icon
giftClose
profile

รวมไอเดียแบ่งกลุ่มสุดเจ๋ง !

373872
ภาพประกอบไอเดีย รวมไอเดียแบ่งกลุ่มสุดเจ๋ง !

รวบรวมไอเดียการแบ่งกลุ่มผู้เรียน ที่จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

มีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยเเบ่งกลุ่มเด็กๆให้สนุกยิ่งกว่าเดิม?

.

ทาง Inskru จะมานำเสนอ วิธีการเเบ่งกลุ่มสุดครีเอท

ที่มีทั้งเเบบสุ่มสุดๆ เเบบที่เปิดโอกาสใหคุณครูได้เป็นคนกำหนดด้วยส่วนหนึ่งเพื่อจะได้สร้างความหลากหลายในกลุ่ม

เเละเเบบที่คุณครูกำหนดรายชื่อเอง (เเต่สนุกสุดๆ) รวมอยู่ด้วยกัน

.

ถ้าคุณครูพร้อมเเล้ว ไปดูกันเลย!



เกม Category

คือ เกมส์ที่เปิดโอกาสให้คุณครูกำหนดรายชื่อสมาชิกในกลุ่มเอง

เเต่นำเสนอให้เด็กๆในเเบบที่สนุกเเละเรียก energy เด็กๆให้เข้าสู่โหมดการมีส่วนร่วมได้ดี


วิธีการเล่น

- คุณครูกำหนด category หรือประเภทของสิ่งของบางอย่างให้กับเเต่ละกลุ่ม ผ่านการใช้ภาพหรือคำของสิ่งต่างๆใน category นั้น

เช่น สมมติว่าคุณครูต้องการกลุ่ม 3 กลุ่ม ที่มีสมาชิกกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน

กลุ่มที่ 1 Catergory ยานพาหนะ - ภาพรถ (บนป้ายชื่อที่1) ภาพเรือ (บนป้ายชื่อที่2) ภาพเครื่องบิน (บนป้ายชื่อที่3)

กลุ่มที่ 2 Category ผลไม้ - ภาพส้ม (บนป้ายชื่อที่4) ภาพมะม่วง (บนป้ายชื่อที่5) ภาพกล้วย (บนป้ายชื่อที่6)

กลุ่มที่ 3 Category ของใช้ในครัว - ตะหลิว (บนป้ายชื่อที่7) ภาพจาน (บนป้ายชื่อที่8) ภาพเขียง (บนป้ายชื่อที่9)

- เเจกป้ายชื่อที่มีภาพเหล่านั้นให้เเก่เด็กๆ

- ให้เด็กๆพยายามหาทางจับกลุ่มที่คิดว่าตัวเองน่าจะอยู่ ผ่านการสื่อสารเเละวิเคราะห์กับคนอื่นๆว่ามีเพื่อนๆเเต่ละคนมีภาพอะไร โดยคุณครูจะห้ามบอกว่ามี category อะไรบ้าง


รับรองว่าจะเด็กๆจะได้ความสนุกไปพร้อมๆกับการขบคิดเเน่นอน


ไอเดีย category อื่นๆ

  • จังหวัดในเเต่ละภาค
  • ประเทศในเเต่ละทวีป
  • ตัวละครในวรรณคดีเเต่ละเรื่อง
  • ประเภทกลอน
  • เเบ่งกลอนเป็นวรรคๆ
  • เนื้อเพลงในเเต่ละเพลง
  • ต่อคำสุภาษิต

เเละอื่นๆอีกมากมาย ที่คุณครูสามารถผนวกเข้ากับเนื้อหาที่เรียนอยู่ได้อีกด้วย



หนึ่งในวิธีที่ง่ายๆในเเบ่งกลุ่มเด็กๆเป็น 2 กลุ่ม

ผ่านการทำให้เด็กๆเห็นว่าเเม้ว่าบางอย่างที่ดูเหมือนจะเหมือนกันเเต่หากสังเกตดีๆในความเหมือนนั้นก็มีความต่างอยู่ 


วิธีการเล่นมีหลากหลายเเบบมาก เช่น

  • เอามือสองข้างประสานกันเเน่นๆ นิ้วโป้งข้างไหนอยู่ข้างบน (คนที่นิ้วโป้งซ้ายอยู่บนคือกลุ่ม 1 เเละคนที่อยู่นิ้วโป้งขวาอยู่บน อยู่กลุ่ม 2)
  • เอาเเขนกอดอก - เเขนข้างไหนอยู่ข้างหน้า
  • เอาขาไขว่ห้าง - ขาข้างไหนอยู่บนขาอีกข้าง
  • กระโดดสูงๆหนึ่งครั้ง - เท้าข้างไหนอยู่ข้างหน้าอีกข้าง


หนึ่งในข้อคิดดี ๆ ที่คุณครูอาจเพิ่มไปหลังจากเเบ่งกลุ่มผ่านวิธีนี้เสร็จเเล้ว

คือ การให้เด็ก ๆ ได้ตระหนักว่า หลายๆครั้งคนเราทำบางอย่างอัตโนมัติเพราะความเคยชิน เเละอาจไม่ได้ใส่ใจมากนัก

ทั้งการกอดอก ไขว่ห้าง หรือประสานมือ

เช่นเดียวกันกับ การพูดหรือเเสดงบางอย่างกับบางคนไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าว การเห็นด้วย หรือการไม่เห็นด้วย

ฉะนั้น คอยสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่าเราทำอะไรอยู่ หรือทำให้ใครรู้สึกอย่างไร เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง 



หนึ่งในเเอพผู้ช่วยจับเเละสุ่มสมาชิกในกลุ่มที่เป็นที่นิยมในหมู่คุณครูทั่วโลก คือ


Team shake

วิธีการใช้ก็ง่ายมากๆ

  • เพียงใส่ชื่อนักเรียนลงไปเเอพ (คุณครูสามารถพิมพ์ลงไปเอง หรือ import รายชื่อเข้ามาได้)
  • เลือกจำนวนกลุ่มที่ต้องการ
  • จัดการเขย่ามือถือ (หรือเเท็บเล็ต) เพื่อทำการสุ่มได้เลย

เเละสุดท้าย คุณครูก็จะได้รายชื่อในนักเรียนเเต่ละกลุ่มภายในพริบตา!


เพิ่มเติม : นอกจากนี้คุณครูยังสามารถใส่ เพศ ระดับความสามารถ หรือคุณสมบัติอื่นๆ

เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับกลุ่มได้อีกด้วย


ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Team shake ได้ที่ลิงค์นี้

https://www.rhine-o.com/www/iphone-apps/team-shake/ 



โค้ดสี

คือ หนึ่งในวิธีการจับกลุ่มที่ถูกใจทั้งเด็กๆเเละคุณครู


เพราะในขณะที่คุณครูได้กำหนดความหลากหลายในกลุ่ม

เด็กๆก็ได้อิสรภาพในการเลือกสมาชิกด้วยเช่นกัน


อะไรมันจะดีขนาดนี้!


เรามาดูวิธีการเล่นกันเลย

  • กำหนดความหลากหลายในเเบบที่คุณครูต้องการในรูปเเบบของสี

เช่น เด็กที่มีคุณสมบัติ A = สีเเดง

เด็กที่มีคุณสมบัติ B = สีเขียว

เด็กที่มีคุณสมบัติ C = สีเหลือง


ซึ่งความหลากหลายในคุณสมบัติเหล่านี้จะเป็นอะไรก็ได้ ตั้งเเต่ความถนัด เพศ อายุ หรือความสนใจ

  • ใส่โค้ดสี (ระบายสี หรือเเปะสติ้กเกอร์) เหล่านี้ลงบนป้ายชื่อของเด็กๆ
  • เเจกป้ายชื่อให้เด็กๆ
  • คุณครูกำหนดว่าในหนึ่งกลุ่มจะต้องมี สีเเดง สีเขียว เเละสีเหลือง อยู่ด้วยกันอย่างละกี่คน

เช่น เเบ่งกลุ่มที่มีสมาชิกในกลุ่ม 5 คน โดยต้องมี สีเเดง 2 คน สีเขียว 2 คน เเละสีเหลือง 1 คน


เพียงเท่านี้ทุกกลุ่มก็จะมีความหลากหลายในเเบบที่คุณครูต้องการ

เเถมเด็กๆก็ได้เลือกสมาชิกในกลุ่มกันเองอีกด้วย 



หากใครมีไอเดียอะไรอย่าปล่อยให้หายไปกับห้องเรียนใดห้องเรียนหนึ่ง มาส่งต่อไอเดียไปสู่ห้องเรียนอื่นๆเพื่อสร้างห้องเรียนแห่งความสุขทั้งครูและเด็กกันค่ะ ที่...

website www.inskru.com

Facebook Group  ครูปล่อยของ(เพื่อนพลเรียน)

เขียนใน Facbook ตัวเองเปิด Public แล้วติด Tag เพจ insKru ให้ตามไปดู

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(2)
เก็บไว้อ่าน
(10)