icon
giftClose
profile

เราทำได้ดีกว่านี้ ด้วย kaizen ฉบับนักเรียน

93563
ภาพประกอบไอเดีย เราทำได้ดีกว่านี้ ด้วย kaizen ฉบับนักเรียน

เรียนรู้การพัฒนาตนเองด้วยหลัก Kaizen ของญี่ปุ่น ไปพร้อมๆกับการเรียนภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังได้ฝึกคิดวิเคราะห์ ฝึกพัฒนาการทำงาน พัฒนาชีวิตของตนเองไปในตัว ได้ทั้งความรู้และได้พัฒนาตนเองด้วย!

หากพูดถึง KAIZEN หลายคนคงเคยได้ยินหลักการนี้มาบ้างแล้วตามบริษัทหรือโรงงานของญี่ปุ่น หรือแม้แต่ในตำราที่มีวางขายในร้านหนังสือ

ก็มีหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับ KAIZEN วางขายและแน่นอนว่าหลักการนี้มีที่มาจากประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง

ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดของประเทศญี่ปุ่นที่ได้นำมาปรับใช้ในการทำงานในโรงงาน



แต่แนวคิดนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงงานหรือฝ่ายผลิตเท่านั้น เพราะเราสามารถนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในทุกๆ ด้านของชีวิต

ตั้งแต่เรื่องการพัฒนาตัวเอง ไปจนถึงพัฒนาการทำงานในหน่วยงานได้ และแม้แต่นักเรียน ก็ทำได้ !


 แนวคิดของไคเซ็น คือ การปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีขึ้น แบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างต่อเนื่อง สำหรับหลักการของไคเซ็นมีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อง่ายๆ คือ

ลด หมายถึง ลดสิ่งที่ไม่จำเป็น สิ่งที่ซับซ้อน สิ่งที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า

เลิก หมายถึง การเลิกทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อเป้าหมายของชีวิตของเรา

เปลี่ยน หมายถึง การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ไปในทิศทางที่ดีขึ้น


ตัวอย่างสิ่งที่ควรทำไคเซ็นใช้ชีวิตในปัจจุบัน

ลด การเล่นโทรศัพทมากเกินไป การทำงานที่ไม่เกิดประโยชน์ การดูทีวีจนดึกดื่น เป็นต้น

เลิก การมาทำงานสาย การมองโลกในแง่ร้าย การทำงานแบบไร้ประสิทธิภาพ เป็นต้น

เปลี่ยน มาทำงานเร็วขึ้น ตั้งใจทำงานให้มากขึ้น เปลี่ยนเป็นคนมองโลกในแง่บวก คิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้ อ่านหนังสือมากขึ้น เป็นต้น


ขั้นตอนง่ายๆ ในการทำไคเซ็นในชีวิตประจำวัน ดังนี้

- ตั้งเป้าหมาย เช่น จะทำงานให้เสร็จเร็วขึ้นกว่าเดิม 30 นาที 

- จะทำงานให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง จาก 5 ครั้ง เป็น 2 ครั้ง

- จะลดการผลัดวันประกันพรุ่งให้น้อยลง

- วางแผนการทำงาน เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน จัดลำดับความสำคัญก่อน หลัง และเร่ง ด่วน

- วางแผนการทำงานก่อนเริ่มงานทุกวัน จากเดิมที่ไม่เคยทำ

  ลงมือปฏิบัติ ก็นำสิ่งที่เราวางแผนเอาไว้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง มุ่งมั่น และซื่อสัตย์ต่อตนเอง

ตรวจสอบผลลัพธ์ ก็ไปดูว่าหลังจากที่เราได้ลงมือไคเซ็นชีวิตแล้ว เราทำงานได้มีประสิทธิภาพ ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ 

 

การทำไคเซ็นนั้นเป็นเรื่องที่ใครๆก็ทำได้ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ก็ทำได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่ที่เราจะลงมือทำหรือไม่

ดังนั้น ครูจึงนำไคเซ็นมาบูรณาการในการเรียนภาษา โดยใช้ในชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่วิชาอื่นๆ เช่น วิชาแนะแนว ชุมนุม ก็นำมาบูรณาการได้


ตัวอย่างลำดับการจัดกิจกรรมทำไคเซ็นกับนักเรียน มีดังนี้

ขั้นนำ

1)     ตั้งคำถามว่า มีใครเคยได้ยินคำว่า Kaizen หรือไม่ เคยได้ยินที่ไหน

2)     ยกตัวอย่างกระทำให้นักเรียนฟัง เช่น ส่งงานไม่ทัน และจำไม่ได้ว่ามีวิชาอะไรที่ต้องส่งวันไหน แต่ว่าอยากให้ปัญหานี้หมดไป

เลยทำสมุดบันทึกงานรายวันแบบละเอียด และหลังจากที่ทำ ก็ส่งงานทันทุกครั้ง

3)     ครูตั้งคำถามต่อว่า สรุปว่า Kaizen น่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

4)     นักเรียนช่วยกันเดาและช่วยกันบอกความหมายของ Kaizen


(สำหรับนักเรียนที่เรียนสายภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ครูอาจให้ดูอักษรคันจิที่เขียนว่า 改善 Kaizen) แล้วให้ช่วยกันเดาความหมายของคำนี้)





ขั้นสอน

ครูเล่าที่มาและความหมายของ Kaizen อย่างคร่าวๆและยกตัวอย่างการทำ Kaizen ในชีวิตประจำวันและในบริษัทให้นักเรียนดู ผ่านตัวอย่าง Kaizen Report









ขั้นกิจกรรม

ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทบทวนว่า ในชีวิตประจำวันของเรา มีปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้เสียเวลาในการดำเนินชีวิต ตัวเองมีสิ่งที่อยากทำให้ดีขึ้น พัฒนาขึ้น หรืออาจจะดีอยู่แล้วแต่อยากให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม้ เป็นต้น จากนั้นครูแจก Kaizen Report ให้คนละ 1 แผ่น ให้นักเรียนนำกลับบ้านไปสำรวจปัญหา หรือจุดที่อยากแก้ อยากพัฒนา โดยนักเรียนต้องเขียนสิ่งที่เป็นปัญหา,สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการชีวิต หรือสิ่งที่อยากแก้ไขลงไป พร้อมวาดรูปสิ่งที่อยากแก้ไข หรือรูปถ่ายที่ถ่ายมาจากการสำรวจปัญหา มาติดในช่อง “จุดปัญหา”




KAIZEN REPORT ของโรงเรียน และชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่นของครูอรดา



จากนั้น นักเรียนวิเคราะห์จุดปัญหาว่าจะมีแนวทางในการแก้ไขให้ดีขึ้นด้วยวิธีใดบ้าง โดยเลือกวิธีที่ดีที่สุดมา และเขียนลงในช่อง “จุดไคเซ็น” ด้านขวาของ Kaizen Report

จากนั้นนักเรียนลองไปแก้ไขปัญหาตามที่วิเคราะห์ออกมา หรือปฏิบัติตามข้อแก้ไขที่เขียนไว้ เมื่อสำเร็จ ให้ถ่ายรูปหรือวาดรูปสิ่งที่สามารถแก้ไขหรือพัฒนาปรับปรุงได้แล้วลงในช่อง“จุดไคเซ็น”


จุดที่ต้องการพัฒนาของแต่ละคน ใช้เวลาแก้ไขหรือพัฒนาไม่เท่ากัน ครูจึงให้เวลานักเรียน 2 อาทิตย์ในการสำรวจสิ่งที่ต้องการพัฒนา และเวลาสำหรับการวิเคราะห์การแก้ไข

รวมถึงเวลาปฏิบัติ เมื่อครบกำหนดแล้ว นักเรียนนำมาส่ง และนักเรียนรายงานสิ่งที่ตนเองพัฒนาได้แล้วแชร์ให้เพื่อนๆฟัง พร้อมโชว์รูปภาพ 

         

สำหรับนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ ครูสามารถต่อยอดความรู้ของนักเรียน โดยนักเรียนสามารถเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าคำศัพท์ด้วยตนเองผ่านเนื้อหาที่ตนเองเขียน เช่น หาความหมายของคำที่นักเรียนต้องการทราบจากเนื้อหา เป็นภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาอังกฤษ เป็นต้น



Tips!

ครูสามารถเพิ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนมีความตื่นเต้น สนุกสนานมากขึ้น เช่น ให้นักเรียนจับกลุ่มทำ

ไคเซ็นแก้ปัญหา หรือพัฒนาโรงเรียน และนำมาประกวด โดยมีรางวัลให้ผู้ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ ถือเป็นการใหผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันและสร้างนวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์และนำไปใช้ได้จริง !



“การทำไคเซ็น ไม่จำเป็นต้องเป็นการพัฒนาสิ่งที่คิดว่ายังไม่ดีให้ดีเสมอไป

แต่อาจหมายรวมถึงการพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง”







ไฟล์ที่เกี่ยวกับไอเดีย

ไฟล์ที่ 1 จากทั้งหมด 1

ชื่อไฟล์​: เราทำได้ดีกว่านี้ ด้วย kaizen ฉบับนักเรียน โดยนางสาวอรดา พิสุทธิ์.pdf

ดาวน์โหลดแล้ว 30 ครั้ง


รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(10)
เก็บไว้อ่าน
(5)