icon
giftClose
profile

ห้องเรียนนอกห้องกับป่าเขา ลำน้ำ วิถีชีวิต และชุมชน

41774
ภาพประกอบไอเดีย ห้องเรียนนอกห้องกับป่าเขา ลำน้ำ วิถีชีวิต และชุมชน

ปักหมุดการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน






เมื่อโลกทั้ง 2 ใบของครูและนักเรียนมาบรรจบกัน การสำรวจความพึงพอใจการเรียน ของผู้เรียนต่อวิชาสังคมศึกษาจึงเกิดขึ้น จนได้ข้อเสนอแนะว่า...


“อยากให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการรู้ ที่เน้นกิจกรรมให้ได้ปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Learning Activities) และการเรียนรู้นอกห้องเรียน” 


การปักหมุดการเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ที่เชื่อมโยงกับชุมชนจึงได้ถูกนิยามขึ้นมาใหม่…


“ให้ขอบเขตการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ขยายไปไกลกว่าเพียงแค่รู้ว่าชุมชนนี้ ว่ามีสิ่งใดที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น 

แต่มองรวมถึงมิติด้านประวัติศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ความเป็นพลเมือง ภายใต้แนวความคิดพลเมืองกับจิตสำนึก และการจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน ควบคู่ไปกับการมองเห็นว่า นโยบายรัฐมีบทบาทต่อทรัพยากรชุมชนอย่างไร”



“ดังนั้นภาพห้องเรียนสิ่งแวดล้อม จึงไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน แต่ถูกขยายออกไปสู่นอกห้องเรียนแล้ว…”



การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ บนฐานการเรียนรู้ของชุมชน เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ถูกนํามาใช้ โดยเป็นการนําเอากระบวนการทางภูมิศาสตร์ (Geographic Processes) มาเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ผ่านการสำรวจสถานการณ์ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นในชุมชนลุ่มนํ้าเจียง

โดยมีผู้เรียนเป็นผู้กําหนดประเด็นที่ต้องการศึกษาด้วยตนเอง (Thematic Approach) เพื่อให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและชุมชนของตนเองได้อย่างเป็นระบบ (System Thinking) ประกอบ ด้วย 6 ขั้นตอน


 

วิถีผูกพันกับสายน้ำ (LIFESTYLE)


เมื่อคนในชุมชนมองเห็นลํานํ้าเจียงเป็นแหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญ สัมพันธ์ต่ออาชีพและวิถีชีวิตของคนในชุมชน…

 

ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจและตั้งประเด็นการศึกษา

ชวนผู้เรียนทํากิจกรรม “ค้นหาอาชีพ”

  1. แจกภาพที่เกี่ยวข้องกับอาชีพและวิถีชีวิตในชุมชนลุ่มนํ้าเจียง
  2. ให้นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับอาชีพของคนในชุมชนลุ่มนํ้าเจียง ว่าสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง 
  3. เปิดประเด็นร่วมกับผู้เรียน เพื่อเชื่อมโยงประเด็นที่ต้องการศึกษา จากแหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญในชุมชนลุ่มนํ้าเจียง ว่ามีบทบาทการใช้นํ้าจากลํานําเจียงของคนในชุมชนอย่างไร และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ของลํานํ้าเจียง ที่มีต่อวิถี ชีวิตและการประกอบอาชีพในชุมชนลุ่มนํ้าเจียง จากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไร
  4. ตั้งคําถามเพื่อค้นหา อาชีพใดที่มีบทบาทต่อการใช้ลํานํ้าเจียง ได้แก่
  5. 1) วิถีชีวิตคนริมนํ้า
  6. 2) วิถีชีวิตคนทํานา
  7. 3) วิถีชีวิตคนจับปลา
  8. 4) วิถีชีวิตคนปลูกผัก 
  9. การเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ บนฐานการเรียนรู้ของชุมชนจึงเลือกใช้แหล่ง เรียนรู้ประเภทสถานที่และบุคคล (ชาวบ้านในชุมชนลุ่มนํ้าเจียง) เพื่อหาการใช้นํ้าจากลํานํ้าเจียงของคนในชุมชน จากอดีตถึงปัจจุบัน ว่าเป็นอย่างไร



ขั้นตอนที่ 2 วางแผนจัดการ 

ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนําประเด็นที่ศึกษามาวางแผนการเก็บข้อมูล ว่าจะเลือกใช้แหล่งเรียนชุมชนประเภทใด


ขั้นตอนที่ 3 เก็บ



รวบรวมข้อมูล



ผู้เรียนลงพื้นที่สำรวจชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลจากประเด็นการสืบค้นด้วยวิธีการสังเกตและ สัมภาษณ์ชาวบ้าน โดยมีการจดบันทึก บันทึกเสียง และการถ่ายภาพผู้สัมภาษณ์หรือสิ่งที่เชื่อมโยงกับข้อมูล 



ขั้นตอนที่ 4 จัดการข้อมูล

ผู้เรียนจัดการข้อมูลตามประเด็นที่ศึกษาเขียนแผนผังความคิด (Mind Mapping) ลงในกระดาษชาร์ท 



ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล 


ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนํารวบรวมความคิดเห็นร่วมกัน (Share) ในวงสนทนาผ่านการเขียนสรุปลงในกระดาษ Post it เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเด็น ที่ต้องการศึกษาด้วยคําถามว่า

1) การใช้นํ้าจากลํานํ้าเจียงของคนในชุมชน จากอดีตถึงปัจจุบัน

2) แหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญ ในชุมชนลุ่มนํ้าเจียง

3) ลํานํ้าเจียงมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตและอาชีพ

 

ขั้นตอนที่ 6 การสรุปข้อมูลและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้

1) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนําเสนอผลงาน และร่วมกันประเมินผลงานของแต่ละกลุ่ม 

2) เขียนสะท้อนความคิด ถึงความสำคัญของลํานํ้าเจียง ส่งผลต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชนอย่างไร 


นักเรียน (G8 และ G12) กล่าวว่า... 

“การหาปลาเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนตั้งแต่อดีต โดยเป็นการจับเพื่อ ดํารงชีวิตจากธรรมชาติ แต่ก่อนลํานํ้าเจียงจะมีปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ มากมายให้ได้จับ เพราะสภาพแวดล้อมแต่ก่อนมีความอุดมสมบูรณ์กว่าปัจจุบันนี้”

“เครื่องมือจับปลาส่วนใหญ่ใช้ตาข่ายดักปลา ซึ่งทุกวันนี้นํ้าเจียงมีสภาพที่ เปลี่ยนแปลงไป จึงทําให้จำนวนปลาลดลง เพราะการได้รับผลกระทบจากยาฆ่าแมลง ” 


นักเรียน (B5, G12 และG14) กล่าวว่า

“ไม่นิยมใช้นํ้าจากลํานํ้าเจียงในการเพาะปลูกอ้อย เนื่องจากพื้นที่ปลูกอ้อย อยู่ห่างไกลจากลํานํ้าเจียง จึงใช้นํ้าจากการขุดเจาะนํ้าบาดาลมาทดแทน เพราะลํานํ้าเจียงมีปริมาณนํ้าไม่เพียงพอต่อการสูบนํ้ามาใช้ ด้วยพื้นที่การเพาะปลูกที่มากขึ้น ทําให้ต้องแข่งขันการใช้นํ้าเจียงเพิ่มขึ้น”


ผลลัพธ์จากบทเรียน


มุมมองครู

เป็นการตอบคําถามว่า การศึกษาที่เหมาะสมกับชุมชนควรเป็นอย่างไร

จากการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนกล่าวว่า

“ชุมชนของเรามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม คุณครูทําให้พวกเราคิดว่าปัญหาดังกล่าว เกิดจากสาเหตุใดและเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร” 

“การศึกษาเพิ่มเติมด้วยการเข้าไปเรียนรู้ปัญหาจริง จากคนในชุมชนทําให้เราเข้าใจว่า การที่จะทําให้ชุมชนน่าอยู่ยิ่งขึ้น เราจำเป็นต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ที่จะลงมือทําให้เกิดขึ้น” 


การสะท้อนดังกล่าวแสดง ให้เห็นว่า...

การศึกษาเป็นเรื่องของทุกคนในชุมชน และชุมชนเองก็มองเห็นถึงการมีส่วนร่วม ต่อการพัฒนาพลเมืองท้องถิ่น กับความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม 

ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดโยงกับชุมชน จึงส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้สึกภูมิใจ การเป็นเจ้าของการเรียนรู้และมองเห็นตัวเองเป็น ส่วนหนึ่งของสังคม 


มุมมองผู้เรียน

จากการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนกล่าวว่า 

“อยากเห็นปัญหาขยะในชุมชนเป็นเรื่องที่ทุกคนร่วมกันแก้ไข เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันลงมือทํา การเรียนรู้ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขในชุมชน ทําให้เรารู้จักรับฟังผู้อื่น การสังเกต และตั้งคําถามถึงปัญหาในชุมชน ทําให้เราได้เข้าใจชุมชนของเราว่าควรจะไปในทิศทางไหนบ้าง” 


แสดงการสะท้อนให้เห็นว่า... 

ทัศนคติและวิธีคิดที่เปลี่ยนไป ในการมองการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนของพวกเขา คือไม่ใช่การเรียนวิชาสังคม ที่เป็นเพียงการเรียนรู้ในตําเรียนเพื่อให้ได้ความรู้เท่านั้น แต่ต้องเชื่อมโยงการเรียนรู้ไปสู่สังคม รอบตัว เพื่อตอบคําถามได้ว่า...

“วิชาสังคมยังคงเรียนรู้ไปเพื่ออะไร ?”

 

กิจกรรมการเรียนรู้ ทําให้ผู้เรียนมีเจคคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นในชุมชน และมองเห็นเห็นคุณค่าของสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนมากขึ้น 


จากการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนกล่าวว่า 

“ผมรู้สึกว่า ‘แม่น้ำเจียงมีความใกล้ชิดกับชุมชน’ จึงทําให้ผมรักชุมชนและลําน้ำเจียงไปพร้อมกัน เพราะถ้าไม่ลําน้ำเจียงก็อาจไม่มีชุมชน และถ้าไม่รักษาป่าก็อาจไม่มีลําน้ำเจียง ซึ่งลําน้ำเจียงเป็นของคนในชุมชน ที่ต้องรู้จักรักษาไว้รวมกัน”


มุมมองคนในชุมชน

 เป็นการเห็นผู้เรียนใส่ใจเรื่องเกิดขึ้นในชุมชนมากขึ้น จากการสัมภาษณ์นักเรียน กล่าวว่า... 

“หนูรู้สึกได้ถึงมิตรภาพที่คนในชุมชนมีต่อเรา เช่น มีป่าคนหนึ่งพูดว่า ดีใจมากเลยที่พวกเรา มาเรียนรู้เรื่องในชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยเห็นแบบนี้ และหนูก็เกิดความรักที่มีต่อลําน้ำเจียง รวมทั้งธรรมชาติในชุมชนมากขึ้น” 

“เพราะครูทําให้หนูรู้ว่า ลําน้ำเจียงมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและอาชีพในชุมชน และบางประเพณีในชุมชนมีความเกี่ยวข้องกับลําน้ำเจียงด้วยเช่นกัน” 


สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ ต่อเมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่แค่เพียงในห้องเรียน…


สิ่งที่อยากบอกต่อ

“การที่ครูยึดความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักจะช่วยส่งเสริม 

การเรียนรู้ให้มีความหมายและน่าจดจำยิ่งขึ้น” (Anne Westwater & Pat Wolfe, 2000) 

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(13)
เก็บไว้อ่าน
(14)