icon
giftClose
profile

Polymer ในชีวิตประจำวัน

27361
ภาพประกอบไอเดีย Polymer ในชีวิตประจำวัน

ห่างแค่เพียงเอื้อมมือและมันช่างแสนใกล้ (ตัวเรา)




“เราจะทำอย่างไร ให้นักเรียนที่โดนบังคับเรียนวิชาเคมีทั้งวิทย์เทพและอาร์ทติส เรียนได้อย่างมีความสุขและมีความหมาย”


เป้าหมาย - วิชาเคมีที่ออกแบบให้เด็กทุกสาย


ที่โรงเรียนม.ปลายไม่ได้แบ่งวิทย์ศิลป์ แต่มีวิชาพื้นฐาน ที่นักเรียนม.ปลายทุกคนควรได้เรียนรู้ เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเอง

วิชานี้เป็นวิชาพื้นฐาน มีเงื่อนไขว่า ไม่ว่าผู้เรียนจะเลือกลงลึกไปทาง learning area ไหน เราต้องสร้างบทเรียนให้มีความหมาย แล้วทุกคนได้ประโยชน์จากการเรียนวิชานี้

ให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญว่าโพลิเมอร์นั้นอยู่ในรอบตัวในชีวิต และเมื่อได้เรียนรู้แล้วจะได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ 


บทเรียนนี้สอนเป็น team teaching ประกอบด้วยผู้สอน 2 บทบาท อ.ป๊อก ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชา อ.ศิ ครูกระบวนกร ผู้สนในเคมีที่เป็นทั้ง learning designer และ facilitator เราจึงเริ่มต้นด้วยการที่ อ.ป๊อก นำ core content บทเรียนมากาง แล้ว ครูศิ ก็เริ่มวางแผนการออกแบบบทเรียน

 

‘ทำอย่างไรให้เค้า มีความสนใจเข้าใจเห็นความสำคัญ ของการเรียนเรื่องนี้’  


วิชาเคมีในชีวิตประจำวัน จึงออกแบบให้เป็นวิชาเคมีที่ให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ และเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง


เลยออกแบบให้มีหลายช่วงหลายตอน เพื่อเด็กที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากวิชานี้เป็นพื้นฐานของเด็กทุกคน ต้องให้เค้ารู้ว่าจะไปต่อกับเรื่องนี้มั้ย

 

แบ่งคาบเคมีแบบ 70: 30

เราแบ่งการสอนเป็น 2 ส่วน 

1) 70% เนื้อหา Polymer และความเกี่ยวข้องกับตัวเรา

2) 30% แบ่งเป็น 3 ทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน


70% 


ช่วงที่ 1

  1. เราชวนให้นักเรียนเห็นถึงที่มาที่ไป และความสัมพันธ์ของ Polymer กับตัวเรา
  2. เราชวนนักเรียนนึกถึงองค์ประกอบ คุณสมบัติ การใช้งาน และ ราคาของ Polymer


โจทย์คือ ต้องหาตัวอย่างให้นักเรียนเห็นสิ่งเหล่านี้


ตัวอย่างที่ใช้ประกอบการสอนจากครู : กล่องเอนกประสงค์ของ Muji 

จากการชอบเก็บของไว้ในรถพบว่ากล่องพลาสติกบางอย่างก็กรอบง่าย บางอย่างทนกว่า แต่เลือก Muji เพราะความที่เป็นพลาสติกที่ไม่แข็งเปราะ และความทนทานในอุณหภูมิที่เหวี่ยง ๆ ได้ 


ความสัมพันธ์ระหว่างตัวอย่างกับเนื้อหา Polymer :

สามารถนำคุณสมบัติของ Polymer มาอธิบายได้ เช่น ทำไมของคล้าย ๆ กัน มีหลายราคา มีหลากหลายการใช้งาน


เพื่อให้เห็นความหลากหลายและคุณประโยชน์ของ Polymer เราต้องเลือกตัวอย่างที่เกี่ยวโยงกับทุก ๆ คน โดยพยายามเลือกตัวอย่างให้ไปช้อนนักเรียน ที่ยังไม่เห็นเวทมนต์ของเคมี ให้หันมามองได้


ตัวอย่างที่ใช้กับนักเรียน : เราต้องเฝ้าสังเกตการความสนใจของนักเรียนมาแล้ว เช่น 

สายกีฬา - พื้นรองเท้ากีฬาประเภทต่าง ๆ ยกตัวอย่างด้วย Air Jordan 

สายกีตาร์ - กระจกอะคูสติก


ผลลัพธ์ : นักดนตรี นักกีฬา หันมาหมดจ้ะ แถมยังเป็นกูรูอธิบายรายละเอียดบางอย่างเพิ่มให้ด้วย


ช่วงที่ 2

  1. ครูชวนนักเรียนมาทำการทดลองเชื่อมโมเลกุลของ Polymer สั้น ๆ ให้ยาวขึ้น ด้วยสาร unknown (ที่ไม่บอกว่าคืออะไร) 3 ชนิด ทำเป็น Slime แล้วให้นักเรียนสังเกตปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลง

  2. ผลลัพธ์ : ทำ ๆ ไป เด็ก ๆ เริ่มเดาว่า หน้าตาเหมือน Slime ของง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็เคยเล่น แถมยังเคยเป็นข่าว
  3. เราก็เฉลยว่า “ ใช่แล้ว! ” แล้วถามต่อว่า
  4. “เมื่อสาร A คือ กาวน้ำ แล้ว B,C คืออะไร ?”
  5. “ทำไม/เพราะเหตุใด สาร B, C เปลี่ยนหน้าตากาวน้ำให้เหนียวหนึบ หนุบหนับ ขึ้นได้ ???”


  1. ครูให้นักเรียนหาสูตรโครงสร้างของแต่ละตัว และสุดท้ายเฉลยว่า นี่คือหนึ่งตัวอย่างของ chemical crosslinking
  2. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดทดสอบความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงหน้าตาโครงสร้าง Polymer


30%

 

แบ่งนักเรียนเป็น 3 ทางเลือก

1. เรียนรู้เรื่องที่ลึกลงไปอีก

2. สังเกตปฏิกิริยาของ Slime จากการทดลอง

3. ไม่อยากไปต่อแล้ว ขอพักก่อน

 

สิ่งที่เราเห็น:

  • 90% อยากรู้ต่อ ทั้ง ๆ ที่ เรื่องนี้ไม่ได้ง่าย
  • 5% มาทำ Slime อย่างจริงจัง
  • 5% บอกว่า สมองบวมแล้วขอพักก่อน

 

“อีกอย่างที่สังเกตเห็นคือบรรยากาศที่ นักเรียนเอื้อกันเอง และเอื้อโอกาสให้ครูพร้อมให้ความรู้ พร้อมเรียน ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้”



ผลลัพธ์


ผู้เรียนรู้

เด็กจะรู้จักตัวเอง ได้รู้ตัวว่า เค้าอยากไปแค่ไหน กับบทเรียนแบบนี้ ทำให้ได้รู้สึกว่า จริง ๆ แล้ว 

วิทยาศาสตร์อยู่รอบตัว ไม่ใช่เรื่องยาก เรียนรู้ให้เข้าใจ concept และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อ ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

หรือเตรียมไปต่อสำหรับการเรียนเคมีที่ลงลึกมากขึ้นก็ได้ 


ผู้ร่วมสร้างสรรค์

เด็กบางคนอิน slime มากเลย ไปทำต่อ ไปลองสูตรอื่น มาถามว่าเอาอันนี้นั้นมาเพิ่ม เอาสบู่เหลวไปทำได้มั้ย เด็กมีความสนใจ แสดงความคิดเห็น ถามอยากรู้ลึกขึ้น เริ่มมีการ engage มากขึ้น 


เด็กใช้สายตาจากเคมีไปมองเรื่องอื่นนอกห้องเรียน เช่น น้ำมันทอดซ้ำ คุณสมบัติของทรายแมว การทำงานแบตเตอรี่ องค์ประกอบของยาย้อมสีผม

เค้าเอาข้อมูลที่เรียนในห้องไปวิเคราะห์สิ่งที่เค้าเห็นอยู่ แล้วมาเล่าให้ฟัง ตรงนี้เป็นความรู้ที่เรานึกไม่ถึง เป็นการผนวกเคมีในห้องกับสิ่งที่เค้าสนใจ



Reflection

ชวนให้รู้สึกว่าวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัว ไม่ใช่เรื่องยาก ให้นักเรียนรู้ตัวเองว่าอยากไปต่อกับเรื่องนี้ไหม ชอบเรื่องนี้ไหม และทำให้นักเรียนเริ่มมีการเชื่อมโยงสิ่งรอบตัว ที่ตัวเองสนใจนอกห้องเรียนกับเรื่องที่เรียน

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(12)
เก็บไว้อ่าน
(9)