1) เป้าหมาย สอนเรื่องน่ำตาลโมเลกุลเดี่ยว น้ำตาลโมเลกุลคู่
2) กระบวนการ ใช้ Analogy โดยไม้หนีบผ้า
3) หลักการทางวิทยาศาสตร์คือ
ไดแซ็กคาไรต์ (Disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่เป็นน้ำตาลที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวสองโมเลกุลมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี สามารถละลายน้ำได้ โดยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวได้ 2 โมเลกุล น้ำตาลโมเลกุลคู่ที่สำคัญมีดังนี้
น้ำตาลมอลโทส (moltose) พบได้มากในข้าวมอลต์ เมล็ดข้าวที่กำลังงอก น้ำนมข้าว และข้าวโพด เมื่อถูกย่อยสลายจะได้น้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล
น้ำตาลแลกโทส (lactose) เป็นน้ำตาลซึ่งมีรสหวานน้อย ย่อยสลายได้ยากกว่าน้ำตาลโมเลกุลคู่อื่น ๆ พบมากในน้ำนม เมื่อย่อยสลายจะได้น้ำตาลกาแลกโทส และน้ำตาลกลูโคส อย่างละ 1 โมเลกุล เป็นน้ำตาลที่พบในน้ำนม จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตาลจากนม (milk sugar)
น้ำตาลซูโครส (sucrose) หรือน้ำตาลทราย หรือน้ำตาลอ้อยพบได้มากในอ้อย ตาล มะพร้าว ผลไม้ที่มีรสหวานทุกชนิด เมื่อถูกย่อยสลายจะได้น้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลฟลุกโทส อย่างละ 1 โมเลกุล
โพลีแซ็กคาไรด์ , หรือ โพลีคาร์โบไฮเดรตมีมากที่สุด
เกิดจาก dehydration ของ monomer 11 โมเลกุล ขึ้นไปเชื่อมด้วยพันธะไกลโคซิดิก
1. แป้ง อะไมโลส (ไม่แตกกิ่ง ไม่มีแขนง) อะไมโลแพคติน (แตกกิ่ง มีแขนง)
2. glycogen (ไกลโคเจน) อาหารสะสมในเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อลาย
(ไกลโคเจน แตกกิ่งจำนวนมาก มีแขนงจำนวนมาก)
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย
ได้แรงบันดาลใจเต็มๆ เลยใช่มั้ย?
บันทึกแรงบันดาลใจที่ได้รับเก็บไว้ไม่มีลืมผ่านการเขียนไอเดียเลย!