดสร้างสรรค์ เช่น การสร้างอารมณ์จากการฟังเพลง การฟังเสียงจากธรรมชาติ หรือการนั่งพักผ่อนหรือฝึกสมาธิ  การควบคุมจิตใต้สำนึกให้ สดใส สดชื่น เบิกบาน เป็นการเปิดสมอง ให้มีความคิดอะไรใหม่

ฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ บางทีจิตนาการความคิดอาจหยุดลง หากมีตัววัฒนธรรมต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้ามั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ดีงามหรือสร้างสรรค์คุณค่าให้กับสังคม อาจจะอาศัยแนวคิดเก่ามาผสมกับแนวคิดให้ลองฉีกกรอบแนวคิดและกลับเข้าสู่ความจริงดูความเหมาะสมว่าเป็นไปได้หรือไม่

เปิดใจแลกเปลี่ยนทัศนะ ยอมรับความคิดเห็นมุมมองใหม่ หรือเรียกว่า ไม่ปิดกั้นตัวเองในการเสพความรู้ประสบการณ์ต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจะช่วยให้มีสัมพันธภาพและมีพัฒนาการความคิดดี

ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้แบบคิดนอกกรอบ

-        เป็นการค้นหาและพัฒนาการวิทยาการใหม่ๆ

-        มีความสนุกและเกิดทักษะการรอบรู้ในสิ่งที่อยู่รอบๆตัว เป็นคนฉลาดคิดแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างรอบคอบ

-        มีความสุข สร้างความเชื่อมัน ความประทับใจ การยกย่องให้กับตัวเอง

-        สร้างความอดทน ความตั้งใจ ความสามารถและแนวทางการใช้ชีวิตประจำวัน

จากสิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์ เป็นเรื่องราวของการสร้างความสุข เป็นการพัฒนาในสิ่งที่สงสัย อยากรู้อยากค้นหา จะช่วยสร้างแรงพลันดันให้เกิดสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆตัวเรา ในการแก้ไขปัญหา แต่ ความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ต้องเคารพและให้เกียรติในสิทธิของผู้อื่น และไม่ขโมยผลงานผู้อื่นมาสร้างสรรค์ผลงานตน

โดยต้องยึดหลักจรรยาบรรณ ไม่ฉะนั้นจะไม่ถือว่าผู้นั้นได้คิดสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นมา ความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำมาพัฒนาตนเองได้ในทุกสายวิชาชีพ หลายสาขาการเรียน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสสร้างทัศนะที่คิดแตกต่างออกไป การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานที่ดี

สังคมศึกษาครูปล่อยของมหาสารคามCreative-Critical Thinkingเทคนิคการสอน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

2
ได้แรงบันดาลใจ
2
ลงไอเดียอีกน้า~

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
credit idea

ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

ไอเดียน่าอ่านต่อ