เราเกลียดการสอบที่เด็กต้องนั่งเกร็งในห้องเงียบ ๆ
ครูนั่งสอดส่ายตาจับผิดว่ามีใครทุจริตมั้ย
มันไม่ใช่ธรรมชาติขอลมนุษย์เลย
มันเต็มไปด้วยความเครียด อึดอัด และไม่ไว้วางใจกัน
.
เราสังเกตเห็นว่า..
เด็กที่เก่ง ไม่ว่าจะออกข้อสอบอะไรมา
เขาก็ทำได้ทั้งนั้นแหละ
แล้วเด็กที่ไม่ถนัดด้านวิชาการหละ
เขาต้องส่งกระดาษเปล่า และกามั่ว ๆ แบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน
.
เราเคยปรับให้เด็กสอบสอน แทนการสอบข้อเขียน
เด็กชอบมาก สนุก และเขาบอกว่าเขาได้เรียนรู้จากสิ่งนี้
แต่จะมีเด็กบางกลุ่มที่เกร็ง ๆ อาจเพราะว่ามันมี 'คำ' ที่ชวนกังวล
นั่นคือคำว่า 'สอบ' กะ 'สอน' อยู่
เราก็พยายามทำให้นักเรียนคุ้นชิ้นกับสิ่งนี้เรื่อย ๆ
แต่ใช้บ่อย ๆ ก็จำเจ
.
พอมาเจอ clubhouse เราก็ปิ๊งไอเดีย
งั้นลองสอบด้วยกิจกรรมนี้ดีมั้ย
จะได้วัดนักเรียนได้หลายด้าน
ให้เขาดึงศักยถาพออกมาให้เห็นอย่างเต็มที่
.
วิธีการของเราคือ
1. ให้โจทย์ไปว่า เราจะสอบด้วยกิจกรรม clubhouse
นร. โอเครมั้ย นร. ถามว่าต้องทำอะไรบ้าง แล้วทุกคนในห้องก็โอเคร
สิ่งที่ นร. ต้องทำมีดังนี้
- จากเรื่องที่เรียนมาใน กรด - เบส ให้นักเรียนเลือกหัวข้อมา เปิดห้อง ทำหน้าที่เป็น speaker ให้ความรู้คนในห้อง และทำหน้าที่เป็น moderator คอยชวน audience ขึ้นมาพูดคุย ซักถาม หรือเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมซักถาม
- คะแนนวัด 4 ด้าน คือ เนื้อหา การตอบคำถาม การสร้างบรรยากาศ การสร้างการมีส่วนร่วม
.
.
สิ่งที่ไม่คาดคิดคือ เด็กแจ่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 3 คน) เลือกหัวข้อที่ไม่ซ้ำกัน และกระจายกันครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน 555 ( มา ๆ เป็นครูได้เลย เข้าใจหลักการมาก)
.
.
บรรยากาศการสอบ เป็นไปอย่างสนุกสนาน
และแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กัน มีส่วนร่วมกันทุกคน
เนื้อหาที่ถ่ายทอดก็ขมวดมาได้ดี (อาจมีพูดผิดบ้าง น่าจะไม่รู้ตัว)
เปิดโอกาสให้เพื่อนถาม หรือถ้าเพื่อนไม่ยอมถาม ก็ดึงเพื่อนขึ้นมาถามซะเลย (ฟังอยู่มั้ย) ถ้าเพื่อนตอบไม่ได้ก็มีการกระซิบบอกคำตอบ ตลกดี...
.
พอเจอคำถามจากครู..เราประทับใจมาก
ที่เด็ก ๆ พยายามตอบ พยามหาคำตอบ
พูดผิดบ้างถูกบ้าง พูดไม่ครบบ้าง
แต่ทำให้เราสัมผัสได้ว่า เขารู้ ไม่รู้ หรือแค่ตื่นเต้น
ถ้าเป็นการสอบปกติ เราคงตัดสินไปแล้วว่า
เขาตอบไม่ครบ คือเขาไม่รู้ เขาคงทำได้แต่นั้น
เขาไม่ใส่ใจในการตอบ เขาเทวิชาเรา บลา ๆ ความคิดลบและตัดสิน
.
.
พอเสร็จสิ้นการสอบ...
เราให้เด็กสะท้อนคิด และประเมินตัวเอง
1. จาก 4 ด้าน ที่ครูอยากจะวัด นร. ตัวนักเรียนให้คะแนนตัวเองเท่าไหร่ (ด้านละ 5 คะแนน) เพราะอะไร
2. ให้คะแนนภาพรวมห้องหน่อย เพื่อน ๆ ตั้งใจกับกิจกรรมครั้งนี้มั้ย ให้คะแนนเท่าไหร่ เพราะอะไร
3. I like & I learn การสอบครั้งนี้ นร. ชอบ และได้เรียนรู้อะไร
.
.
เรายังไม่ได้อ่านการประเมินของแต่ละคน
แต่เราเชื่อมั่นในกระบวนการนี้
ไม่สงสัยในการให้คะแนนตัวเองของพวกเขาเลย ^^
สิ่งที่เราอยากแชร์ คือ เสียงสะท้อนของพวกเขามากกว่า
.
เราชวนเด็ก ๆ นั่งล้อมวง และ check out ว่า
"รู้สึกอย่างไรกับการสอบกลางภาคด้วยวิธีนี้"
เด็กแชร์ไว้ได้น่าสนใจมาก...
- ชอบการสอบแบบนี้ มากกว่าการสอบปกติ ที่ต้องนั่งในห้องเงียบ ๆ มันเครียด
-ชอบการสอบแบบนี้ เพราะ คนมีความถนัดไม่เหมือนกัน บางคนถนัดเขียน บางคนถนัดพูด และการสอบแบบนี้ทำให้เราได้พยายามถ่ายทอดออกมาอย่างเต็มที่
- ชอบการสอบแบบนี้ เพราะปกติเวลาเราสอบ เราจะต้องจำทั้งหมด จำให้ได้มากที่สุด เพื่อไปสอบ แต่การสอบแบบนี้ เราทำให้ดีที่สุดในหัวข้อตัวเอง และยังได้ฟัง ได้เรียนรู้ จากหัวข้อของเพื่อน ๆ ทำให้เข้าใจมากขึ้น
.
.
และยังมีเสียงที่น่าประทับใจอีกมาก
เดี๋ยวไปถอดเสียงของเด็ก ๆ จากคลิปมาเขียนเพิ่ม อิอิ
การสอบครั้งนี้เราอัดวีดีโอไว้ด้วย
ถ้าอัพเผยแพร่แล้วจะแบ่งปันเพิ่มนะคะ
.
.
สุดท้ายแล้วเราได้เรียนรู้ว่า...
การเป็นครูนอกกรอบ กล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ
ไม่กลัวการถูกตัดสิน และพร้อมที่ยอมรับผลที่จะเกิดขึ้น
เรียนรู้และปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
มันสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ
อย่างน้อย ๆ ก็การเปลี่ยนแปลงในหัวใจครูเองเป็นอันดับแรก
ต่อมาคือหัวใจของเด็ก ๆ
และเราเชื่อว่า..มันจะขยายไปสู่หัวใจเพื่อนครู ผู้บริหาร
จนทลายค่านิยม กรอบความคิดยึดติดของสังคม ที่ทำตาม ๆ กันมา....
.
.
มาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันค่ะ
เริ่มที่ตัวเรา เริ่มที่ห้องเรียนของเรา
ทุกการสอนเป็นไปได้...ทุกการสอบเป็นไปได้ ^^
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย