inskru
gift-close
insKru Selected

“เมื่อวานเธอไปทำอะไรมา !!”

12
2
ภาพประกอบไอเดีย “เมื่อวานเธอไปทำอะไรมา !!”

การเล่าไทม์ไลน์ช่วงโควิดประยุกต์เข้ากับเกมและการสะท้อนผลตนเอง เพื่อให้นักเรียนได้คิดประโยคภาษาญี่ปุ่น แล้วถ่ายทอดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม

“เมื่อวานเธอไปทำอะไรมา !!”

ไทม์ไลน์ของผู้ต้องสงสัยคนนี้ จะตรงกับบุคคลในอาชีพใดกันนะ

ลองมาช่วยกันคิดหาคำตอบที่เหนือความคาดหมายกันเถอะ

 

การนำภาษาต่างประเทศมาจัดกิจกรรมในการเรียนรู้ ที่นอกจากการทำ Role play แล้ว เราสามารถทำออกมาในรูปแบบเกมง่าย ๆ

ที่ทำให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมและสนุกในห้องเรียนได้อย่างไร

วันนี้เรามีหนึ่งวิธีในการสอนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเขียนไทม์ไลน์ช่วงโควิด บอร์ดเกม และวิธีการสะท้อนผลตนเองจาก Japan Foundation มาแชร์ให้ทุกคนค่ะ

“เซนเซ วันนี้จะเรียนอะไร”

“วันนี้เซนเซ จะพาเล่นเกมนะ”

“เย้ๆๆๆๆๆ” แค่ไม่ได้เรียน ก็ส่งเสียงดีใจกันแล้ว คิดว่าน่าจะเป็นกันหลาย ๆ ที่นะคะ

แต่...ถ้าเราสอนแบบเล่นให้ได้เรียน จะทำให้นักเรียน อยากเรียนเพื่อที่จะได้เล่น ใช่ไหมล่ะคะ?


ในการทบทวนไวยากรณ์ ครูจำเป็นต้องพูดสรุปฝ่ายเดียว ?

ไม่เลยค่ะ... เขาจะสอนกันเองแหละ ที่เราสอนไปก่อนหน้านี้น่ะ ไม่สู้เขาค้นหากันเองหรอกค่ะ

เพราะอย่างนั้น เราก็ต้องสร้างสถานการณ์ให้เขาได้ค้นหาสิ่งนั้นกันเองค่ะ (ให้สนุกด้วยนะ)

“ช่วงนี้โควิด เมื่อวานไปไหนมา”

“เธอดูง่วง ๆ นะ เมื่อวานทำอะไรมา”

“ถ้าทำอาชีพนี้ เมื่อวานน่าจะทำอะไรบ้าง”

ลองให้นักเรียนลองคิดเล่น ๆ ดูนะคะ

 

กิจกรรมนี้ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา ภาษาญี่ปุ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

หัวข้อไวยากรณ์คือ คำกริยารูปอดีต และคำคุณศัพท์รูปอดีต

 

บทบาทครู      Facilitator

อุปกรณ์          การ์ดอาชีพ, กระดาษไทม์ไลน์ 2 แผ่น/กลุ่ม, กระดานไวท์บอร์ดและปากกา 1 ชุด/กลุ่ม และเพาเวอร์พ้อยสำหรับการอธิบายกติกา

                   Tip : ในกรณีที่เตรียมการ์ดอาชีพ 2 ชุด ถ้านักเรียนจับได้การ์ดใบเดียวกัน จะทำให้เห็นความแตกต่างทางความคิดของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และเพิ่มความยากของเกม

 

ขั้นตอนกิจกรรม

....เตรียมพร้อมนักเรียนสักหน่อย :)

(การ์ดนักเรียน ไว้จับฉลาก ไว้สุ่ม ไว้จับกลุ่ม) (การ์ดอาชีพไว้จับฉลาก)

1.     แบ่งกลุ่มนักเรียน ออกเป็นกลุ่มละ 4 คน โดยคละนักเรียนเก่งและอ่อน

2.     ตัวแทนกลุ่มมาจับฉลากการ์ดอาชีพ และรับอุปกรณ์ (กระดานไวท์บอร์ดและปากกา, กระดาษเขียนบรรยาย)

3.     ครูทบทวนคำศัพท์ในการ์ดอาชีพที่มีทั้งหมด และอธิบายขั้นตอนกิจกรรม

Tip : คำนวณจำนวนการ์ดและคำศัพท์ให้เหมาะสมกับห้องเรียนของตนเอง

4.     สาธิตการเล่น 1 ครั้งพร้อมกันทั้งห้อง


....พวกเรามาช่วยกันคิด เพื่อชัยชนะของเรากันนนนน

5.     นักเรียนแต่ละกลุ่ม เขียนไทม์ไลน์ของการ์ดอาชีพของกลุ่มตนเอง ว่าอาชีพที่ตนจับได้นั้น เมื่อวานได้ทำอะไรบ้าง โดยใช้ภาษาญี่ปุ่นรูปอดีต อย่างน้อย 5 ประโยค

Tip : ครูผู้สอนต้องกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันคิด ตามเวลาที่กำหนด

6.     นักเรียนฝึกซ้อมบทที่ตนเองเขียน

Tip : ครูผู้สอนต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า ทุกกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว


....พร้อมแล้ว ๆ ตื่นเต้น ตื่นเต้น :)

7.     ครูเลือกกลุ่มที่จะนำเสนอ จากนั้นนักเรียนกลุ่มนั้นพูดสิ่งที่กลุ่มตนเองเขียน เช่น เมื่อวานไปโรงพยาบาล เมื่อวานไม่ได้นอน เมื่อวานไม่ได้กินข้าว เป็นต้น

Tip : ให้อิสระนักเรียนแต่ละกลุ่มว่าจะพูดคนละประโยคหรือพร้อมกันทั้งหมด แต่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมถึงแม้นักเรียนจะพูดผิดก็ไม่เป็นไร ปล่อยให้เขาได้พูด

8.     นักเรียนกลุ่มที่เหลือ ตั้งคำถามเพิ่มเติมด้วยภาษาญี่ปุ่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เช่น อาชีพนี้ยุ่งไหม ใส่เสื้อสีขาวหรือเปล่า

Tip : ถ้าให้คะแนนเพิ่ม นักเรียนจะถามเยอะมากขึ้น

9.     จากนั้นนักเรียนเขียนคำตอบลงในกระดานไวท์บอร์ดภายใน 1 นาที แล้วชูคำตอบให้กลุ่มเพื่อนที่นำเสนอ

Tip : เพื่อไม่ให้เกมนี้ท้าทายยิ่งขึ้น กำหนดให้ **ถ้าเพื่อนตอบถูกหมดหรือผิดหมด กลุ่มที่นำเสนอก็จะไม่ได้คะแนน แต่ถ้ามีทั้งคนที่ตอบถูกและตอบผิด กลุ่มที่นำเสนอก็จะได้คะแนนด้วย**

10. เวียนเช่นนี้จนครบทุกกลุ่ม จากนั้นนับคะแนนหากลุ่มที่ชนะ


....ที่เพื่อนพูดไปเมื่อกี๊ มันมีผิดอยู่นะ ว่าไหม?

11. เมื่อเสร็จกิจกรรมแล้ว จะให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนกระดาษที่เขียนไทม์ไลน์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของกันและกัน ถ้าหากคิดว่าไม่มีจุดที่ต้องแก้ไข สามารถเขียนชมเพื่อนได้เช่นกัน โดยใช้ปากกาสีแดง ทำเช่นนี้ประมาณ 2-3 รอบ หรือแล้วแต่เวลาที่เหลืออยู่

Tip : ให้นักเรียนคิดเองก่อน


(งานที่เพื่อนแก้ไขให้ กับงานที่เขียนขึ้นใหม่)


....อ๋อ ตรงนี้นี่เอง จริงด้วย เค้าลืมไปเลย!!!

12. เมื่อนักเรียนได้รับกระดาษไทม์ไลน์คืน ให้นักเรียนตรวจสอบด้วยตนเองอีกครั้งว่าเพื่อนกลุ่มอื่นตรวจให้ถูกต้องไหม ถ้ามีอะไรสงสัยสามารถถามครูผู้สอนได้

13. นักเรียนเขียนสิ่งที่ถูกต้องลงในกระดาษไทม์ไลน์แผ่นใหม่

Tip : ให้นักเรียนเปลี่ยนคนเขียน เพื่อเพิ่มบทบาทให้นักเรียนคนอื่น


....เซนเซ เพื่อนชมกลุ่มหนูแบบนี้ด้วยอะ ฮ่าๆๆๆ

14. ครูสรุปบทเรียนโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มบอกจุดที่ผิดพลาดของกลุ่มตนเองและทำไมถึงผิด แล้วแบบไหนถูกต้อง หรือสิ่งที่เพื่อนเขียนชม

Tip : ครูให้กำลังใจนักเรียน และค่อยๆ ตั้งคำถามให้นักเรียนได้คิด

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.     นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพราะเราคละเด็กเก่งและอ่อนไว้ด้วยกัน ทำให้เขาช่วยสอนกันเอง ช่วยกันคิดและตัดสินใจ

2.     กิจกรรมเป็นการใช้เกมเป็นฐาน ทำให้เด็กที่ไม่เก่งภาษาญี่ปุ่น ก็สามารถช่วยเพื่อนคิดคำใบ้ที่ดีได้

3.     นักเรียนจะช่วยกันคิดรูปประโยคที่ถูก เพราะเขาต้องทำให้เพื่อนกลุ่มอื่นเข้าใจ

4.     เพราะว่าเป็นเกม นักเรียนจะกล้าถามเพื่อนมากขึ้นเพราะอยากได้คำตอบเพื่อที่จะชนะ

5.    นักเรียนสามารถสังเกตเห็นจุดที่ผิดพลาดได้เอง โดยที่ครูไม่ได้บอก

6.    การเล่นเกม ทำให้นักเรียนรู้จักเคารพกติกามากขึ้น รู้จักยอมรับความผิดพลาด

7.     กิจกรรมกลุ่ม ทำให้นักเรียนแต่ละคนมองเห็นความสามารถ บทบาทของเพื่อนในกลุ่มได้

8.     แต่ละกิจกรรมมีเวลาจำกัด ทำให้นักเรียนรู้จักการบริหารเวลาให้ดี เช่น หากนักเรียนใช้เวลาในการเขียนประโยคนาน ก็จะทำให้เวลาซ้อมพูดน้อยลง



ตอนที่สอนเวลา 1 คาบ (50 นาที) นั้นไม่เพียงพอค่ะ ทำให้นักเรียนไม่ได้นำเสนอทุกกลุ่ม

หากใครลองนำวิธีนี้ไปใช้ ลองปรับให้เหมาะสมกับห้องเรียนตัวเองนะคะ ได้ผลอย่างไร มาแชร์กันค่ะ


สำหรับใครที่อยากเห็นภาพชัดยิ่งขึ้นมีวิดีโอที่ถ่ายไว้ค่ะ (เขินจัง) >>คลิกที่นี่<<


 

DOEผู้เรียนรู้ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมพลเมืองที่เข้มแข็งมัธยมปลายทบทวนบทเรียนเกมและกิจกรรมภาษาต่างประเทศทักษะการร่วมมือทักษะความคิดสร้างสรรค์ทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการสื่อสารไอเดียแมวมีรุ่น2

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

12
ได้แรงบันดาลใจ
2
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
Alice Misty
ครูที่ในห้องเรียนจะดีด ๆ แต่ในห้องพักจะ ง่วง ๆ

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ