“ครูเปรียบเสมือนแมวผู้อาวุโส ที่จะคอยรับฟังและดูแลเหล่าลูกแมว”
เรามักเจอนักเรียนที่มีความเครียด กลุ้มใจแต่ไม่กล้าพูดตรง ๆ จึงอยากให้นักเรียนเปิดใจ และส่งผ่านความรู้สึกลึก ๆ ของตนผ่านการเขียน
โดยใช้แมวที่มีหน้าตาน่ารัก น่าดูแล เป็นสื่อกลาง ทำให้กิจกรรมไม่เครียด และนักเรียนรู้สึกผ่อนคลาย และแมวนั้นจะเป็นตัวแทนของนักเรียนในการรู้จักตนเอง และฝึกวิเคราะห์การพัฒนาตนเอง
กิจกรรมเกิดในคาบโฮมรูมหรือคาบแนะแนว ได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการความรู้สึกและแก้ปัญหาที่ค้างคาใจของตนเอง ในชื่อกิจกรรม "ดูแลเหมียวหน่อย อย่าปล่อยให้เหมียวเดียวดาย"
โดยให้ผู้เรียนดูภาพน้องแมวหลาย ๆ ตัวที่มีหลากหลายอารมณ์ และให้นักเรียนเลือกน้องแมวที่มีหน้าตาและอารมณ์คล้ายตนเองมากที่สุดเพียง 1 รูป
จากนั้นแจกกระดาษ และให้นักเรียนวาดน้องแมวที่ตนเองเลือกจากป้ายลงกระดาษ พร้อมตั้งชื่อให้น้องแมว และให้เขียน
จากนั้นนำมาหย่อนลงในกล่อง "ท่านผู้เฒ่าแมวอยากรู้"
ซึ่งเป็นกล่องติดรูปแมวที่มีอายุ น่าเกรงขาม ที่พุงมีรูให้หย่อนกระดาษลงไปเพื่อรับข้อมูลของแมวน้อยทั้งหลาย
(ท่านผู้เฒ่าแมว คือตัวแทนของครู) ที่จะรับฟังความรู้สึกของนักเรียน
ผู้เรียนจะได้พัฒนาด้านการพึ่งพาตนเอง การจัดการอารมณ์ของตนเอง และการตั้งเป้าหมายในชีวิต โดยเป็นการฝึกคิด เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลองคาดเดาผลที่จะตามมาหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลง ครูจะนำกระดาษของนักเรียนทุกคนที่หย่อนไว้ มาอ่านและวิเคราะห์ว่าผู้เรียนต้องการอะไร หรือต้องได้รับการดูแลอย่างไร มีอะไรที่ต้องจัดให้เพิ่ม หรือครูจะได้ทราบว่าต้องวางตัวต่อนักเรียนอย่างไร โดยครูจะไม่บอกนักเรียน เมื่อสิ้นภาคเรียน ครูจะเขียนคอมเม้นท์ให้นักเรียนทุกคน ผ่านตัวตนของแมวผู้เฒ่าเพื่อแนะนำและให้กำลังใจ
"ครูเป็นผู้รับฟัง และสังเกตการแก้ไขปัญหาด้วยตัวนักเรียนเอง"
การฝึกให้นักเรียนเข้าใจความรู้สึกของตนเองโดยตรงนั้น อาจทำให้นักเรียนไม่กล้าบอกความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองออกมาตรง ๆ จึงใช้แมวเป็นสื่อกลาง หรือเป็นตัวแทนของผู้เรียนในการบอกความรู้สึกของตนเอง ส่งผ่านแมวที่ตนเลี้ยงว่าแมวรู้สึกอย่างไรในตอนนี้ และอยากจะให้แมวทำอะไร เป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต โดยครูจะเป็นผู้รับฟังความรู้สึกนี้ พร้อมสังเกตวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองของนักเรียน
นักเรียนจะได้พัฒนาด้านการพึ่งพาตนเอง การจัดการอารมณ์ของตนเอง และการตั้งเป้าหมายในชีวิต โดยเป็นการฝึกคิด เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลองคาดเดาผลที่จะตามมาหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลง ลองผิดลองถูก และสิ่งที่นักเรียนเขียนล้วนมาจากความคิดของนักเรียนเอง ครูจะเป็นผู้อ่านข้อความ รับฟังและเข้าใจอารมณ์ของผู้เรียนผ่านสิ่งที่นักเรียนเขียน
ครูเปรียบเสมือนแมวผู้อาวุโส ที่จะคอยรับฟังและดูแลเหล่าลูกแมว (นักเรียน) ได้เป็นอย่างดี
ภาพกิจกรรม
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!