icon
giftClose
profile

10 TIPS ปลุกความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก

24840
ภาพประกอบไอเดีย 10 TIPS ปลุกความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก

10 เคล็ดลับง่าย ๆ จาก MIT Media Lab ที่จะช่วยให้คุณครู คุณพ่อคุณแม่ หรือนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สามารถปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวผู้เรียนของคุณ 🤩

10 TIPS ปลุกความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กใน project-based learning



1. คิดไม่ออกยกตัวอย่างสิ

.

การยกตัวอย่างเป็นการเปิดให้เห็นถึงความเป็นไปได้ และ เป็นจุดเริ่มต้น

ให้เด็กคิดริเริ่มสร้างสรรค์

.

ข้อควรระวัง : เด็กอาจไม่คิดเองและทำตามตัวอย่าง เราสามารถแก้ได้

ด้วยการส่งเสริมให้เด็กดัดแปลง ปรับเปลี่ยน

หรือ ให้ความเป็นตัวเองลงไปในตัวอย่าง


2.ลองทำก่อนเดี๋ยวคิดออกเอง

.

ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดจากการใช้หัวคิดอย่างเดียว แต่การเล่น

และลงมือทำสามารถดึงไอเดียใหม่ๆออกมาจากเด็กๆได้


3.อุปกรณ์เปิดความเป็นไปได้

.

การเตรียมอุปกรณ์ที่หลายหลาย เช่น อุปกรณ์การวาด อุปกรณ์สำหรับทดลอง

เพื่อสร้างโปรโตไทป์ อุปกรณ์งานฝีมือ หรือ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยี ทำให้เด็กๆ

มีทางเลือกที่จะปลดปล่อยความคิดได้อย่างหลากหลาย และ สร้างสรรค์


4.เปิดรับความแตกต่าง

.

เด็กแต่ละคนมีความสนใจที่ต่างกัน บางคนอาจชอบเขียน ชอบวาดรูป

ชอบงานประดิษ หรือ ชอบแสดงออกด้วยร่างกาย การทำให้เด็กได้ลอง

การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในแบบต่างๆ จะช่วยให้เด็กเจอวิธีสร้างสรรค์

ที่ชอบ และ เข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น


5.ให้ความสำคัญกับกระบวนการ

.

เรามักให้ความสำคัญกับผลงานท้ายสุด แต่กระบวนการทำระหว่างทาง

เป็นสื่งที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้มากกว่า เราจึงควรให้ความสำคัณกับ

กระบวนการทำระหว่างทาง ทั้งที่สำเร็จ และ ไม่สำเร็จ เราควรมีเวลาให้เด็กๆ

แชร์ว่าตอนนี้ทำงานถึงขั้นไหน และ จะทำอะไรต่อ เพราะอะไร กิจกรรมแบบนี้

จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งจากตัวเอง และ จากเพื่อนในห้อง


6.ขยายเวลาสร้างสรรค์

.

การจำกัดเวลาของโปรเจคในคาบเรียนหนึ่งคาบ อาจเป็นการบีบให้เด็กๆ

ต้องรีบหาทางเพื่อจะทำให้ทัน จึงทำให้ไมกล้าเลือกทางที่แตกต่าง หรือ ไม่ได้

ทดลอง และ หาข้อมูลเพิ่มเติมมากนัก การขยายเวลาเป็นสองคาบ สามคาบ

หนึ่งวันเต็ม หรือหนึ่งอาทิตจะทำให้เด็กมีเวลาสำรวจความคิดได้อย่าง

สร้างสรรค์มากขึ้น


7.รับบทแม่สื่อ

.

หลายครั้งที่เด็กๆอยากจะแชร์ไอเดีย และหาคนมาร่วมทำโปรเจค แต่ไม่รู้จะทำ

อย่างไร เราสามารถเป็นแม่สื่อจับกลุ่มเด็กๆที่มีความสนใจตรงกันมาพูดคุย

และ ทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างcommunityที่สร้างสรรค์ให้เด็กๆ


8.หาจุดพอดีในการช่วยเหลือ

.

บางครั้งเราอาจบอกให้เด็กๆทำนู่นทำนี่ หรือ ช่วยเขาแก้ปัญหามากหรือน้อย

เกินไป จนทำให้เด็กๆไม่ได้เรียนรู้ หรือ มีอิสระเท่าที่ควร

เราควรหาจุดตรงกลางที่ทั้งเด็กๆและเราสามารถทำงานร่วมกัน

อย่างมีประสิทธิภาพ และได้เรียนรู้มากที่สุด


9.คำถามสะท้อนการเรียนรู้

.

การที่เด็กๆอินกับโปรเจคเป็นเรื่องดี แต่การให้เด็กๆได้ถอยออกมาเข้าใจ

ตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เราสามารถทำได้ด้วยการตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์กับ

เด็กๆ เช่น คิดไอเดียนี้ขึ้นมาได้อย่างไร อะไรที่ทำให้serpriseที่สุดใน

การทำงานนี้ หรือ กำลังทำอะไรอยู่ คำถามเหล่านี้ผลักดันให้เด็กreflectตัวเอง

แล้วเรียบเรียงออกมาคำตอบซึ่งมักทำให้เป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนขึ้น


10.แบ่งปันประสบการณ์

.

หลายครั้งที่เรามักไม่อยากพูดถึงกระบวนการคิดของเราเพราะไม่อยากให้

เด็กๆรู้ว่าเราเองก็สับสน และไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่ในทางกลับกันการแชร์

ว่าเราก็ต้องเจอความยากในกระบวนการคิดนั้นทำให้เด็กๆได้เรียนรู้ ว่าไม่ว่า

จะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็เจออุปสรรค์ แถมเด็กๆยังได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาของเรา

อีกด้วย

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(1)
เก็บไว้อ่าน
(4)