โดยทั่วไปแล้วมนุษย์เรานั้น เมื่อเวลาผ่านไปนานๆความจำที่มีจะค่อยๆลดลงเรื่อยไปๆ
.
จะเห็นว่าความจำของเรานั้นจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆตามเส้นสีฟ้า ยิ่งผ่านไปนานๆเส้นฟ้าจะค่อยๆดิ่งลงเรื่อยๆ
ทำให้เราค่อยๆลืมสิ่งที่เรียนไป กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้เราเรียกกันว่า เส้นโค้งแห่งการลืมนั้นเอง
. . .
โดยทฤษฎีนี้ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยนักจิตวิทยาชาว เยอรมัน ชื่อว่า Hermann Ebbinghaus ซึ่งได้ค้นพบแนวคิดนี้ในช่วงที่เขาทำการศึกษาความทรงจำของตนเอง
จะเห็นได้ว่าจากกราฟนั้นความจำของเด็ก (เส้นสีฟ้า) จะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆตามระยะเวลาที่ผ่านไป
แต่!!! สังเกตกันไหมคะว่าในกราฟนั้นมีเส้นปะที่ชี้ขึ้นอยู่ เส้นปะนั้นคือ เส้นที่แสดงถึงความจำที่ฟื้นกลับมา โดยการฟื้นคืนนั้นสามารถทำได้ผ่านการทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ
. . .
การทบทวนจะทำให้เด็กได้ทวนความเข้าใจอีกครั้ง ส่งผลให้เส้นความจำของเด็ก (เส้นสีฟ้า) ย้อนกลับไปเริ่มที่จุดบนสุดอีกครั้ง ถือเป็นการย้อนกลับไปเริ่มกระบวนการลืมใหม่ตั้งแต่ต้น ดังนั้นการทบทวนจึงเป็นวิธีการสำคัญที่ช่วยไม่ให้เด็กสูญเสียความทรงจำในเรื่องที่เรียนไป
. . .
ซึ่งหากตัวเด็กมีการทบทวนความรู้อย่างสม่ำเสมอแล้วล่ะก็ อัตราการลืม จะยิ่งลดช้าลงขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดเมื่อเด็กมีการทบทวนความรู้อย่างสม่ำเสมอจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว….เส้นโค้งแห่งการลืมก็จะหายไปนั่นเอง
เชื่อว่าหลายๆคนหลังจากอ่านข้อมูลมาถึงตรงนี้ก็น่าจะเข้าใจความหมายของเส้นโค้งแห่งการลืมกันพอสมควรแล้วใช่มั้ยเอ่ย ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า จะมีวิธีการอะไรบ้างที่สามารถช่วยให้เด็กๆไม่หลงลืมความรู้ที่ได้เรียนไปในห้องเรียน
. . .
วันนี้พวกเรา Inskru ก็เลยจะมาแนะนำ 3 กิจกรรมง่ายๆใช้รับมือกับ เส้นโค้งแห่งการลืม (Forgetting Curve) มีวิธีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยจ้า
Meaning By Me ความหมายโดยฉัน ในแบบของฉัน
กิจกรรมนี้จะเป็นเหมือนการให้เด็กๆได้จด Diary โดยเนื้อหาในสมุด Diary จะเป็นการสรุปบทเรียนในแบบของตนเองเป็นการบ้านในทุกสัปดาห์ และ เมื่อถึงช่วงสอบผู้เรียนจะได้เอา Diary นี้กลับมาอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กิจกรรมนี้ช่วยเด็กๆป้องกันการลืมอย่างไร
กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างให้เด็กเข้าใจบทเรียนมากขึ้นผ่านการทำสรุปในแบบของตนเอง แน่นอนว่าการจะทำสรุปในแบบของตนเองได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ตัวเด็กจะต้องทบทวนบทเรียนซ้ำๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนั้นกิจกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ทบทวนบทเรียนมากขึ้น
. . .
นอกจากการช่วยให้เด็กได้ทบทวนแล้ว ผลพลอยได้อีกอย่างของกิจกรรมนี้ คือ การช่วยให้เด็กสร้างเครื่องมือฟื้นความจำของตัวเขาเองขึ้นมา นั่นก็คือ Diary
. . .
Diary ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนี้ จะเป็นเหมือนสรุปซึ่งมากจากความเข้าใจของตัวเด็กเอง ซึ่งเมื่อตัวเด็กได้นำ Diary นี้กลับมาอ่านอีกครั้ง การเรียกคืนความจำจะทำได้ง่ายขึ้น เพราะเนื้อหาที่เขาอ่านจาก Diary เป็นเนื้อหาที่เกิดขึ้นมาจากความคิดของตัวเขาเอง เขาย่อมจำได้ดีกว่าการทบทวนเนื้อหาแบบปกติอย่างแน่นอน
. . .
กิจกรรมนี้อาจจะทำให้สนุกได้มากขึ้นหากเพิ่มเงื่อนๆไขพิเศษบางอย่างเข้าไปด้วยเช่น
• อาจเปลี่ยนจาก Diary เป็นอย่างอื่นแทน เช่น ให้แต่งเป็นเพลง , ให้ใช้การวาดรูปแทน เป็นต้น
ทบทวนหวนคืน Recall Me please !!
โดยกิจกรรมนี้เราจะ แบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนออกเป็น กลุ่มละ 4-5 คน
. . .
เมื่อครูสอนเนื้อหาเสร็จ ให้จับฉลากสุ่มกลุ่มขึ้นมา กลุ่มที่โดนเรียกจะมีการบ้านร่วมกัน คือ คาบเรียนครั้งหน้าจะต้องออกมาสรุปเนื้อหาจากคาบที่แล้วให้เพื่อนๆในห้องฟัง ภายใน 5-10 นาที
หมายเหตุ (เวลาปรับเพิ่มได้ตามความเหมาะสม)
. . .
กิจกรรมนี้จะช่วยให้เด็กในกลุ่มได้ทบทวนความรู้เก่าผ่านการช่วยกันออกแบบการสอน และยังช่วยให้เพื่อนๆในห้องได้ทบทวนความรู้เก่าจากคาบที่แล้วไปพร้อมๆกันอีกด้วย
หมายเหตุ (การแบ่งกลุ่มอาจเล็ก หรือ ใหญ่กว่าได้ตามความเหมาะสมของผู้เรียนในห้อง)
. . .
กิจกรรมนี้อาจจะทำให้สนุกได้มากขึ้นหากเพิ่มเงื่อนๆไขพิเศษบางอย่างเข้าไปด้วยเช่น
อาจารย์อาจจะเป็นคนกำหนดวิธีการสอนให้กับพวกเรานอกจากการออกมาสอนหน้าห้อง โดยอาจสุ่มวิธีการ ผ่านการจับฉลาก
ตัวอย่างวิธีการสอนเช่น ต้องทำการไลฟ์สดสอนเพื่อน , โพสต์กระทู้สอนเพื่อนใน Facebook , สอนเพื่อนผ่านการแสดงละคร , สอนเพื่อนผ่านบอร์ดเกม เป็นต้น
ชีท โชว์ แชร์ Sheet Show Share!!
สำหรับกิจกรรมนี้เราจะ แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น กลุ่มละ 4-5 คน
. . .
หลังจบคาบเรียนทุกสัปดาห์ให้ทุกกลุ่มสรุปเนื้อหาของคาบเรียนนั้นเป็นการบ้าน โดยวิธีการสรุปนั้นจะให้ตัวเด็กเป็นคนได้สร้างสรรค์วิธีการด้วยตนเอง จากนั้นให้แชร์ลงกลุ่ม Facebook หรือ ไลน์ห้อง
. . .
ให้ผู้เรียนทั้งหมดเข้าไปอ่านและโหวต การบ้านสรุปของกลุ่มไหนที่อ่านแล้วโดนใจเพื่อนๆในห้องมากที่สุด จะได้รับรางวัลพิเศษจากครู (รางวัลอะไรก็ได้แล้วแต่ผู้สอน) ทำเช่นนี้ไปทุกๆครั้งที่จบคาบเรียน
. . .
เมื่อถึงช่วงก่อนสอบก็จะมีการรวมสรุปของกลุ่มที่ชนะโหวตทั้งหมดออกมาเป็นชีทสอบและให้เด็กๆในชั้นเรียนนำไปอ่านเพื่อเตรียมสอบ เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของทั้งเด็กและครูผู้สอน
หมายเหตุ (การแบ่งกลุ่มอาจเล็ก หรือ ใหญ่กว่าได้ตามความเหมาะสมของผู้เรียนในห้อง) / ห้ามโหวตงานของกลุ่มตนเอง
กิจกรรมนี้จะช่วยดึงให้เด็กได้ทบทวนบทเรียนอีกครั้ง ผ่านการรวมกลุ่มกันทำสรุปเพื่อประกวดแข่งขัน และภายหลังจากการทำเสร็จแล้วตัวเด็กยังได้ประโยชน์จาก ผลงานสรุปที่กลุ่มตัวเองทำอีกด้วยในฐานะของเครื่องมือที่จะกลับมาช่วยพวกเขาทบทวนความจำอีกครั้งในตอนที่อ่านติวสอบนั้นเอง
. . .
กิจกรรมนี้อาจจะทำให้สนุกได้มากขึ้นหากเพิ่มเงื่อนๆไขพิเศษบางอย่างเข้าไปด้วยเช่น
สรุปในช่วงท้ายเทอมอาจไม่จำเป็นต้องเอาเฉพาะของกลุ่มที่ชนะโหวตมาทำสรุปเท่านั้น แต่อาจจะให้เด็กๆทั้งห้องได้เสนอไอเดียและร่วมกันออกแบบสื่อ ตัวอย่างเช่น ครูอาจจัดคาบว่างให้เด็กๆ 1-2 คาบเพื่อสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เคยเรียนมา ต่อมาคือรูปแบบของสื่อที่ใช้ทำสรุป ตัวสรุปอาจไม่จำเป็นต้องเป็นชีทอีกต่อไป อาจจะเป็นสื่อหรือกิจกรรมในรูปแบบอื่นก็ได้ ตัวอย่างเช่น การแสดงละคร การทำแผ่นพับ หรือ การจัดกิจกรรมตลาดวิชา เป็นต้น
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!