...ดังสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเหล่านักเรียน/นักศึกษา/ประชาชน ที่เต็มไปด้วยการถกเถียง-ตั้งคำถาม ผู้คนต่างเริ่มสนใจศึกษาประวัติศาสตร์มากขึ้น
💢 จึงผุดไอเดียในการจัดกิจกรรมการสอนในคาบประวัติศาตร์
#เรียนประวัติศาสตร์byครูชุ
โดยผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาประวัติศาสตร์ในอดีต เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างไร และเหตุการณ์ในอดีตส่งผลอะไรในปัจจุบัน ในแง่มุม ประเด็นต่าง ๆ ในทัศนะของแต่ละคน
🌿 เริ่มคาบด้วย… 🌿
1) การตั้งคำถาม/ถกเถียงกัน
พูดคุยถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในอดีต ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เหมือนหรือแตกต่างกัน กับเหตุการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันอย่างไร ???
- เหตุการณ์ 14 ตุลา
- 6 ตุลา
- พฤษภาทมิฬ
- การรัฐประหารในช่วงรัฐบาลต่าง ๆ
2) 🧐 ครูใช้คำถามทีละขั้นตามการคิดหมวกหกใบ
1) หมวก สีขาว คำถาม: จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นักเรียนเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศอย่างไร
2) หมวก สีแดง คำถาม: จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นักเรียนรู้สึกอย่างไร
3) หมวก สีดำ คำถาม: จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอะไรบ้าง
4) หมวก สีเหลือง คำถาม: จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนักเรียนเห็นสิ่งดี ๆ หรือโอกาสที่นำมามาต่อยอดอะไรได้บ้าง
5) หมวก สีเขียว คำถาม: ให้นักเรียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาภายใต้จุด ร่วมเดียวกัน เพื่อนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
6) หมวก สีน้ำเงิน คำถาม: ให้นักเรียนเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่นักเรียนสนใจมา 1 วิธี โดยหาข้อสรุปที่ชัดเจน
** ทำให้มองแบบรอบด้าน ช่วยจัดระเบียบความคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพ
คำถาม :
💢 การเปลี่ยนแปลงจะนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นได้หรือไม่ ?
💢 การเปลี่ยนแปลงสร้างความหวาดกลัวหรือสร้างความหวังกันแน่ ??
🌿 กระบวนการกลุ่ม 🌿
👉🏿 ผ่านการเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรม (Active Learning) การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย
✍🏻 ผูกปมเข้ากับทักษะทางประวัติศาสตร์ (1S2C) เป็นทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ที่เน้นการตั้งคำถาม🧐 ไม่ใช่เพียงการนำข้อมูล หลักฐานที่รวบรวมได้มาเรียงต่อกัน
♦️1S 🛠 Sourcing
::: สืบค้น/รวบรวมข้อมูลหลักฐาน ทั้งแยกประเภทและลักษณะของหลักฐาน
♦️1 C 🛠 Corroboration
::: กระบวนการวิพากษ์เนื้อหาและข้อมูล ที่ปรากฏในหลักฐานแต่ละชิ้น/ทีละชิ้น/ทุกชิ้น ความน่าเชื่อถือ อคติของผู้เขียน ข้อเท็จจริง การบิดเบือนข้อมูล และหาความหมายที่แท้จริง
♦️2 C 🛠 Contextualizing
::: การเปรียบเทียบเนื้อหาและข้อมูลที่ได้จากหลักฐานนั้น ๆ กับหลักฐานเอกสารข้อมูลสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง หรือ ความจริงทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ความเป็นไปของเหตุการณ์ ผลของเหตุการณ์ ฯลฯ
🌿 ข้อสรุปที่ได้ 🌿
ผู้เรียนเกิดการอยากเรียนรู้ ถกเถียง และเต็มไปด้วยการตั้งคำถาม/ข้อสงสัยทางการเมืองในอดีต ตลอดการทำกิจกรรมในครั้งนี้
ครูและนักเรียนช่วยกันขมวดปมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน/แชร์กัน ซึ่งเด็กนักเรียนจะได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้จากการตกตะกอนทางความคิด
โดยจริง ๆ แล้ว เส้นทางของประวัติศาสตร์การเมืองที่มีมาในอดีต อาจไม่แตกต่างอะไรกับปัจจุบันบันมากนัก
หากแต่เทคโนโลยีที่เปิดกว้างให้เรารับรู้เปลี่ยนไปจากเดิม ฉะนั้น เราจะห้ามเด็กพูดในห้องเรียนไม่ได้เลยในปัจจุบันนี้ ดังคำกล่าวที่ว่า
“ประวัติศาสตร์แอบแฝงในยุคเทคโนโลยีเบ่งบาน”
โดย ภี อาภรณ์เอี่ยม
“การเมืองจึงเป็นเรื่องใกล้ตัวไปแล้ว”
** ผลตอบรับ จากการใช้แบบประเมินท้ายคาบของ #inskuพื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน
“สามารถแยกแยะ คิดวิเคราะห์ไตร่ตรองข้อมูลได้อย่างชัดเจน และทำให้เรานั้นสามารถแยกแยะเนื้อหาที่อาจเกินจริงหรือบิดเบือนได้อย่างชัดเจน”
“การวิเคราะห์หลักฐานต่างไปจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้น ทำให้รู้อะไรหลายอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน นอกเหนือจากหนังสือ”
“การเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในตัวเองแต่ก็ไม่ลืมหน้าที่ของตัวเอง”
“ รู้จักการนำหลักฐานในหลาย ๆ ด้านมาวิเคราะห์ ทำให้ได้รับความรู้ในหลาย ๆ มุมมอง ”
👉🏿 รู้เท่าทันสื่อ...ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ เพียงมุมมองเดียวที่ตรงจริตกับเรา ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์หลากหลายแง่มุม
ทั้งมุมของ
‘ประวัติศาสตร์ของผู้ชนะ’
‘ประวัติศาสตร์ของเสียงจากประชาชน’
ในมุมของเขา อยู่ที่ว่าเขาจะใส่แว่นแล้วมองมุมไหน... ??
บางครั้งประวัติศาสตร์ ก็เป็น ‘เรื่องเล่า’ ประเภทหนึ่ง ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ผู้เล่าคือใคร แล้วทำไมจึงเล่าแบบนั้น
ดังคำกล่าวที่ว่า “ถ้าเราไม่รู้ว่าอดีต เราก้าวผ่านอะไรมา แล้วเราจะรู้ถึงจุดยืนในปัจจุบันของเราได้อย่างไร ?”
ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน...ประวัติศาสตร์ไทยก็กลับมาซ้ำรอยเดิม ⌛️👉🏿 กงล้อประวัติศาสตร์สอนเราเสมอ 🙏🏻☔️
🌿 ข้อค้นพบ/ข้อเสนอแนะ 🌿
ครูผู้สอนต้องพยายามดึงกลับประเด็นหลักให้ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นความแตกต่างทางความคิด โดยครูแสดงความเป็นกลาง ไม่ชี้นำหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
การเปิดใจรับฟังไม่ได้ยาก แต่หากลองเปิดห้องเรียนได้มีอิสระ อย่างเช่นเสียงนี้จากเด็ก ๆ …
…ชอบที่ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น และปรึกษาพูดโต้ตอบกันภายในกลุ่ม… “หนูไม่เคยเจอครูแบบที่เข้าใจเด็กเท่าครูเลย หนูชอบครูแบบนี้มาก ๆ ครูแบบไม่ต้องเปลี่ยนอะไรเลยค่ะ ชอบที่ได้เรียนกับครู”
** คำพูดเหล่านี้เหมือนมีพลังงานบางอย่างซ่อนอยู่ ในการพัฒนาการสอนของเราต่อไป...
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย