นโยบายการเงินการคลัง (รายได้ของรัฐ) ม.5
วิธีการสอนแบบกรณีตัวอย่าง
1.ครูขอร่วมมือในการให้นักเรียนที่สะดวกสมัครใจนำเสื้อลำลองมาด้วย1ตัวและอนุญาตให้ใส่ในคาบนี้
พอถึงคาบ ก็วอร์มอัพ ด้วยแจกกระดาษ โน้ตให้คนละแผ่นให้นักเรียนเขียนสิ่งที่คิดว่าอะไรบ้างที่ทำให้รู้สึกว่าชีวิตไม่มั่นคง
(สรุปได้)
1.เงิน
2.ครอบครัว
3.การเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบ
4.ขนส่งสาธารณะ
2.จากนั้นก็แจกกระดาษ a4 แบ่งกลุ่ม แบบเพื่อนคู่คิด
ครูให้แต่กลุ่มประเมินมูลค่าสิ่งของ ของสมาชิกในกลุ่มรวมกัน เช่นโทรศัพท์ นาฬิกา อื่นๆยกเว้นเครื่องแบบนักเรียนแล้วเขียนมูลค่ารวมไว้ จากนั้นให้แต่ละกลุ่ม ขานมูลค่าทีละกลุ่ม นักเรียนจะเห็นถึงมูลค่าความแตกต่างกัน ครูเชื่อมโยง
ยกประเด็นปัญหาให้นักเรียนดีเบตปัญหาทีละประเด็น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ปัญหาการศึกษา ชุดไปรเวทvsชุดนักเรียน ช่วงที่เสียงดังมากทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
3.อธิบาย เชื่อมโยงเนื้อหานโยบายการคลัง รายได้ของรัฐการจัดเก้บภาษีและสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมเพิ่มเติมเล็กน้อยจากที่นักเรียนได้ถกเถียง
ข้อค้นพบคือผู้เรียนไม่ได้รู้สึกแปลกแยกมาก หรือผู้เรียนจริงๆแล้วอาจไม่ได้ต้องการชุดที่แบบไปรเวทเลย เพียงแต่ต้องการชุดที่สะดวกสบายอย่างเหตุผลที่ชอบใส่ชุดพละ ระเบียบบางอย่างถูกตีความเคร่งเกินไปอย่างการใส่เสื้อกันหนาวกลายเป็นเรื่องยากบางคนก็ต้องการใส่กันแดดในตอนเช้า หรือบางคนเป็นคนขี้หนาวหรือการที่ไม่เข้าใจว่าชุดนักเรียนก็ใส่ ใส่ได้แต่มันมีข้อบังคับบางอย่างที่จุกจิกเพิ่มค่าใช้จ่าย อย่างการผูกขาดเครื่องแบบ กระเป๋า ในบางโรงเรียน และผู้เรียนมองว่า ในสังคมมีการด้อยค่าผู้อื่นด้วยเครื่องแบบบ้างอย่างเครื่องแบบของอาชีพหนึ่งจะได้รับการปฏิบัติต่างกัน จากสังคมภายนอก แต่การให้พื้นที่ถกเถียงหรือรับฟังผู้เรียนในตอนนี้ยังน้อยมากที่เขาจะได้สื่อสารออกไป
ดีใจมากที่นักเรียนมองทะลุไปไกลมากอย่าง เครื่องแบบนักเรียนกับไม่มีปัญหาที่จะพูดถึงแต่กลับ พูดถึง หลักสูตรการเรียน แบบเรียน โอกาสการเข้าถึงการศึกษา รัฐสวัสดิการ มากกว่า
ก่อนจบจะคาบไปโดยนักเรียน
#ครูปล่อยของ
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!