icon
giftClose
profile

เมื่อห้องเรียนกลายเป็นห้องตรวจคุณหมอ ฉบับออนไลน์

18941
ภาพประกอบไอเดีย เมื่อห้องเรียนกลายเป็นห้องตรวจคุณหมอ ฉบับออนไลน์

เพิ่มสีสันการออนไลน์ด้วยการแปลงกายเป็นคุณหมอรักษาโรคที่นักศึกษาปฐมวัยเป็นกันมาก การจ่ายยาให้ตรงโรคเป็นสิ่งสำคัญ ตามมาดูเทคนิคการจัดกิจกรรมออนไลน์ง่ายๆผ่าน Microsoft Teams + Facebook + Line โดย อาจารย์ ดร.จุฬินฑิพา นพคุณ อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

เมื่อห้องเรียนกลายเป็นห้องตรวจคุณหมอ ฉบับออนไลน์

    โดยอาจารย์ ดร.จุฬินฑิพา นพคุณ

อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต

                                                                    สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ในช่วงโควิด-19 กำลังระบาด และนักศึกษาต้องเปิดภาคเรียน ทำให้เราปฏิเสธไม่ได้ที่ต้องสอนด้วยระบบออนไลน์ ในภาคเรียนนี้วิชาที่ต้องสอนเป็นวิชาการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 2 ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย เป็นวิชาที่ว่าด้วยการลงปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีช่วงเวลาที่นักศึกษาต้องมานั่งเรียนเพื่อมาพูดคุยถึงปัญหาในการสอนร่วมกัน รวมทั้งการทำโครงร่างงานวิจัยในชั้นเรียน วิชานี้มีตารางเรียนตั้งแต่เช้า ทำให้เดาไม่ยากว่านักศึกษาน่าจะต้องง่วงนอน


เราจึงคิดว่าจะมีวิธีใดบ้างที่ทำให้การเรียนอยู่ห่างไกลกันแบบนี้จะทำให้นักศึกษารู้สึกสนุกสนาน ได้ความรู้ และไม่ง่วงนอน สำหรับการสอนที่เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาในการฝึกสอน เราจึงคิดว่าอยากเปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นห้องตรวจคุณหมอ โดยอาจารย์จะแปลงร่างเป็นคุณหมอ นำปัญหา ซึ่งเปรียบเสมือน โรคต่างๆการฝึกสอนมาพูดคุยกัน และให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาทั้งภาพรวมและรายบุคคล ซึ่งเปรียบเสมือนการให้ยารักษาโรค เพื่อให้ห้องเรียนออนไลน์มีสัน และเกิดความสนุกสนาน โดยใช้เทคนิคง่ายๆผ่าน Facebook Microsoft Teams และ Line ดังต่อไปนี้ค่ะ




อุปกรณ์

         เสื้อเชิ้ตสีขาวที่มีที่บ้านใช้สมมติแทนเสื้อคุณหมอ

         ที่คาดหัวมีไฟฉายทำจากกระดาษแข็ง

นำมาตัดแล้วใช้แม็คเย็บติด ไฟฉายทำจากกระดาษสีเหลือง ตัดแล้วมาติด

         ตราสัญลักษณ์เครื่องหมายพยาบาลทำจากกระดาษแข็งมาตัดระบายสีแดงเพื่อนำมาติดที่เสื้อคุณหมอ

         หูฟังคุณหมอ หากมีของเล่นเด็กที่บ้านสามารถนำมาใช้ได้ แต่หากไม่มีสามารถใช้หูฟังมือถือ

คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรือ ไอแพด


เทคนิค

1.      วางแผนให้นักศึกษาอัดคลิปวิดิโอการสอนที่ตนเองสอนด้วยการสมมติการสอน (แทนการลงสอนในห้องเรียนจริง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19) เขียนปัญหาในการลงฝึกสอนรายบุคคล และรายกลุ่ม (ผ่าน Line Group) ตั้งกลุ่ม Facebook เป็นส่วนตัว และให้ส่งข้อมูลมาทาง Facebook ล่วงหน้าก่อนเข้าเรียนประมาณ 1 อาทิตย์

2.      ตรวจข้อมูลของนักศึกษาที่ส่งมาทุกคน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์จัดกลุ่มปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ

สอน (ในครั้งนี้เป็นปัญหาการเล่านิทานส่งเสริมกระบวนการคิด) ซึ่งแบ่งออกได้ 5 กลุ่ม ดังนี้

2.1 ภาวะการอ่านออกเสียงควบกล้ำจากนิทานไม่ชัดเจน การออกเสียง ส ษ ศ ซ ไม่ชัดเจน การเว้นวรรคตอนในการอ่านนิทานไม่ถูกต้อง

2.2  ภาวะเครียด ขาดความมั่นใจในในการเล่านิทาน

2.3  ภาวะร้องเพลงเพี้ยน

2.4  ภาวะขาดชีวิตชีวาในการเล่านิทาน

2.5  ภาวะอื่นๆ เช่น บุคลิกภาพในการเล่านิทาน เป็นต้น

    3. เตรียมนำปัญหาที่พบเข้าพูดคุยผ่านการสอนระบบ Microsoft Teams 

4. อาจารย์แปลงกายเป็นคุณหมอออนไลน์ผ่านระบบ Microsoft Teams นำปัญหาที่พบพูดคุยกับนักศึกษา

โดยให้นักศึกษาให้สมมติตนเองว่าเป็นคนไข้ เปิดโอกาสให้นักศึกษา (คนไข้) ได้พูดคุยถึงปัญหาในการสอน และอาจารย์ (คุณหมอ) นำเสนอวิธีการแก้ไขและปรับปรุงให้นักศึกษา (คนไข้) เช่น หากอ่านออกเสียงควบกล้ำจากนิทานไม่ชัดเจน อาจารย์ (คุณหมอ) จะมีแบบฝึกการอ่านออกเสียงให้กับไปฝึก พร้อมกับตารางการตรวจสอบการอ่านออกเสียง (ที่อาจารย์ออกแบบเองง่ายๆ) รวมถึงอาจารย์ (คุณหมอ) ได้แนะนำเพิ่มเติมถึงชื่อนิทานที่ผู้เล่าชอบอ่านออกเสียงผิดมาให้ช่วยกันอ่าน เช่น นิทานเรื่องกุ๋งกิ๋ง นิทานเรื่องโสนน้อยเรือนงาม


ตัวอย่างแบบฝึกการอ่านออกเสียงให้กับไปฝึก พร้อมกับตารางการตรวจสอบการอ่านออกเสียง

(ที่อาจารย์ออกแบบเองง่ายๆ)




ตัวอย่างแบบฝึกอ่านควบกล้ำจากนิทานเรื่องมะปริง มะปราง




แนะนำเพิ่มเติมถึงชื่อนิทานที่ผู้เล่าชอบอ่านออกเสียงผิดมาให้ช่วยกันอ่าน เช่น นิทานเรื่องกุ๋งกิ๋ง นิทานเรื่องโสนน้อยเรือนงาม



5. ให้ยา (วิธีการไข) กับนักศึกษา (คนไข้) ในภาพรวมโดยเสนอวิธีการแก้ไขด้วยการสรุปประเด็นการ

แก้ไขนำเสนอผ่านการ Share Slides ผ่านระบบ Microsoft Teams  และให้ยากับนักศึกษา (คนไข้) รายบุคคลผ่าน Line ส่วนตัวสำหรับคนไข้ (นักศึกษา) ที่มีปัญหาเร่งด่วนในด้านภาวะการอ่านออกเสียงควบกล้ำจากนิทานไม่ชัดเจน การออกเสียง ส ษ ศ ซ ไม่ชัดเจน การเว้นวรรคตอนในการอ่านนิทานไม่ถูกต้อง

6. ให้นักศึกษา (คนไข้) รายงานผลหลังจากการนำยากลับไป (วิธีการแก้ไข) ทดลองใช้

7.เพิ่มยาพิเศษ (วิธีการแก้ไข) ให้กับนักศึกษาทุกคน (คนไข้ทุกคน) ด้วยการให้เนื้อเพลงเก็บเด็ก คำคล้องจอง และ ฺBrain gym ที่อาจารย์ (คุณหมอ) ได้รวบรวมจากประสบการณ์การสอนให้ไปฝึกเพิ่มเติม


Tips การสอนให้สนุก

         สามารถนำไปประยุกต์ได้ในทุกวิชาที่ต้องการแก้ไขปัญหาต่างๆใหักับผู้เรียน หากเป็นการสอนปกติที่ไม่ใช่ออนไลน์ ผู้สอนสามารถแบ่งผู้เรียน (คนไข้) ที่มีปัญหาออกเป็นกลุ่ม จัดห้องเรียนแบ่งโซนเป็นห้องให้คำปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสมมุติให้มีช่องรับยา โดยผู้สอนอาจหาตัวแทนผู้เรียนให้มาสมมติเป็นเภสัช หรือพยาบาลผู้ช่วยเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสีสันในการเรียน

ในการสอนแบบออนไลน์การจ่ายยา (การให้วิธีการแก้ไขปัญหา) หากส่งเข้าในไลน์ส่วนตัวจะทำให้นักศึกษา (คนไข้) ทำให้นักศึกษา (คนไข้) ได้รับการแนะนำรายบุคคล ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด


การนำไปใช้

         ได้เห็นรอยยิ้มของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาอยากมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น ได้พัฒนาตนเองเป็นรายบุคคล

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(9)
เก็บไว้อ่าน
(1)