icon
giftClose
profile

ทำไมเงินถึงเป็นนามนับไม่ได้ล่ะครู

141240
ภาพประกอบไอเดีย ทำไมเงินถึงเป็นนามนับไม่ได้ล่ะครู

ไอเดียที่จะช่วยทำให้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษติดทนในความทรงจำของนักเรียนมากขึ้น



#บอกที่มาได้ก็จำได้เองและทำข้อสอบได้เอง

#เพราะวิชาภาษาไม่ควรเริ่มสอนจากการท่องจำเพียงอย่างเดียว

เราเชื่อว่าเด็ก ๆ จำเนื้อหาการเรียนได้ก็ลืมได้เช่นกัน และถ้าจำแบบไม่เข้าใจตั้งแต่ต้นก็ยิ่งจะทำให้เด็ก ๆ ลืมง่าย ดังนั้นคุณครูจึงควรให้เด็ก ๆ 

เรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเรื่องต่าง ๆ ด้วยการสังเกตของตัวเขาเอง เพื่อให้เด็ก ๆ ภูมิใจในตัวเองและซึบซับเนื้อหาการเรียนด้วยความสุข เเละเนื้อหาการเรียนติดตรึงในความทรงจำของพวกเขาไปตลอดแม้ไม่ได้เรียนกับเราแล้ว


เทคนิคการสอนเรื่องนามนับได้และนับนับไม่ได้

  1. คุณครูเขียนตารางโดย แยกตารางเป็นสองฝั่ง จากนั้นเขียนคำศัพท์ตัวอย่างในทั้งสองฝั่ง ฝั่งละ 10 ตัวอย่าง

Countable Noun: sandwiches, melons, crisps, apples, eggs, biscuits, tomatoes, bananas, grapes

Uncountable Noun: ice cream, water, chicken, meat, cheese, chocolate, fruit juice, cola

สำหรับคำศัพท์ที่เติม s,es ให้เน้นการเปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์โดยใช้ปากกาสีแดง เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น

  1. คุณครูช่วยพาเด็ก ๆ แปลความหมายคำศัพท์ทีละคำ ซึ่งสามารถใช้กลุ่มศัพท์ที่มาจากบทเรียนหรือหนังสือที่ใช้สอนอยู่ เพื่อช่วยเด็ก ๆ ทบทวนความหมายให้แม่นยำมากขึ้นแม้บางคำเด็ก ๆ จะไม่รู้หรือจำไม่ได้ตั้งแต่แรกก็ให้คุณครูช่วยแปลความหมายให้อย่างใจเย็น 
  2. คุณครูให้เด็ก ๆ ลองสังเกตความแตกต่างระหว่างคำศัพท์ในตารางทั้งสองฝั่ง 

โดยอาจให้เวลาสัก 3-5 นาที คำตอบแรก ๆ ของพวกเขาอาจจะเป็น

  • ฝั่งที่นับได้มี s, es แสดงว่ามีหลายชิ้น เป็นพหูพจน์ได้
  • อีกฝั่งไม่มี แสดงว่าต้องใช้ในรูปเอกพจน์เท่านั้น

 จากนั้นเด็ก ๆ จะเริ่มเห็นคุณสมบัติอื่นที่คำศัพท์แต่ละฝั่งมีร่วมกันมากขึ้น เช่น

  • นามนับได้มีลักษณะเป็นชิ้น ๆ ส่วนมากเป็นของแข็ง ละลายน้ำไม่ได้ 
  • นามนับไม่ได้ส่วนมากมีสถานะเป็นของเหลวหรือแก๊ส ถ้าเป็นของแข็งก็จะสามารถละลายได้ เปลี่ยนรูปได้ หรือมีจำนวนมาก ชิ้นเล็กมากจนนับไม่ไหว ต้องอาศัยการชั่งตวงวัดก่อน สามารถยกตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น น้ำต้องใส่แก้วเพื่อวัดปริมาตร หรือเวลาไปซื้อของที่ตลาดต้องบอกแม่ค้าว่าต้องการเนื้อสัตว์กี่กิโลกรัม 

เมื่อเด็ก ๆ สามารถบอกคุณสมบัติร่วมได้แล้ว ก็ลองยกตัวอย่างคำศัพท์อื่น ๆ ให้พวกเขาแยกประเภทว่าเป็นนามนับได้หรือนามนับไม่ได้

จากนั้น ทิ้งระยะเวลาไว้สักพัก แล้วในคาบเรียนถัดมาให้ลองตัวอย่างที่ซับซ้อนขึ้น เช่น

soap (สบู่) ซึ่งมีทั้งสบู่ก้อนและเหลว ให้เด็ก ๆ ลองพิจารณาว่าจัดอยู่ในหมวดใด เมื่อได้รับคำตอบที่แตกต่างกันก็ให้อธิบายไปโดยยึดตามคุณสมบัติที่เคยสอนไป กล่าวคือสบู่ก้อนเป็นของเเข็งที่ละลายได้จึงจัดเป็นนามนับไม่ได้ ส่วนสบู่เหลวก็มีสถานะเป็นของเหลวจึงควรจัดเป็นนามนับไม่ได้อยู่แล้ว


Tips การสอนเรื่องไวยากรณ์ควรไต่ระดับจากง่ายไปยาก และเรื่องที่เข้าใจได้รวดเร็วไล่ไปสู่เรื่องที่อาศัยการวิเคราะห์ที่ซับซ้อน เช่น ก่อนที่จะสอนเรื่องคำนามนับได้และนับไม่ได้ ควรสอนเรื่องรูปเอกพจน์และพหูพจน์ของคำนามก่อน


ครูไวท์เล่าให้ฟังว่าเด็ก ๆ มีความสุขกับการเรียนวิธีนี้ บางคนเล่าให้ฟังอีกว่าพอไปถึงห้องสอบก็นึกถึงตารางที่เคยทำด้วยกันในห้องทำให้ทำข้อสอบได้ดี ส่วนคนไหนที่ยังสับสนตอนทำข้อสอบเพราะเนื้อหามีหลายเรื่อง ครูไวท์ก็แนะนำหาหน้าว่างเขียนไวยากรณ์ทุกเรื่องที่ใช้ในการสอบครั้งนั้น แล้วพอเจอโจทย์จริง ก็ให้วิเคราะห์ก่อนว่าโจทย์ต้องการอะไร วัดไวยากรณ์เรื่องไหน แล้วดึงความรู้จากที่เขียนไปและจำได้มาช่วยเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

รีวิว
(0)
ดาวน์โหลด
(6)
เก็บไว้อ่าน
(3)