icon
giftClose
profile

รวม 7 เครื่องมือชวน ถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมาAAR

77783
ภาพประกอบไอเดีย รวม 7 เครื่องมือชวน ถอดบทเรียนการทำงานที่ผ่านมาAAR

ประชุมครู ชวนนักเรียนถอดการทำงาน ได้หมดเลยค่า After Action Review AAR

รวม 7 เครื่องมือชวนคุณครู Reflection หลังการทำงาน

.


เครื่องมือที่ 1 "Cup of energy"

ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง: สำรวจความรู้สึกของห้องเรียน

.

ขั้นตอน

1. วาดแผนภาพแก้วน้ำตามตัวอย่างบนกระดาน พร้อมสเกล จาก 0 ถึง 100 ตามความเหมาะสม

2. กระบวนกร ถามความรู้สึก”ความสุข” ของผู้เข้าร่วม(สามารถเปนได้ทั้งครูและนักเรียน) เขียนใส่โพสต์สีที่1 นำไปแปะตามสเกลที่ตนเองรู้สึก

3. กระบวนกร ถามความรู้สึก ด้านอื่นๆ ของผู้เข้าร่วม เขียนใส่โพสต์สีที่2 นำไปแปะตามสเกลที่ตนเองรู้สึก

4. กระบวนกร สุ่มเลือกให้ผู้เข้าร่วม อธิบายความรู้สึกตนเอง ตามความเหมาะสม

.

**หมายเหตุ : สามารถปรับเปลี่ยนหัวข้อ เป็นความรู้ ความชอบหรือ หัวข้ออื่น ที่เป็นนามธรรม ตามความต้องการของผู้สำรวจ

.

เครื่องมือที่ 2 "บอลลูนห้องเรียน"

ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง: ทบทวนปัจจัยทางบวก/ปัจจัยทางลบในห้องเรียน 

.

ขั้นตอน

1 . วาดแผนภาพบอลลูนตามตัวอย่างบนกระดาน ***ทบทวนวัตถุประสงค์ของห้องเรียนที่ผ่านมา***

2 . กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมา เเล้ว เขียนปัจจัยที่ทำให้ห้องเรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ใส่โพสต์อิท

เเล้วแปะที่รูปบอลลูน

3 . กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมา เเล้ว เขียนปัจจัยที่ทำให้ห้องเรียนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แล้วแปะที่รูปสมอ

4 . ตั้งคำถาม ข้อความฝั่งบอลลูน ว่า เบื้องหลังการเตรียมตัวคืออะไร /จะทำอย่างไรให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อีก

  • เขียนวิธีการไว้ด้านข้างกลุ่มข้อความ

5 . ตั้งคำถาม ข้อความฝั่งสมอ เพื่อหาแนวทางการแก้ไข

  • เขียนวิธีการไว้ด้านข้างกลุ่มข้อความ

.

เครื่องมือที่ 3 "WONDER/ SUCCESS / FAIL"

ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง: ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์

.

ขั้นตอน

1. วาดแผนภาพท้องฝ้า/ผิวน้ำ/ใต้น้ำ ตามตัวอย่างบนกระดาน ***ทบทวนวัตถุประสงค์ของห้องเรียนที่ผ่านมา***

2. กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมาว่ามีเรื่องอะไรที่เป็นไปตามที่คาดหวังบ้าง /เขียนลงPost -it เเละแปะบนหัวข้อ success(ผิวน้ำ)

3. กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมาว่ามีเรื่องอะไรที่ไม่ได้ผลตามที่คาดหวังบ้าง/เขียนลงPost -it เเละแปะบนหัวข้อfail(ใต้น้ำ)

4. กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมาว่ามีเรื่องอะไรที่ดีเกินกว่าที่คาดหวังบ้าง/เขียนลงPost -it เเละแปะบนบนหัวข้อ wonder (ท้องฟ้า)

5. วิเคราะห์สาเหตุในช่อง wonder /Success เเละหาแนวทางแก้ไขในช่อง Fail

.

เครื่องมือที่ 4 "เข็มทิศห้องเรียน"

ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง: สรุปแนวทางการทำงานร่วมกันในครั้งหน้า/ตลอดเทอม

.

ขั้นตอน

1 . วาดแผนภาพเข็มทิศตามภาพ พร้อมหัวข้อ สร้าง/รักษา / ละเว้น/ปล่อยวาง

2 . กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่เป็นสิ่งที่ดี น่าชื่นชม /เขียนใส่โพสต์อิท สีเขียว ใส่ในหัวข้อ”รักษา”

3 . กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่เป็นสิ่งที่เป็นปัญหา /เขียนใส่โพสต์อิท สีเหลือง ใส่ในหัวข้อ”ละเว้น”

4 . กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาแต่เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ /เขียนใส่โพสต์อิท สีเหลือง ใส่ในหัวข้อ”ปล่อยวาง”

5 . กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมเขียนสิง่ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น /เขียนใส่โพสต์อิท สีเขียว ใส่ในหัวข้อ”สร้าง”

6 . ถกเถียงเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน 

.

เครื่องมือที่ 5 "Keep on / Start / Stop"

ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง: สรุปแนวทางการทำงานร่วมกันในครั้งหน้า/ตลอดเทอม

.

ขั้นตอน

1. วาดแผนภาพไฟจราจรตามภาพ

2. กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมาว่า มีอะไรเป็นสิ่งที่ดี สมควรทำต่อไป/เขียนใส่โพสต์อิทแปะไว้ในช่องไฟเขียว 

3. กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมาว่า มีอะไรเป็นสิ่งที่ยังไม่มีเเละควรเริ่มทำได้เเล้ว/เขียนใส่โพสต์อิทแปะไว้ในช่องไฟเหลือง

4. กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมทบทวนเหตุการณ์ในห้องเรียนที่ผ่านมาว่า มีอะไรเป็นสิ่งที่ควรหยุด-เลิกทำ/เขียนใส่โพสต์อิทแปะไว้ในช่องไฟแดง

5. ถกเถียงเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน

.

เครื่องมือที่ 6 "บ้านอิฐ/บ้านฟาง" 

ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง: ทบทวนความยั่งยืนของผลลัพธ์ด้านวิชาการของห้องเรียน

.

ขั้นตอน

1. กระบวนกรให้ผู้เข้าร่วมเขียนหัวข้อการสอน ในแต่ละช่วงของ คลาสเรียน ตั้งเเต่เริ่มต้น จนจบคาบ ลงบนโพสต์อิท 

2. วาดแผนภาพ บ้านอิฐ บ้านฟางตามตัวอย่าง

3. นำหัวข้อ ที่คิดว่า สิ่งที่สอนไปเป็นสิ่งที่นักเรียนอาจจะลืม/ไม่มีโอกาสได้ใช้งานในอนาคต แปะในหัวข้อ "บ้านฟาง"

4. นำหัวข้อ ที่คิดว่า สิ่งที่สอนไปเป็นสิ่งที่นักเรียนจำได้เเน่นอน/ได้นำไปใช้ในอนาคตแน่นอน แปะในหัวข้อ "บ้านอิฐ"

5. ถกเถียงในหัวข้อ "บ้านอิฐ" ว่าทำไม มันจึงได้มาอยู่ในช่อง "บ้านอิฐ"

6. ถกเถียงในหัวข้อ บ้านฟางภายหลังว่า ทำอย่างไร จะเปลี่ยนหัวข้อในฝั่ง "บ้านฟาง" ให้กลายเป็นหัวข้อฝั่ง "บ้านอิฐ"  

.

เครื่องมือที่ 7 "EMPATHY ICEBERG"

ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง: ทำความเข้าใจนักเรียนรายบุคคล

.

ขั้นตอน

1. เขียนแผนภาพ ตามรูปที่แนบไว้ (doing/saying) (thinking/Feeling) (hearing/seeing)

2. ครู/ผู้ดูเเลชั้นเรียน ช่วยกัน เขียนสิ่งที่เกิดขึ้น และสิ่งที่พบเห็น ที่เป็นทั้งข้อดี/ข้อเสียของนักเรียน ในช่อง (doing/saying) เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริง ทั้งหมด

3. วิเคราะห์และสันนิษฐาน ความคิด/ความรู้สึก จากพฤติกรรม ที่นักเรียนแสดงออกในช่อง (thinking/Feeling)

4. วิเคราะห์และสันนิษฐาน สิ่งที่นักเรียนพบเจอ, ประสบการณ์ที่นักเรียนเคยได้รับ,สื่อที่นักเรียนนิยมเสพ,สถานที่ที่นักเรียนนิยมไป สังคม+ครอบครัว+คนรอบข้าง ในช่อง (hearing/seeing)

5. เก็บข้อมูล ค้นหาข้อเท็จจริง (ถ้ามีเวลา)

6. วิเคราะห์หา ประสบการณ์ที่เป็นต้นตอ ของปัญหาของนักเรียน และหาแนวทางสร้างประสบการณ์ใหม่ เพื่อลบล้างความเชื่อเดิม

.

**หมายเหตุ: เทคนิคดังกล่าวนี้ ยังอยู่ในช่วงการทดลองใช้งาน ยังไม่มีการรับรองผลอย่างแพร่หลาย

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(15)
เก็บไว้อ่าน
(17)