รูปแบบการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย
การจัดกิกรรมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น การจัดกิจกรรมที่ผสมผสานหรือบูรณาการในทุกกิจกรรมเป็นการจัดกระบวนการเรียน รู้ที่เด็กได้รับประสบการณ์ตรง คุณครูมีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกันทำให้เด็กเด็กได้รับความรู้ ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ได้รับรู้และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น มีความสุขสนุกสนาน ทำให้เด็กค่อยๆซึมซับความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และกล้าแสดงออกในด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทำให้เกิดคามรู้สึกรักและมีความอนุรักษ์ในการรักษาธรรมชาติ มีความภาคภูมิใจ รักในบ้านเกิดของตน
กิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกิจกรรมที่เด็กปฐมวัยสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ประกอบกับการที่ครูได้จัดสภาพแวดล้อม กระตุ้นและชี้แนะเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อเด็กปฐมวัยทำกิจกรรมทุกครั้งจึงส่งผลให้เด็กปฐมวัยได้เผชิญกับปัญหาและได้ฝึกประสบการณ์การแก้ปัญหาโดยเด็กมีปฏิสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือกระทำและคิดด้วยตัวเด็กเอง ครูสนับสนุนให้เด็กควบคุมตนเองในการแก้ปัญหาในแต่ละกิจกรรมโดยการทำซ้ำๆ ตามความพอใจจะช่วยให้เด็กปฐมวัยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ในเรื่องของกฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) ว่า การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อยๆ ก็ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ให้เด็กได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติหรือทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ จนทำได้อย่างคล่องแคล่วและมีแรงจูงใจ มีความสนใจเข้าถึงเป้าหมายและคุณค่าของสิ่งที่ทำทั้งนี้เพราะเด็กปฐมวัยต้องการได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์แห่งการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือการให้เด็กได้ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง
การนำหลักความพอเพียงปรับประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย
1.ใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการจัดกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมหลัก
2. สอดแทรกเชื่อมโยงจากประสบการณ์ตรงทั้งในและนอกห้องเรียน
แนวคิดและการทำความเข้าใจ
1.ศึกษาทำความเข้าใจหลักความพอเพียงที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ในเงื่อนไข ความรู้คู่คุณธรรม
2. นำหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน มาใช้เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติจริงในการจัดกิจกรรมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย
3. ไม่นำคุณลักษณะที่พึงประสงค์หรือคุณธรรมที่ต้องการปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยมาเป็นตัวแปรตามหรือเป็นจุดหมายของการจัดกิจกรรม
ข้อสังเกตการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับการเรียนรู้
• การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้หลายด้าน และ หลายรูปแบบ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ละคนจะต้องพิจารณา ปรับใช้ตาม ความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับเงื่อนไข และสภาวะที่ตนเผชิญอยู่
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!