icon
giftClose
profile

อาจารย์ครับนี่มันไม่ใช่โต้วาทีนี่...

25621
ภาพประกอบไอเดีย อาจารย์ครับนี่มันไม่ใช่โต้วาทีนี่...

ยกประเด็นการเถียงกันใน facebook ออกมาโต้แย้ง ด้วยทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในคาบแนะแนว



"อาจารย์ครับนี่มันไม่ใช่โต้วาทีนี่”


“ใช่ มันไม่ใช่โต้วาที มันคือโต้แย้ง”



เรื่องมันมีอยู่ว่า…


ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ถือเป็น 1 ในทักษะที่สำคัญต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับตัวผมได้พิจารณาจากlถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ที่จะเห็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างกว้างขวาง มีการแสดงจุดยืนทางการเมืองอย่างชัดมากขึ้น การแบ่งขั้วทางความคิดย่อมเกิดขึ้นตามมา ดังที่เราจะพบตามสื่อโซเชี่ยลมีเดีย ทั้งเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล และการแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำหยาบและถ้อยคำเกลียดชัง (Hate Speech) ขาดการรับฟังความเห็นของกันและกัน ที่สำคัญคือการขาดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ทำให้การโต้แย้งดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือการเพิ่มพูนทางปัญญาเลย มีแต่จะสร้างความขุ่นเคืองใจต่อกัน 

 

เห็นได้ชัดว่าปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้การโต้แย้งนั้นพัฒนาไปสู่ Social media ด้วย ไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้า Face to Face เหมือนแต่ก่อน แต่นี่สามารถโต้แย้งกันได้ผ่านหน้าจอสีเหลี่ยม ซึ่งทำให้โต้แย้งได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้ผมเห็นความสำคัญในการปลูกฝังทักษะนี้ เพื่อให้นักเรียนนั้นได้มีการพิจารณาไต่ตรองข้อมูล และเปิดใจรับฟังเหตุผล ผ่านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากนั้นค่อยนำ Fact มาหักล้างกัน 


โดยผมได้จัดในรูปแบบคล้าย ๆ กับการโต้วาที แต่จำลองรูปแบบการเถียงกันใน Facebook ที่มีรูปแบบที่ไม่ตายตัว มีโอกาสที่จะเกิดการใช้ทั้งอารมณ์และเหตุผล 

ด้วยกิจกรรม ตีประเด็นให้ติดคริ ด้วย "Critical Thinking"


ลบภาพโต้วาทีออกไป เพราะความเป็นจริง การโต้แย้งมันพัฒนาตามเทคโนโลยี ที่ก้าวหน้าตามไป อย่างใน Social Media


กติกา

1. แบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝ่ายเท่า ๆ กัน แต่ละฝ่ายจะมีป้าย “โต้แย้ง” กับ “แทน” อย่างละ 1 ป้าย


2. ในกิจกรรมนี้ การเปิดประเด็นไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายเสนอแบบโต้วาที จะเป็นฝ่ายไหนก็ได้เหมือนเวลาที่เราเถียงกันใน Facebook โดยจะใช้การเป่ายิ้งฉุบกัน ใครชนะก็เปิดประเด็นก่อน


3. ให้แต่ละคนในฝ่ายออกมาพูด โดยแต่ละคนจะมีเวลาพูด 1.30 นาที เมื่อหมดเวลาก็สลับไปให้อีกฝ่ายพูด สลับฝ่ายไปมา จนกว่าจะครบทุกคน 

(เว้นแต่ว่าจะมีฝ่ายยึงยอมก่อน เหมือนที่เราเถียงกันในเฟสและขี้เกียจเถียงต่อ)


4. ระหว่างที่ฝ่ายหนึ่งพูด อีกฝ่ายรู้สึกอยากวอร์ (เถียงสู้) ก็สามารถยกป้าย “โต้แย้ง” ได้ เพื่อขอสิทธิ์ในการโต้แย้งแบบ Face to Face (ตาต่อตาฟันต่อฟัน) กับอีกฝ่ายได้ทันที 


// มันสนุกตรงนี้แหละ//


เวลาจะ + 1.30 นาที เพิ่มจากตอนแรก พอหมดเวลาแล้วจะถือว่าเป็นสิทธิ์อภิปรายของฝ่ายที่ถูกโต้แย้ง


5. ถ้าเราเห็นเพื่อนในฝ่ายเราถูกอีกฝ่ายโต้แย้งจนดูท่าจะสู้ไม่ไหว สามารถใช้สิทธิ์พูดแทนได้ โดยยกป้าย “แทน” ได้แค่เพียงครั้งเดียว (กันการพูดคนเดียวจนเพื่อนในฝ่ายเดียวกันไม่ได้พูดสักคน)


6. ผลแพ้ชนะ อยู่ที่การโหวตของผู้ชมซึ่งถือว่าเป็นกรรมการ โดยดูถึงความมีเหตุผลของแต่ละฝ่าย และพิจารณาถึงความเป็น fact (ความจริง) กับ opinion (ความคิดเห็น) ของแต่ละฝ่าย และหลังจากนั้น ก็จะมาช่วยกันสรุปถอดบทเรียนในแต่ละประเด็นกันในห้องครับ รวมถึงวิเคราะห์ประเด็นของแต่ละฝ่ายเพื่อรับ feedback จากเพื่อน ๆ ในห้องด้วยครับ


หมายเหตุ : ต้องสอนนักเรียนเรื่อง critical thinking ก่อนนะครับถึงจะทำกิจกรรมนี้ได้

เสร็จแล้วให้จับมือกันด้วยนะครับแสดงความมีน้ำใจต่อกัน เพราะมันจะออกรสชาติมากตอนทำกิจกรรม 555555



หลังจากได้เถียง (โต้แย้ง) กันอย่างมีวิจารณญาณแล้ว


เขาได้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) 

เพราะได้หักล้างกันด้วยเหตุผลมากกว่าการใช้ถ้อยคำเกลียดชัง อีกทั้งการที่จะชนะให้การโต้แย้งนั้น ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ แต่เกิดจากการฟังและไตร่ตรองข้อมูลของอีกฝ่าย ซึ่งมันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการรับฟังกันและกันด้วยครับ 


ประทับใจตรงที่แต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมกัน พยายามงัดเหตุผลของตัวเองออกมา ถึงจะเห็นการใช้อารมณ์ แต่ก็อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล และนักเรียนในแต่กลุ่มเตรียมข้อมูลมาดีมาก ทำให้บรรยากาศการจัดกิจกรรมนั้นไหลลื่นมากครับ ส่วนกลุ่มนักเรียนที่เป็นผู้ชม ก็ได้ฝึกการพิจารณาว่าฝ่ายไหนข้อมูลมีน้ำหนักมีเหตุผลกว่ากัน ถือว่าได้ประโยชน์ทั้กลุ่มที่ฟังและกลุ่มที่โต้แย้ง 

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(24)
เก็บไว้อ่าน
(16)