inskru
gift-close

"สยาม" The Card Game

13
5
ภาพประกอบไอเดีย "สยาม" The Card Game

ตะลุ และเรียนรู้เกร็ดประวัติศาสตร์สยาม ไปกับคลาสสิคการ์ดเกมปาร์ตี้ ที่ใครๆ ก็เล่นได้ ทุกเพศทุกวัย

สวัสดีครับ Play Makers Space มาแชร์ไอเดีย ในการออกแบบการ์ดเกมเพื่อการศึกษา ร่วมกับครูสังคมที่โรงเรียน โดยมีคอนเซ็ปต์ที่จะพาผู้เล่นทุกคนเข้าไปทบทวนเกร็ดความรู้ในประวัติศาสตร์สยามประเทศ โดยได้รับแรงบรรดาลใจมาจากการ์ดเกมปาร์ตี้ยอดนิยมอย่าง UNO ผนวกกับเกร็ดประวัติศาตร์น่ารู้จาก 4 ยุคสมัย ประกอบไปด้วย สุโขทัย ธนบุรี อยุธยา และรัตนโกสินทร์


กติกาการเล่น uno / สยาม อย่างง่าย (House Rlue By PMS)

โดยพื้นฐานการเล่น UNO คือ ผู้เล่นจะได้การ์ดเริ่มต้นคนละ 7 ใบ ใครที่ทิ้งการ์ดหมดมือเป็นคนแรกจะเป็นผู้ชนะ

  1. เริ่มต้นสลับการ์ดทั้งหมด และแจกการ์ดให้ผู้เล่นทุกคนตามลำดับ จน ครบ 7 ใบ และนำการ์ดที่เหลือคว่ำไว้กองกลางเพื่อเป็นกองจั่ว
  2. การ์ดที่อยู่บนมือของทุกคนให้เก็บเป็นความลับ
  3. เปิดการ์ดบนสุดจากกองจั่ว 1 ใบ ลงกองทิ้ง เพื่อเป็นการ์ดเริ่มต้น และให้ผู้เล่นคนแรกเริ่มต้นเล่น และวนซ้ายไปเรื่อยๆ
  4. ผู้เล่นจะทิ้งการ์ดได้ก็ต่อเมื่อ ตัวเลขบนการ์ดเป็นตัวเลขเดัยวกับการ์ดบนกองทิ้ง หรือ สีการ์ดที่ตรงกัน ถ้าหากไม่มี ผู้เล่นจะต้องจั่วการ์ดขึ้นมือ 1 ใบ
  5. การ์ดทั้งหมดจะมี 4 สี (เขียว แดง น้ำเงิน เหลือง) แต่ละสี มีตัวเลข 0 - 9
  6. การ์ดพิเศษ +2 (เมื่อลงการ์ดใบนี้คนถัดไปบังคับจั่ว 2 ใบ แต่ถ้าหากคนถัดไปมี +2 หรือ +4 สามารถลงทับได้เพื่อให้ผลของการ์ดไปตกกับคนถัดไป)
  7. การ์ดพิเศษ +4 Wild (คล้ายกับการ์ด + 2 แต่ผู้เล่นสามารถเลือกสีของการ์ดใบนี้ได้ว่าต้องการให้เป็นสีอะไร แต่ผู้เล่นคนถัดไปไม่สามารถเอาการ์ด +2 มาลงทับได้ จะไปต้องใช้การ์ด + 4 ในการลงทับเพื่อให้ผลของการ์ดเกิดกับคนถัดไป)
  8. Wild (การ์ดใบนี้สามารถใช้แทนการ์ดสีใดก็ได้)
  9. Skip (เมื่อลงการ์ดใบนี้ คนที่อยู่ถัดไปต้องหยุดเล่น 1 ตา)
  10. reverse (เมื่อลงการ์ดใบนี้ จากที่ผู้เล่น วนซ่าย จะย้อนหลักไปวนขวา
  11. ผู้เล่นที่กำลังจะลงการ์ดใบรองสุดท้ายจะต้องพูดคำว่า "UNO" ไม่เช่นนั้นจะต้องโดนปรับโดยการจั่วการ์ดขึ้นมือ 1 ใบ
  12. ผู้เล่นคนไหนการ์ดหมดมือก่อนจะเป็นผู้ชนะ


เสน่ห์ของเกม UNO คือเป็นเกมที่เล่นง่าย และค่อนข้างแพร่หลายในวงกว้าง ผมเลยนำกลไกการเล่นของ UNO มาประยุกต์กับเนื้อหาของวิชาประวัติศาสตร์ที่จะเล่าเรื่องของ 4 ยุคสมัย ดัดแปลงรูปแบบของการ์ดังนี้

  1. เปลี่ยนสีบนการ์ดให้แทน 4 ยุคสมัย
  2. เปลี่ยนจากตัวเลข 0-9 เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์น่ารู้ 10 เรื่องได้แก่
  • บุคคลสำคัญ
  • พระมหากษัตริย์
  • พระราชวัง
  • วัด
  • หนังสือ/วรรณกรรม
  • เหตุการณ์สำคัญ
  • เครื่องปั้นดินเผา
  • พระพุทธรูป
  • การแต่งกาย
  • ระบอบการปกครอง


จากไอเดีย และเนื้อหาข้างต้น จึงได้ให้ครูสังคมเป็นผู้หาเนื้อหาและสรุปเกร็ดสำคัญ ส่วนผมซึ่งเป็นครูคอมพิวเตอร์ ก็ทำหน้าที่ในการออกแบบการ์ด จนออกมาเป็นรูปเป็นร่างในเกม "สยาม" ในที่สุด

ถ้าคุณครู หรือผู้ที่สนใจท่านใด อยากทดสอบ หรือลองเล่น สามารถเข้ามาลองเล่นได้ที่ Play Makers Space ได้นะครับ เพราะนอกจาก สยาม แล้ว PMS ยังได้ออกแบบเกมเพื่อการศึกษาอีกนิดหน่อย ถ้าวันไหนมีโอกาส อาจจะได้นำมาแชร์ในพื้นที่แห่งนี้อีกนะครับ


ไฟล์การ์ดเกม (Google Drive)


พร้อมให้บริการ หลังเลิกเรียน ทุกวัน

และให้บริการวัน เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุด

#วันหยุดโปรดสอบถามก่อนล่วงหน้า

PlayMakersSpace (บอร์ดเกม)

https://maps.app.goo.gl/W8Z2NK2ekvMFVcWh7

ไฟล์ที่แบ่งปัน

    สังคมศึกษาเกมและกิจกรรมเติมความรู้DOEผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมพลเมืองที่เข้มแข็งการ์ดเกมประวัติศาสตร์

    ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

    13
    ได้แรงบันดาลใจ
    5
    ลงไอเดียอีกน้า~
    แบ่งปันโดย
    Play Makers Space
    มีห้องเล่นบอร์ดเกมของตัวเองในโรงเรียน สนุกกับการหาอะไรใหม่ๆ มาสอน

    อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

    please login

    แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

    เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

    icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!
    credit idea

    ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
    บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!

    ไอเดียน่าอ่านต่อ