icon
giftClose
profile

“STAMPER Learning”

43199
ภาพประกอบไอเดีย “STAMPER  Learning”

ต่อยอดจาก STEAM Design Process เป็น STAMPER Learning ให้สามารถบูรณาการทักษะต่าง ๆ ได้ครบมากขึ้น พร้อมช่วยให้คุณครูประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรมเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น



STAMPER Learning 

เพิ่มนิดปรับหน่อย เปลี่ยนจากการเรียนการสอนที่ประเมินไม่ชัดไม่เห็นภาพ 

เป็นการเรียนรู้ที่ชัดขึ้น ทั้งครูและนักเรียน 

วัดง่าย เข้าใจตรงกัน เห็นภาพรวม ประยุกต์สอนต่อได้สบาย ๆ  

.

“เด็ก ๆ ที่ครูสอนส่วนมาก เป็นเด็กไทยใหญ่ที่มีปัญหาโดยเฉพาะ ทักษะทางภาษา 

ทำให้ขาดความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นในรูปแบบต่างๆ การเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยเฉพาะภาษาธรรมชาติ (Whole Language) จะเป็นประโยชน์มากเป็นพิเศษสำหรับเด็ก ๆ กลุ่มนี้”

.

จากโอกาสที่ได้เข้าร่วมโครงการพื้นที่นวัตกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีโอกาสพัฒนานวัตกรรมของตัวเองที่ต่อยอดมาจาก STEAM Design Process (เครื่องมือให้เด็กได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานอย่างเปลี่ยนระบบ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะด้านสังคมและอารมณ์) และทฤษฎีของการศึกษาปฐมวัยต่าง ๆ

อัปเกรดเป็น STAMPER Learning ในระดับปฐมวัย

ต่อยอดกระบวนการเรียนการสอนให้สามารถบูรณาการได้ครบมากขึ้น 

จุดเด่นคือเป็นทั้งขั้นตอนและการประเมินวิชาสำหรับคุณครู ครบจบในกระบวนการเดียว 

STAMPER Learning 


S - Science บูรณาการทักษะด้านวิทยาศาสตร์ การสังเกต ความเป็นเหตุและผลในข้อเท็จจริง

T - Technology การบูรณาการเทคโนโลยี สืบค้นข้อมูลสารสนเทศต่างๆ  

A - Art ศิลปะ ทักษะการออกแบบผ่านศิลปะ เพื่อการสื่อสาร และส่งเสริมจินตนาการ 

M - Math บูรณาการคณิตศาสตร์ การวัด ชั่ง ตวง และคิดคำนวณตามหลัก

P - Present ฝึกการนำเสนอ เพื่อการสื่อสาร และเสริมสร้างความมั่นใจในการพูด 

E - Engineer ฝึกออกแบบ วางแผน และลงมือทำจริง 

R - Response การให้และรับผลตอบรับ จากมุมมองและความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ 

.

ภาพขั้นตอนการใช้ STAMPER Learning สำหรับผู้สอน

โดยระยะเวลาการใช้กระบวนการ STAMPER Learning นั้น จะใช้เวลาโดยประมาณ 1 สัปดาห์



.

การที่กระบวนการเรียนรู้นั้นแยกเป็น s-t-a-m-p-e-r นั้น 

ทำให้นักเรียนมีขั้นตอนทำโครงงาน พัฒนาทีกษะด้านต่าง ๆ ที่ชัดเจน 

และครูสามารถเห็นได้ง่าย ว่าเนื้อหาที่จัดให้นักเรียน 

มีความครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน ในภาพรวมตลอดเทอม 

อีกทั้งยังสามารถระบุได้ว่าแต่ละหัวข้อ มี s/t/a/m/p/e/ หรือ r เยอะแค่ไหน 

ครูสามารถเช็ค และพัฒนาเพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เราออกแบบไว้  

.

ตัวอย่างการใช้ STAMPER Learning ในคาบเรียน


1 กิจกรรม ทุกกระบวนการ = ชื่อหน่วย อาหารดีมีประโยชน์ อนุบาล 3 


S - สังเกตเปรียบเทียบผัก ผลไม้ ส่วนผสมต่างๆ ของอาหารดีมีประโยชน์แต่ละชนิด

T - ค้นหา สืบค้นอาหารดีมีประโยชน์ จากอินเทอร์เน็ต หนังสือ (มุมหนังสือ) ผู้ให้ข้อมูล เช่น ผู้ปกครอง คุณครู แม่ครัว และให้เด็ก ๆ ตัดสินใจเลือกข้อมูลสารสนเทศของกลุ่มตนเอง

A - วาดรูป วางแผน ออกแบบอาหารดีมีประโยชน์ของกลุ่มตนเองว่าจะทำอะไร มีลักษณะยังไง (นำกระบวนการ STEAM Design Process มาให้เด็กใช้ในการออกแบบ) 

M - รู้จักรูปร่าง สี จำนวน การชั่ง วัดปริมาณ ของส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อนำมาใส่ในส่วนผสมของกลุ่มตนเอง

P- ฝึกการนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ฟัง ว่ากลุ่มของตนเองเกิดผลอย่างไรบ้าง ตรงกับที่วางแผนไว้หรือไม่ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

E- ออกแบบและสร้างสรรค์ออกมา วิธีการต่างๆ ต้องผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนอะไรบ้าง

R- หลังจากนำเสนอ เปิดโอกาสให้เพื่อนสะท้อนความคิดเห็นกลับมา ว่าการทำงานของกลุ่มนี้เป็นอย่างไร รสชาติของอาหารเป็นยังไง การเติมปริมาณของส่วนผสมต่าง ๆ ควรใส่กี่ช้อน มีผลเป็นยังไง เพื่อยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น


คำแนะนำ

  • การเตรียมตัวของคุณครู ศึกษา ออกแบบรายละเอียดของทักษะด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจน
  • กระบวนการสามารถยืดหยุ่น หรือปรับประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม
  • สามารถนำ STARFISH CLASS มาใช้ในการเก็บผลงาน และประเมินทักษะ STAMPER Learning ได้


ติดตามห้องเรียนของครูพิมได้ที่ 

https://www.facebook.com/WanpisaPruksamas

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(26)
เก็บไว้อ่าน
(9)