icon
giftClose
profile

UNO พิกัดจุดเล็กจุดน้อยสู่ภาพที่ยิ่งใหญ่ (ครูมด)

28321
ภาพประกอบไอเดีย UNO พิกัดจุดเล็กจุดน้อยสู่ภาพที่ยิ่งใหญ่ (ครูมด)

ครูมด ครูคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมฯต้น อยากให้เด็กทุกคนได้.. 'จับปากกา จินตนาการ สร้างภาพร่วมกัน' โดยเริ่มจากสิ่งที่พวกเขาชอบ นั่นคือ การ์ด UNO

วันก่อนไวท์ได้อ่านเจอข้อคววามหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ซึ่งดูเชื่อมโยงกับห้องเรียนที่จะนำมาแบ่งปันในวันนี้ นั่นคือ..

.

'ในอดีต เราไม่ได้ปลูกฝังในเรื่องการคิดเชิงนามธรรมที่นำไปสู่การแก้ปัญหามากนัก

ทำให้เด็กขาดจินตนาการ การสร้างรูปธรรมจึงทำได้ยาก

ตั้งแต่เด็กเขาเห็นวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องยาก และจะไม่ชอบ เพราะขาดการคิด การสร้างจินตนาการ'

- รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ปรึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) -

.

ห้องเรียนที่จะเล่าถึงวันนี้คือ ห้องเรียนของครูมด ครูคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมฯต้น

ที่มีความต้องการให้เด็กทุกคนในห้องได้.. 'จับปากกา จินตนาการ สร้างภาพร่วมกัน'

โดยเริ่มจากสิ่งที่พวกเขาชอบ นั่นคือ การ์ด UNO

.

ในคาบนั้น เป็นคาบ 2 ชั่วโมงติดกัน ครูมดสอน เรื่อง 'คู่อันดับและกราฟ'

โดยการแจกการ์ด UNO คนละ 1 ใบ จากนั้นให้เด็ก ๆ ในห้อง จับคู่กัน (2 สี) ซึ่งมาจากการสุ่มมอบคำสั่ง

แล้วให้นักเรียนตกลงกันว่าใครจะป็นคนที่ 1 และ 2 (แกน x และ Y)

จากนั้นขออาสาให้แต่ละคู่ทยอยมา plot พิกัดลงบนกราฟด้วยกัน

ในขณะที่มอบหมายแต่ละคู่ จะมีการเพิ่มเงื่อนไขทีละข้อ เช่น ใครได้การ์ดสีแดงให้เป็นจำนวนเต็มลบ

ดังนั้น 1 ห้อง มีนักเรียน 30 คน จะได้จุดที่ไม่ซ้ำกันเลย 15 จุด

.

เท่านั้นยังไม่พอ ครูมดได้มอบโจทย์เพิ่มเติม

โดยให้นักเรียนแต่ละคน ออกมาขีดเส้น ลากจากจุดแต่ละจุด คนละ 1 เส้น ต่อ ๆ กันไป..

ระหว่างที่แต่ละคนออกมาขีดเส้น ตอนแรก ๆ เด็ก ๆ ก็ไม่แน่ใจเท่าไร..

'มันจะเป็นรูปได้จริง ๆ เหรอ?'

'เห้ย ๆ คนต่อไปลองขีดจากจุด A(6,0) ไปจุด D(4,4) ดิ'

'เออ ๆ เดี๋ยวต่อไปเราจะขีดจากจุด D(4,4) ไปจุด B(-2,4) นะ'

.

นักเรียนลุ้น ครูก็ลุ้นเหมือนกัน

แต่ครูมดตั้งใจไว้แล้วว่าจะปล่อยพื้นที่ให้เด็กจัดการกันเอง พวกเขาทำได้อยู่แล้ว!

.

จนกระทั่งในที่สุด 'จุด' เหล่านั้นก็ถูกเชื่อมต่อกันเกิดเป็น 'รูป' ขึ้นมา!

'เอ้ยยย ๆ ๆ ได้รูปน้องหมาแล้ววววว '

.

.

ทุกคนดีใจมาก มันคือรูปภาพความสำเร็จที่เกิดจากทุกคนในห้อง

นักเรียนบอกว่า 'คาบนี้สนุกมาก ๆ แต่ก่อนมีแต่เลคเชอร์ ก็จดไปงั้น'

ส่วนครูมดเองบอกว่า ‘มดเพิ่งลองก้าวออกจาก comfort zone หลังจากเข้ารวม workshop ของ insKru

ที่ชวนให้ออกแบบห้องเรียนสร้างสรรค์ โดยเริ่มจากสิ่งของใกล้ตัว พอกลับมาลองแล้วนักเรียนทั้งสนุกและได้ความรู้ มดก็ดีใจมาก

ต่อไปจะสอนให้นักเรียนแบบ student center มากขึ้น ให้เขาได้ลงมือทำ เรียนรู้ โดยไม่ต้องคอยถามครูว่าทำแบบนี้ได้ไหม

นักเรียนจะได้กล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง'

.

'อยากขอฝากให้ครูทุกคนเปิดใจ ไม่ต้อง strict ไปตามแผนการสอนมาก อาจจะได้มองเห็นความรู้สึกและทักษะของนักเรียนอย่างแท้จริง'

.

ครูมด

ธมนวรรณ อั๋นประเสริฐ 

โรงเรียนเก้าเลี้ยววิทยา จ.นครสวรรค์

ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 6 จากมูลนิธิ Teach for Thailand

.

สัมภาษณ์และเรียบเรียง โดย ครูไวท์

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(5)
เก็บไว้อ่าน
(10)